สกุลเตตราโอดอน
เตตราโอดอน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางยุคไมโอซีนถึงปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาปักเป้าเอ็มบู (T. mbu) พบในน้ำจืดทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสกุลนี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Tetraodontidae |
สกุล: | Tetraodon Linnaeus, 1758 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
สกุลเตตราโอดอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tetraodon (/เต-ตรา-โอ-ดอน/)
มีรูปร่างโดยรวม ป้อมสั้น อ้วนกลม ครีบทั้งหมดสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 12-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองแฉก ใต้ผิวหนังมีเกล็ดที่พัฒนาเป็นหนามเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ ผิวหนังมักมีจุดสีดำแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด เมื่อตกใจหรือต้องการป้องกันตัว สามารถพองลมให้ใหญ่ขึ้นมาได้ ในปากมีฟันที่แหลมคมใช้สำหรับขบกัดเปลือกของสัตว์น้ำมีกระดอง ต่าง ๆ ได้ รวมถึงหอย ซึ่งเป็นอาหารหลัก[2]
มีอุปนิสัยดุร้าย มักจะชอบกัดกินเกล็ดหรือครีบหางของปลาชนิดต่าง ๆ ที่ติดอวนของชาวประมงอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถซ่อนตัวใต้พื้นทรายเพื่ออำพรางตัวหาอาหารได้ในบางชนิด ในบางชนิดก็สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ และยังสามารถเป่าน้ำจากปากเพื่อคุ้ยหาอาหารในพื้นทรายได้ด้วย[3] ภายในตัวและอวัยวะภายในมีสารพิษที่เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โดยรวมแล้ว ปลาในสกุลนี้จะว่ายน้ำได้ช้ากว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น เช่น Takifugu หรือ Auriglobus เนื่องจากมีครีบที่สั้นและรูปร่างที่อ้วนกลมกว่า
พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงเอเชีย มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคในบางท้องถิ่น
ชนิด
[แก้]ในปัจจุบัน ได้มีการศึกษาลงไปในระดับจีโนมจึงทำให้มีการจำแนกปลาปักเป้าในสกุลนี้ออกไปเป็นสกุลอื่น ทำให้สมาชิกที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งสิ้น 14 ชนิด[4]
- Tetraodon biocellatus Tirant, 1885 (ปลาปักเป้าซีลอน)
- Tetraodon duboisi Poll, 1959
- Tetraodon erythrotaenia Bleeker, 1853
- Tetraodon fluviatilis F. Hamilton, 1822 (ปลาปักเป้าเขียว)
- Tetraodon implutus Jenyns, 1842
- Tetraodon kretamensis Inger, 1953
- Tetraodon lineatus Linnaeus, 1758 (ปลาปักเป้าฟาฮากา)
- Tetraodon mbu Boulenger, 1899 (ปลาปักเป้าเอ็มบู)
- Tetraodon miurus Boulenger, 1902 (ปลาปักป้าคองโก)
- Tetraodon nigroviridis Marion de Procé, 1822 (ปลาปักเป้าเขียวจุด)
- Tetraodon pustulatus A. D. Murray, 1857
- Tetraodon sabahensis Dekkers, 1975
- Tetraodon schoutedeni Pellegrin, 1926
- Tetraodon waandersii Bleeker, 1853
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: หน้า 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 242. ISBN 974-00-8738-8
- ↑ นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกรุ...ปักเป้าน้ำจืด
- ↑ Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tetraodon ที่วิกิสปีชีส์