ศรี มหิลา คฤหะ อุทโยค ลิชชัต ปาปัฑ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรี มหิลา คฤหะ อุทโยค ลิชชัต ปาปัฑ
ประเภทสหกรณ์แรงงาน
อุตสาหกรรมปาปัฑ
สบู่ ผงซักฟอก
ขนมอบ ขนมปัง
มสาลา
แป้ง
ก่อตั้ง15 มีนาคม 1959
(65 ปีก่อน)
 (1959-03-15)
ผู้ก่อตั้งชัสวันติเพน ชนมทาส โปปาต
ปารวตีเพน รามทาส โฐทนี
อุชัมเพน นรันทาส กุนฑลิยา
พานุเพน เอ็น ตันนา
ลคุเพน อมฤตลาล โคทนี
ชยเพน วี วิฐาลนี
ทิวาเพน ลุกกะ
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
อินเดีย และ 25 ประเทศ
บุคลากรหลัก
สวตี ปรัทกร (ประธานบริษัท)
พนักงาน
45000 (พฤษภาคม 2021)[1]
เว็บไซต์www.lijjat.com

ศรี มหิลา คฤหะ อุทโยค ลิชชัต ปาปัฑ (อักษรโรมัน: Shri Mahila Griha Udyog Lijjat Papad, แปลว่าปาปัฑอร่อยอุตสาหกรรมครัวเรือนสตรี) หรือนิยมเรียกว่า ลิชชัต (อักษรโรมัน: Lijjat หรือ ลิจจัต) เป็นสหกรณ์แรงงานสตรีอินเดีย ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือการเสริมพลังแก่สตรีผ่านการให้โอกาสประกอบอาชีพ ลิชชัตเริ่มต้นในปี 1959 โดยสตรีชาวคุชราตเจ็ดคนในมุมไบ โดยมีทุนเริ่มจัดตั้งเพียง 80 รูปี และในทศวรรษสามารถสร้างเงินมากกว่า 1600 โกรร์ และสร้างอาชีพให้กับสตรีกว่า 45,000 คน[2]

ลิชชัตเริ่มต้นเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนเริ่มแรกในเขตเมือง และต่อมาจึงขยายไปสู่แถบชนบท[3] และถือเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นโดยสตรีที่โดดเด่นที่สุดเจ้าหนึ่งของอินเดีย และยังกลายมาเป็นดั่งตัวแทนของพลังสตรีในอินเดีย[4] ลิชชัตมีผลิตภัณฑ์แรกเริ่มคือปาปัฑและยังคงเป็นผลิตภัณฑ์หลักจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ลิชชัตเริ่มต้นก่อตั้งโดยสตรีชาวคุชราตเจ็ดคนที่อาศัยอยู่ในโลหนานิวาส (Lohana Niwas) ซึ่งเป็นหมู่อาคารห้าหลังในย่านคิรคาวของนครมุมไบ พวกเธอต้องการจะตั้งธุรกิจขึ้นเพื่อดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนด้วยตนเอง สตรีทั้งเจ็ดคนที่เป็นผู้ก่อตั้งลิชชัตได้แก่ ชัสวันติเพน ชนมทาส โปปาต (Jaswantiben Jamnadas Popat), ปารวตีเพน รามทาส โฐทนี (Parvatiben Ramdas Thodani), อุชัมเพน นรันทาส กุนฑลลิยา (Ujamben Narandas Kundalia), พานุเพน เอ็น ตันนา (Banuben. N. Tanna), ลาคุเพน อมฤตลาล โคหานี (Laguben Amritlal Gokani), ชยเพน วี วิฐาลนี (Jayaben V. Vithalani) และ ทิวาลีเพน ลุกกา (Diwaliben Lukka)[5][6] ทุนจัดตั้งเริ่มต้นคือ 80 รูปีอินเดีย ซึ่งไปยืมมาจากฉคันลาล กรัมสี ปาเรข นักสังคมสงเคราะห์และสมาชิกคณะทาสรับใช้สังคมอินเดีย[6] และด้วยเงินจำนวนนี้ พวกเธอเข้าซื้อเครื่องมือผลิตจากบริษัทผลิตปาปัฑที่กำลังขาดทุนของบุคคลนามว่าลักษมีทาสภาอี (Laxmidas bhai)[7] การผลิตเริ่มต้นครั้งแรกในวันที่ 15 มีนาคม 1959 โดยพวกเธอรวมตัวกันที่ระเบียงของอาคารที่พักอาศัยและผลิตปาปัฑสี่ถุงออกมา[8] ในช่วงแรกปาปัฑนี้นำไปฝากขายกับร้านค้าที่พวกเธอรู้จักในย่านภุเลศวร พวกเธอตั้งมั่นว่าจะไม่ไปขอรับบริจาคหรือขอความช่วยเหลือจากใครอีกทั้งนั้น แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม[9] ธุรกิจดำเนินการภายใต้คำแนะนำของฉคันลาล ปาเรข ซึ่งเป็นผู้ให้ยืมเงินก่อตั้ง[3] แรกเริ่ม ปาปัฑจะถูกผลิตออกมาเป็นสองคุณภาพ โดยแบบคุณภาพต่ำกว่าจะจำหน่ายที่ราคาต่ำกว่า แต่ภายใต้คำแนะนำของปาเรข พวกเธอจึงหันมาผลิตเพียงปาปัฑแบบมาตรฐานเดียวโดยไม่มีการลดทอนคุณภาพ รวมถึงยังแนะนำให้พวกเธอทำบัญชีอย่างเป็นระบบ และดำเนินการผลิตปาปัฑแบบเป็นธุรกิจ[10]

