สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ และสงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์

ยุทธนาวีเทกเซล โดยจิตรกรฟัน เดอแฟ็ลเดอ (ผู้ลูก)
วันที่7 เมษายน ค.ศ. 1672 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1674 (1672-04-07 – 1674-02-19)
สถานที่
ผล

เนเธอร์แลนด์ได้รับชัยชนะ

คู่สงคราม
 สาธารณรัฐดัตช์  อังกฤษ
 ฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สาธารณรัฐดัตช์ มิเชล เดอ รุยเทอร์
สาธารณรัฐดัตช์ เอเดรียน แบงค์เกิร์ท
สาธารณรัฐดัตช์ วิลเลิม แวน เกนต์ 
บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ Rijckloff van Goens
อังกฤษ ดยุกแห่งยอร์ก
อังกฤษ เจ้าชายรูเพิร์ต
อังกฤษ เอิร์ลแห่งแซนด์วิช  
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส ฌ็องที่ 2 แห่งเอสเทร
กำลัง
เรือรบ 120 ลำ เรือรบ 150 ลำ
ความสูญเสีย
  • ± 2,000 คน
  • เรือล่ม 2 ลำ
  • เรือถูกยึด 2 ลำ
  • ± 2,000 คน
  • เรือล่ม 1 ลำ
  • เรือถูกยึด 12 ลำ

สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม หรือ สงครามดัตช์ครั้งที่สาม (อังกฤษ: The Third Anglo-Dutch War, ดัตช์: Derde Engelse Zeeoorlog) เป็นความขัดแย้งทางทหารทางทะเลระหว่างสาธารณรัฐดัตช์ กับอังกฤษ ซึ่งมีฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรหลัก ตั้งแต่ 7 เมษายน ค.ศ. 1672 จนถึง 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1674 และได้ลุกลามไปเป็นสงครามฝรั่งเศส-เนเธอร์แลนด์ในช่วงปีค.ศ. 1672 จนถึงค.ศ. 1678[1]

ในปีค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้ทำสนธิสัญญาอย่างลับๆ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เกี่ยวกับการร่วมมือทำสงครามกับสาธารณรัฐดัตช์ โดยฟากฝรั่งเศสมีวัตถุประสงค์หลักในการยึดครองดินแดนเนเธอร์แลนด์ของสเปน ส่วนอังกฤษนั้นต้องการกอบกู้ชื่อเสียงคืนมาจากการพ่ายแพ้ในยุทธนาวีเมดเวย์ในปีค.ศ. 1667 โดยหนึ่งในสนธิสัญญานี้กล่าวถึงเงินทุนก้อนหนึ่งที่จะช่วยให้พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษนั้นมีอิสระในการใช้จ่ายโดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภา

กองทัพเรือฝรั่งเศสเริ่มสงครามก่อนในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ปีค.ศ. 1672 และสามารถเข้าควบคุมน่านน้ำเนเธอร์แลนด์เกือบทั้งหมด ยกเว้นบริเวณมณฑลฮอลแลนด์ ซึ่งกองทัพเรือฝรั่งเศสถูกตีแตกโดยกองทัพเรือดัตช์ แต่ต่อมาต้นเดือนมิถุนายน กองทัพเรืออังกฤษและฝรั่งเศสได้ถูกทำลายอย่างหนักโดยกองทัพเรือดัตช์ภายใต้การนำของจอมทัพเรือมิเชล เดอ รุยเทอร์ ในยุทธนาวีโซลเบย์ โดยเพื่อต้องการจะควบคุมทางเดินสินค้าทั้งหมดให้ได้


อ้างอิง[แก้]

  1. Ogg 1934, pp. 357–388.

บรรณานุกรม[แก้]