ข้ามไปเนื้อหา

สมการของเดรก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมการของเดรก (Drake equation) บางครั้งอาจเรียกว่า Green Bank formula เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านชีววิทยาอวกาศ และการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว (เซติ) Search for Extraterrestrial Intelligence - SETI

สมการของเดรก เป็นสูตรคำนวณที่นำเสนอโดย ดร. แฟรงก์ เดรก นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ในการประชุมที่หอดูดาวกรีนแบงก์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1960 เพื่อประมาณการความเป็นไปได้ ของจำนวนอารยธรรมของสิ่งมีชีวิต ในแกแลกซีทางช้างเผือก โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในรูปสมการทางคณิตศาสตร์

สมการของเดรก ระบุว่า


โดยที่

N หมายถึง จำนวนอารยธรรมต่างดาวที่มีความสามารถติดต่อกันได้ทางคลื่นวิทยุ

และ

R* หมายถึง อัตราการเกิดของดาวฤกษ์ที่มีสภาพเหมาะสม และเกิดขึ้นนานพอที่เกิดสภาพเหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตชั้นสูง
fp หมายถึง สัดส่วนของดาวฤกษ์ที่มีระบบดาวเคราะห์ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 0.2 - 0.5)
ne หมายถึง สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่สิ่งมีชีวิตน่าจะใช้อยู่อาศัยได้ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 1 - 5)
f หมายถึง สัดส่วนของดาวเคราะห์ที่เกิดสิ่งมีชีวิต (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว 1)
fi หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตที่จะพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นสูง และทรงภูมิปัญญา (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว ต่ำกว่า 1 เล็กน้อย)
fc หมายถึง สัดส่วนที่สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานั้นสามารถพัฒนาเทคโนโลยี จนถึงขั้น สามารถตรวจรับการสื่อสารจากโลกอื่นได้ (ประมาณไว้ที่ราว 0.1 - 0.2)
L หมายถึง ระยะเวลาเป็น (ปี) ที่อารยธรรมนั้น ส่งสัญญาณสื่อสารตอบกลับ (ประมาณตัวเลข ไว้ที่ราว หนึ่งพัน - หนึ่งร้อยล้านปี)


คาร์ล เซแกน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ให้การยอมรับสมการของเดรก และนำไปอ้างถึงในรายการโทรทัศน์ของเขาอยู่เสมอ จนบางครั้งถูกกล่าวถึงโดยความเข้าใจผิดว่า คาร์ล เซแกน เป็นผู้คิดสมการนี้ และเรียกว่า สมการของเซแกน

ประวัติ

[แก้]

ในเดือนกันยายน ปี 1959 นักฟิสิกส์จูเซปเป้ คอคคอนี (Giuseppe Cocconi) และฟิลิป มอร์ริสัน (Philip Morrison) ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร เนเจอร์ ที่มีชื่อเรื่องที่เร้าใจว่า "การค้นหาการสื่อสารระหว่างดวงดาว"

ดร. แฟรงก์ เดรก (Dr. Frank Drake)

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]