ลิชชัตขยับขยายขึ้นภายใต้ระบบสหกรณ์ โดยเริ่มแรกเปิดรับสมาชิกสหกรณ์เป็นสตรีทุกวัย ก่อนที่ต่แมาจึงกำหนดอายุขั้นต่ำที่สิบแปดปี สามเดือนหลังก่อตั้ง ลิชชัตสามารถรวบรวมสมาชิกได้ 25 คนที่ร่วมกันผลิตปาปัฑ และมียอดขายในปีแรกรวม 6196 รูปี[11] ส่วนปาปัฑที่แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ระหว่างการผลิตถูกนำไปแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้าน[7] และในช่วงปีแรก ต้องมีการพักการผลิตไปนานสี่เดือนเนื่องจากเป็นฤดูมรสุม ทำให้ไม่สามารุตากแห้งปาปัฑได้[3] ในปีต่อมาจึงมีการซื้อเตาเพื่อให้สามารถทำปาปัฑแห้งแม้จะมีฝนลง[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Home > Organisation > About Us". 18 May 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-21.
  2. "The amazing Lijjat Papad story: from Rs 80 to Rs 800 crore". Yahoo Finance. 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 Surekha Kadapa-Bose. "A model of modern development" (PDF). The tmtc Journal of Management. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2007.
  4. Seema Sharma and Kanta Sharma. Encyclopaedia of Indian Women. Vol. VII: Women Employment. New Delhi, Anmol, 2005, 11 vols., cxliii, 4476 p., ISBN 81-261-2292-7
  5. "ગૃહિણીઓ દ્વારા, ગૃહિણીઓ માટે ગૃહિણીઓને રોજગાર આપતો ગૃહઉદ્યોગ લાજવાબ લિજ્જત". Gujarati Mid-day (ภาษาคุชราต). 2021-01-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-03.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Successful Women Entrepreneurs: Shri Mahila Griha Udyog Lijjat Papad (Lijjat)". ICFAI Center for Management Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  7. 7.0 7.1 Malathi Ramanathan. "Grassroots Developments in Women's Empowerment in India: Case Study of Shri Mahila Griha Udyog Lijjat Papad (1959–2000)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 มีนาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2007.
  8. "organization – The Beginning". Lijjat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007. สืบค้นเมื่อ 4 February 2006.
  9. "Queens of PAPADom". The Times of India. 6 December 2001. สืบค้นเมื่อ 15 January 2007.
  10. Pathak, Ramnarayan Nagardas, Punyashlok Chhaganbapa, translated into English by Prof.V.T.Yardi, Published by Shri Mahila Griha Udyag Lijjat Papad, Jan. 1980, p.114-117
  11. Deepti Bhatnagar (IIM-A), Animesh Rathore ((IIM-A)), Magüi Moreno Torres (World Bank), Parameeta Kanungo (World Bank). "Empowering Women in Urban India: Shri Mahila Griha Udyog Lijjat Papad". The tmtc Journal of Management. สืบค้นเมื่อ 16 January 2007.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)