ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาคริสต์ในประเทศโอมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาคริสต์ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือในประเทศโอมานถึงร้อยละ 3.63 ใน ค.ศ. 2020[1] โดยมีสมณะกระทรวงในประเทศถึง 90 แห่ง[2]

มีบันทึกเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ในประเทศโอมานก่อนการเข้ามาของโปรตุเกสใน ค.ศ. 1504 อยู่น้อย แต่มีซากที่คาดว่าเป็นโบสถ์ในเมือง Suhar[3] นอกจากนี้ Chronicle of Arbela ระบุถึงมุขมณฑลที่ Bet Mazunaye ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รวมโอมาน อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิชาการยังคงถกเถียงกันในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลในคริสต์ศตวรรษที่ 6[4]

ชาวคริสต์ในประเทศโอมานเกือบทั้งหมดมาจากประเทศอื่น[5] ส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์ อินเดีย หรือประเทศตะวันตก และอยู่รวมกันในพื้นที่เมือง คือ: มัสกัต ศุฮาร และเศาะลาละฮ์[6][7] สำหรับชาวคริสต์หลายคนที่อาศัยและทำงานอยู่นอกบริเวณเหล่านี้ การเดินทางไปที่โบสถ์ถือเป็นเรื่องลำบาก และจะไปเฉพาะในบางโอกาส[8] และมีสุสานคริสต์ในมัสกัต ซึ่งบริหารโดย Petroleum Development Oman[3]

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่รัฐธรรมนูญโอมาน มาตราที่ 28 ปกป้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาตราบเท่าที่ยังไม่ละเมิดกฎหมายอิสลาม[9] ดังนั้น ชาวคริสต์ในประเทศโอมานจึงมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดก็ตาม เช่น ชาวคริสต์ต้องทำพิธัในพื้นที่เฉพาะที่รัฐบาลจัดสรรให้ โดยยังเป็นเรื่องยากสำหรับคริสตจักรที่จะได้รับใบอนุญาตในการก่อสร้าง และการอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพการรวมตัวทางศาสนาในที่สาธารณะเป็นเรื่องที่บรรลุผลได้ยาก และห้ามรวมกลุ่มกันเป็นการส่วนตัว แม้ว่ากฎหมายนี้ไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัดเสมอไป[10]

การเปลี่ยนศาสนาในที่สาธารณะเป็นเรื่องต้องห้าม[11] อย่างไรก็ตาม มีหลายกรณีที่มุสลิมหันมารับความเชื่อศาสนาคริสต์ด้วยการประกาศเปลี่ยนศาสนาในที่ลับ ทำให้พวกเขานับถือศาสนาคริสต์ แต่ตามกฎหมายยังคงเป็นมุสลิม นั่นทำให้ข้อมูลสถิติชาวโอมานที่นับถือศาสนาคริสต์ไม่ได้นับมุสลิมที่หันมานับถือศาสนาคริสต์ การสอนศาสนาอิสลามถือเป็นภาคบังคับในโรงเรียนรัฐบาล แต่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมสามารถได้รับการยกเว้นจากสิ่งนี้[12] ผลการศึกษาใน ค.ศ. 2015 ประมาณการว่ามีผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่มีภูมิหลังเป็นมุสลิมเพียง 200 คนอาศัยอยู่ในประเทศนี้ และใช่ว่าทุกคนเป็นพลเมืองในประเทศนี้[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. World Religions Database at the ARDA website, retrieved 2023-08-08
  2. "Middle East OMAN". CIA The World Factbook.
  3. 3.0 3.1 Peterson, J.E. (Winter 2014). "Oman's Diverse Society: Northern Oman". Middle East Journal. 58 (1): 49. JSTOR 4329973.
  4. Carter, R.A. (May 1, 2008). "Christianity in the Gulf during the first centuries of Islam". Arabian Archaeology and Epigraphy. 19 (1): 71–108. doi:10.1111/j.1600-0471.2008.00293.x.
  5. "Operation World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2005.
  6. "Commission Magazine on international Christian Missions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-23.
  7. "OMAN 2018 INTERNATIONAL RELIGIOUS FREEDOM REPORT" (PDF). U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 7 November 2019.
  8. Skinner, Raymond F. "Ibadism in Oman and developments in the field of Christian-Muslim relationships" (PDF). Durham E-Theses. Durham University. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019.
  9. "Oman's Constitution of 1996 with Amendments through 2011" (PDF). The Constitution Project. สืบค้นเมื่อ 7 November 2019.
  10. "FINAL WWL 2019 COUNTRY DOSSIER" (PDF). Open Door. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019.
  11. US State Dept 2022 report
  12. US State Dept 2022 report
  13. Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christianity from a Muslim Background: a global census". IJRR. 11: 17. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]