ศาสนาพื้นบ้านเชียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หยินกุยเฉินเมี่ยว (วิหารเต่าเงิน, Silver Turtle Temple, 銀龜神廟 Yínguīshénmiào) ศูนย์กลางที่สำคัญของศาสนาพื้นถิ่นเชียง สร้างถวายในปี 2013–2014 ตั้งอยู่ในอำเภอเม่า จังหวัดปกครองตนเองอาป้า มณฑลเสฉวน

ศาสนาพื้นบ้านเชียง (อังกฤษ: Qiang folk religion) เป็นศาสนาพื้นถิ่นของชาวเชียงส่วนใหญ่ ชาวเชียงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของเสฉวนในประเทศจีน ซึ่งมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับชาวจีนฮั่นและชาวทิเบต[1]: 14  ศาสนาพื้นบ้านเชียงมีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม ประกอบด้วยการเคารพบูชาเทพเจ้าจำนวนมากที่เกี่ยวกับธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงเทพเจ้าที่เชื่อว่าเป็นบรรพชนต้นตระกูล ในคติเชียง มีการบูชาหินสีขาวซึ่งเชื่อว่าเต็มเปี่ยมด้วยพลังของเทพเจ้าเมื่อนำไปประกอบพิธี[1]: 14  นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่คล้ายกันกับศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนอื่น ๆ รวมถึงเทพเจ้า Mubyasei ("เจ้าสวรรค์") ซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดของ เทียน ในศาสนาพื้นบ้านจีน และที่ซึ่งชาวเชียงระบุว่าตรงกันกับเง็กเซียนฮ่องเต้ในคติเต๋า[2]: 140–144 

พิธีกรรมทางศาสนาของเชียงนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของนักบวชซึ่งเรียกว่า ตวงกง (duāngōng) ซึ่งเป็นชามานที่ได้รับตำแหน่งนี้ผ่านการฝึกกับอาจารย์เป็นเวลาหลายปี ตวงกงถือว่าเป็นผู้กำกับตัดสินเทววิทยาเชียง รวมถึงเป็นผู้จัดพิธีการเปลี่ยนผ่านวัยสำหรับชายที่เข้าสู่วัย 18 ปี พิธีนี้มีชื่อว่า "พิธีนั่งบนยอดเขา" และประกอบด้วยการที่เด็กชายและครอบครัวเดินทางขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อบูชายัญแกะหรือวัว และปลูกต้นสนสามต้น[1]: 14–15 

เทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญสองเทศกาลคือปีใหม่เชียง ซึ่งตรงกับวันที่ 24 ของเดือนหกตามปฏิทินจันทรคติ หรือที่ในปัจจุบันกำหนดตายตัวเป็นวันที่ 1 ตุลาคม ตามปฏิทินเกรกอเรียนอีกเทศกาลคือเทศกาลบูชายัญภูเขา จัดขึ้นในระหว่างเดือนที่สองถึงหกของปฏิทินจันทรคติ สองเทศกาลนี้เป็นการบูชาแด่เทพเจ้าแห่งสวรรค์และเทพเจ้าแห่งภูเขาตามลำดับ[1]: 14 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 LaPolla, Randy; Huang, Chenglong (2003). A Grammar of Qiang: With Annotated Texts and Glossary. Walter de Gruyter. ISBN 311017829X.. Chapter 1.3.6 "Religion".
  2. Wang, Mingke (2002). "Searching for Qiang Culture in the First Half of the Twentieth Century". Inner Asia. The White Horse Press for the Mongolia and Inner Asia Studies Unit at the University of Cambridge. 4 (1–2): 134–148. doi:10.1163/146481702793647588. See excerpts.