สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน เป็นปอเนาะที่ดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ที่ 58 บ้านรอตันบาตู หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ มีนายมูฮัมมัดซอฟวาน มะมิง เป็นผู้บริหารสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน แทนบิดาซึ่งเป็นโต๊ะครูของปอเนาะ มีชื่อว่าบาบออัลมัรฮูมมาฮมูด บินมูฮัมมัดอามีน ที่เสียชีวิตเมื่อเวลา 13.23 น วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 มีผู้ช่วยโต๊ะครูทั้งหมด 4 คน บาบออัลมัรฮูมมาฮมูด ได้ตั้งชื่อปอเนาะว่า วะอซุฏดีน

ประวัติการก่อตั้งสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน[แก้]

สถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีนได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2495 โดยการเริ่มต้นของบาบออัลมัรฮูมมาฮมูด บินมูฮัมมัดอามีน

ประวัติเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด ผู้วากัฟ(บริจาค)ที่ดิน สถาบันการศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน[แก้]

เจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เป็นผู้วากัฟ(บริจาค)ที่ดินจำนวน 21 ไร่ เพื่อใช้สร้างสถาบันการศึกษาให้แก่สังคม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาสถานศึกษาแห่งนี้ได้เปิดทำการเรียนการสอนตามรูปแบบปอเนาะเนื่องจากขาดซึ่งงบประมาณในการบริหารจัดการ ทำให้เป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนปัญหาอาคารที่ใช้ในการบริหารจัดการ ปัญหาผู้เรียนผู้สอน ปัญหาอาคารเรียนและหอพัก ปอเนาะแห่งนี้จึงประสบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนมาโดยตลอด

จนกระทั่งได้มาถึงลูกหลานของท่านรุ่นที่สาม ด้วยเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่าน คณะผู้บริหารได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะดำเนินรอยตามให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของท่านเจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด โดยการบริหารจัดการที่เป็นระบบและมีความมั่นคง

เจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้านรอตันบาตู พร้อมกันนั้นท่านได้บริจาคที่ดินหลายแห่งเพื่อใช้ในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นที่ดินที่ใช้ในเพื่อการสร้างมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านรอแตบาตู ที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างสถาบันการศึกษาปอเนาะวะอฺซุฏดีนและที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนตาดีกา ท่านได้วากัฟ(บริจาค)ที่ดินเหล่านี้เพื่อลูกหลานจะได้มีการศึกษาที่ดีในอนาคต

เจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2401 ซึ่งไม่ปรากฏบันทึกปีเกิดที่แน่ชัด แต่ได้รับข้อมูลซึ่งจากคำบอกเล่าของคนรุ่นลูกของท่าน เช่น นางเยาะ เจะกาเดร์ อายุ 82 ปี กับนางซูเยาะ เดคา อายุ 87 ปี ท่านน่าจะกำเนิดที่หมู่บ้านปาเซร์ฮอร์ โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย บิดาของท่านคือ เจะมูฮัมมัด เจะมูฮัมมัดกูบูร(สุสาน)อยู่ที่ปาเซร์ฮอร์ โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (นางเยาะ เจะกาเดร์ อายุ 82 ปี (สัมภาษณ์ ) : 22 ธค. 2545) เจะอับดุลกาเดร์ เจะมูฮัมมัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2508 รวมอายุของท่าน 107 ปี มัยยิด(ที่ฝังศพ)ของท่านอยู่ที่กุบูร์(สุสาน)หน้ามัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านรอตันบาตู หมู่ที่ 7 ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

บุตรธิดากับภรรยาคนแรกคือ โต๊ะซือรีมะห์ มีทั้งหมด 5 ท่าน ดังนี้

  1. หะยีแมะหนิ (แมะสนิ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว)
  2. หะยีซอและห์ (หะยีและ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว)
  3. มารียัม (เจะแย) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว)
  4. อามีเนาะ เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว)
  5. มูฮัมมัด (เจะมะ) เจะกาเดร์ (เสียชีวิตแล้ว)

บุตรธิดากับภรรยาคนที่สองคือ นางมือแย มีทั้งหมดสองท่าน ดังนี้

  1. เจะเยาะห์ เจะกาเดร์
  2. เจะอาลี (เปาะอาเดะ) เจะกาเดร์

หลักสูตรสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน[แก้]

  1. หลักสูตรตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน ปัจจุบันสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีนใช้หลักสูตรตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน การสอนนักเรียนโดยใช้หลักสูตร ตะฮ์ฟีซอัลกุรอาน คือ การเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักกฎไวยากรณ์ หลักภาษา กฎการออกเสียง โดยยึดหลักการอ่านให้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียงภาษาอาหรับ
  2. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ( กศน. ) ปัจจุบันนี้ได้เปิดในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมี ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ( กศน. ) อำเภอเมืองนราธิวาส เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

รายวิชาที่เปิดสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะวะอซุฏดีน[แก้]

  1. รายวิชา ที่จัดการสอนในสถาบัน
  2. รายวิชา อัลกรุอาน [ القران]
  3. รายวิชา อัล-หะดิษ (วัจนะ ) [الحديث ]
  4. รายวิชา หลักการศัทธา (เตาฮิด ) [التوحيد ]
  5. รายวิชา ศาสนบัญญติ (ฟิกฮ์ ) [الفـقه ]
  6. รายวิชา อรรถาธิบายอัล-กรุอาน ( ตัฟซีร ) [ التفسير ]
  7. รายวิชา หลักการอานอัล-กรุอาน ( ตัจวีด ) [ التجويد ]
  8. รายวิชาหลักการอรรถาธิบายอัลกรุอาน (อุศูลตัฟซีร) [أصول التفسير]
  9. รายวิชา หลักการวัจนะ ( อุศูลหะดิษ ) [ أصول الحديث ]
  10. รายวิชาหลักการศาสนบัญญัติ ( อุศูลฟิกฮ์ ) [ أصول الفـقه ]
  11. รายวิชาแบ่งมรดก (ฟะรออิฎ ) [الفرائض ]
  12. รายวิชาตรรกวิทยา ( มันฏิก ) [المنطق ]
  13. รายวิชามากูลาต [ المقولات ]
  14. รายวิชามุสตอลาฮ หะดิษ [ مصطلح الحديث ]
  15. รายวิชาจริยธรรม ( อัลอัคลาก หรือ ตะเซาวุฟ )[ تصوّف ] /ตอรีกัต[طريـقـة ] /ฮากีกัต[ حقيـقة ]
  16. รายวิชาศาสนประวัติ ( ตาริค ) [ سجاره ]
  17. รายวิชาอักขรวิธี ( นะฮู ) [ النحو ]
  18. รายวิชาวากยสัมพันธ์ ( ซิรฟ์ ) [ الصرف ]
  19. รายวิชาภาษาอัล-กรุอาน (กีรออะฮ. ) [ قرأة العشر ]
  20. รายวิชาสำนวนโวหาร ( อัล—บะลาเฆาะฮ์ )[ البلاغة ] /อัลบายานี[ البيان ] /อัลมาอานี[ المعاني ] /อัลบาดีอู [ البديع ]
  21. รายวิชาการแตงกล่อน ( อัลอารุด ) [ العروض ]


อ้างอิง[แก้]