สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย/ส่วนหัวทั้งหมด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย

สถาบันอุดมศึกษา หมายถึง สถานศึกษาที่ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา และปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้ง ดำเนินการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติด้วย ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดย ภาครัฐ และ ภาคเอกชน นอกเหนือจาก มหาวิทยาลัย แล้วนั้น สถาบันอุมศึกษาอาจจะสามารถเรียกชื่ออื่นอีก อาทิเช่น บัณฑิตวิทยาลัย , วิทยาลัย เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ได้มีการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[แก้]



"...เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด
จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้
จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้..."



สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[แก้]



     "...ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง       ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง       ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์..."



พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[แก้]


"...อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญอันควรกล่าว ก็คือ ความประพฤติ เราเป็นผู้ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซึ่งนับว่าเป็นสถานศึกษาที่สูงและมีเกียรติ
ย่อมต้องรู้ผิดรู้ชอบแล้วว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และสิ่งใดควรประพฤติและไม่ควรเพียงใด
ตลอดจนกิริยามารยาท เราต้องบังคับใจของเราให้เป็นผู้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามเสมอ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาที่ดีของชาติ..."


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[แก้]


"...ปัญญานั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ปัญญาที่เกิดจากการเล่าเรียนจดจำอย่างหนึ่ง กับ ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาสังเกตและพิจารณาจนรู้ชัดอย่างหนึ่ง
บัณฑิตเป็นผู้ได้รับการศึกษาอบรมมาดีแล้ว จึงควรจะได้พยายามสังเกตศึกษาให้มาก ไม่มองข้ามแม้สิ่งเล็กน้อย
อย่างต้นหญ้าก็สามารถนำมาพิจารณาเทียบเคียงให้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตได้..."


พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐


"...การรู้จักประมาณตน ทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้พอเหมาะพอดีกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ
ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น
ผู้รู้จักประมาณตนจึงสามารถทำตนทำงานได้ผลดีกว่าคนอื่น..."


พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

ปรีดี พนมยงค์[แก้]


"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้
อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..."