ศาสนาพื้นเมืองม้ง
ศาสนาพื้นเมืองม้ง, ศาสนาม้ง (อังกฤษ: Hmongism) หรือ เก๊ด๊าขั่ว (ม้ง: kev dab qhuas "การบูชาผีบ้าน")[1] เป็นศาสนาที่ชาวอเมริกันเชื้อสายม้งจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2555 เพื่อจัดระเบียบการนับถือศาสนาดั้งเดิมของชาวม้งในสหรัฐ[2] กล่าวกันว่าชาวอเมริกันเชื้อสายม้งนับถือศาสนาพื้นเมืองมากถึงร้อยละ 75[3]
ศาสนาม้งมีความเชื่อแบบสรรพเทวนิยม[4] มีเทพเจ้าและผีบรรพบุรุษเป็นศูนย์กลาง โดยคติความเชื่อและพิธีกรรมที่ได้อิทธิพลจากลัทธิเต๋ามาแต่โบราณกาล[5] รวมทั้งอิทธิพลจากศาสนาพื้นบ้านจีนที่ขับเน้นความสมดุลกันระหว่างธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์[5]
ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในเอเชียยังนับถือศาสนาม้งแบบดั้งเดิม บางส่วนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธก็จะเอาความเชื่อดั้งเดิมไปผสานเข้าด้วยกัน[5] ขณะที่ชาวม้งในสหรัฐและในออสเตรเลียจำนวนมากเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และพุทธเพิ่มขึ้น[6] ส่วนม้งในไทยบางส่วนเข้ารีตศาสนาคริสต์เพื่อยกสถานะตนให้ทัดเทียมกับชาวตะวันตกและเหนือกว่าคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยมองว่าศาสนาพื้นเมืองเดิมนั้นล้าหลังและงมงาย[7]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ Lee, Tapp, 2010. p. 36
- ↑ Bylaws of the Temple of Hmongism. Hmongism.org: published March 3, 2013
- ↑ "Hmong Americans". Cultural Aspects of Healthcare. The College of St. Scholastica. 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-30. สืบค้นเมื่อ 15 February 2013.
Primary religious/spiritual affiliation. A recent study found that 75% of Hmong people practiced traditional religion which is animistic. Many Hmong also practice Buddhism or Christianity with membership to various churches such as Catholic, Missionary Alliance, Baptist, Mormon, and others.
- ↑ Tapp, 1989. p. 59
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Lee, Tapp, 2010. p. 38
- ↑ Lee, 2010.
- ↑ รัตนา ด้วยดี. ม้งคริสเตียนกับความทันสมัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 2.
- บรรณานุกรม
- Gary Y. Lee, Ph.D., D. Lett. Hmong Religious Practice in Australia เก็บถาวร 2014-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In: From Laos to Fairfield: With Faiths and Cultures, Lao Community Advancement Cooperative, Cabramatta, 2010.
- Gary Y. Lee, Nicholas Tapp. Culture and Customs of the Hmong. Greenwood, 2010. ISBN 0313345260
- Nicholas Tapp, The Chinese University of Hong Kong. Hmong Religion เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Asian Folklore Studies, Vol. 48, 1989: 59-94.