สนธยาประชาธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธยาประชาธิปไตย  
ผู้ประพันธ์แอน แอพเพิลบอม
ชื่อเรื่องต้นฉบับTwilight of Democracy
ผู้แปลพชร สูงเด่น (ไทย)
วันที่พิมพ์2020 (อังกฤษ)
2021 (ไทย)
หน้า224 (อังกฤษ)
164 (ไทย)
ISBN9780385545808
ISBN 9786161842093 (ไทย)

สนธยาประชาธิปไตย: ทำไมคนดี ๆ ถึงกลายเป็นเผด็จการ (อังกฤษ: Twilight of Democracy: The Seductive Lure of Authoritarianism) เป็นหนังสือตีพิมพ์เมื่อปี 2020 (ฉบับภาษาไทยตีพิมพ์ปี 2021) โดยแอน แอพเพิลบอม พูดคุนเกี่ยวกับการถดถอยของประชาธิปไตย และการผงาดของการเมืองแบบประชานิยมฝั่งขวากับโอกาสเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ โดยบอกเล่าผ่านสามกรณีหลัก ได้แก่ การเมืองในโปแลนด์, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐ

การวิเคราะห์ของแอพเพิลบอมพุ่งเป้าไปที่กลุ่มปัญญาชน (intellectual) ซึ่งเธอเรียกว่า "ครูสอนศาสนา" (clercs) ผู้ให้เหตุผลแก้ต่างให้กับการกลายเป็นเผด็จการ.[1]

เนื้อหา[แก้]

แอพเพิลบอมเป็นนักข่าวชาวอเมริกันที่เดินทางอาศัยเข้าออกประเทศโปแลนด์ เธอเปิดเรื่องหนังสือโดยการเล่าปาร์ตีเมื่อปี 1999 ที่เธอจัดขึ้นในโปแลนด์และมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้นิยมการเมืองประชาธิปไตยขวากลาง และ "เสรีนิยม, ผู้นิยมตลาดเสรี" และเธอได้ติดตามผู้เข้าร่วมปาร์ตีนั้นมาสู่ชีวิตของบุคคลเหล่านั้นในปัจจุบัน ที่ซึ่งจำนวนหนึ่งหันหน้าเข้าสู่ขั้วการเมืองแบบประชานิยมฝั่งขวา และ เผด็จการเบ็ดเสร็จ (และบางคน แม้แต่สนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดต่อต้านชาวยิว)[2] ส่วนอีกจำนวนหนึ่งยังคงเป็นผู้นิยมประชาธิปไตย เธอเรียกกลุ่มแรกว่าเป็นพวก ครูสอนศาสนา (clercs)[note 1] โดยอ้างจากหนังสือ La Trahison des Clercs ของ จูเลียน เบนดา และพุ่งประเด็นของหนังสือส่วนใหญ่ไปที่การอธิบายการแปรผันของ ครูสอนศาสนา เหล่านี้ จากผู้สนับสนุนอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปเป็นผู้นิยมเผด็จการ เธอมองว่าคนกลุ่ม ครูสอนศาสนา เป็นตัวการสำคัญที่ผลักดันสังคมให้ยอมรับเผด็จการ[2]

ในบรรดา ครูสอนศาสนา ที่เธออ้างถึงในหนังสือ มีทั้ง Rafael Bardají [es] (สเปน), Ania Bielecka (โปแลนด์), ซิมอน เฮฟเฟอร์ (สหราชอาณาจักร), ลอรา อิงกราแฮม (สหรัฐ), and Mária Schmidt (ฮังการี)[3] ผู้ที่แอพเพิลบอมระบุว่า "[ท้ายที่สุดกลับ]มาบ่อนทำลายหน้าที่ของปัญญาชน ซึ่งคือการบอกความเป็นจริงแก่สาธารณะ"[3] ในทางกลับกัน คนเหล่านี้กลับ "ปกป้องผู้นำของตน โดยไม่สนใจว่าการกระทำน้้นจะเลวร้าย ขัดต่อหลักการเหตุผล และบ่อนทำลายประเทศชาติเพียงใด"[4]

การตอบรับ[แก้]

เดอะนิวยอร์กไทมส์ โดย บิล เคลเลอร์ เขียนว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการสืบทอดการพูดคุยที่มีไว้ในหนังสือ The Death of Democracy ของ เบนจามิน คาร์เทอร์ เฮทท์ ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับว่าทำไมการล่มสลายของเยอรมนีไวมาร์นำไปสู่การเติบโตของลัทธินาซี, How Democracies Die หนังสือรัฐศาสตร์ของ Steven Levitsky และ Daniel Ziblatt ซึ่งพูดคุยเกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่เกิดในรัฐที่ล้มเหลวทางประชาธิปไตย และหนังสือ Surviving Autocracy ของ Masha Gessen ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับ ลัทธิทรัมป์[1]

เดอะการ์เดียน โดย John Kampfner เรียกขานหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นหนังสือการเมืองที่ "น่าสนใจจนวางไม่ลง" (engrossing) และ "เป็นส่วนตัวอย่างหนัก (intensely personal) ซึ่งยิ่งทำให้เล่มนี้ทรงพลังขึ้นไปอีก"[2]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "Translator's Note" to the English translation of Julien Benda's book while explaining the choice of the English title, The Treason of the Intellectuals, says that the term "clerc" was defined by Benda as "all those who speak to the world in a transcendental manner"

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Keller, Bill (19 กรกฎาคม 2020). "Why Intellectuals Support Dictators". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kampfner, John (9 กรกฎาคม 2020). "Twilight of Democracy by Anne Applebaum review – when politics ends friendships". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2020.
  3. 3.0 3.1 Laczo, Ferenc (13 กรกฎาคม 2020). "A Dreyfusard from the Right – Twilight of Democracy". Visegrad Insight. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2020.
  4. Applebaum, Anne (2020). Twilight of Democracy: The Seductive Lure of Authoritarianism. Doubleday. p. 25. ISBN 978-0385545808.