วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/เขนงนายพราน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขนงนายพราน[แก้]

เขนงนายพราน ถูกเสนอเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เสนอชื่อโดย Chale yan
สนับสนุน
  1. เห็นด้วย ข้อมูลดี ลำดับการนำเสนอก็พอเข้าใจได้แม้สำหรับคนที่ไม่ถนัดวิทยาศาสตร์ --taweethaも 09:09, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)
  2. เหมาะสมเป็นบทความคุณภาพ --Sry85 11:11, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)
  3. ใช้ได้แล้วครับ --'''DoLKuNG''' 11:45, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. เอ๋...เห็นมีชื่อภาษาไทยอยู่ในบทความ ทำไมไม่ใช้ชื่อภาษาไทยเลยครับ --Ken-Z! พูดคุย 23:01, 1 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • เปลี่ยนแล้วครับ แต่ก็เพื่อง่ายต่อการอ้างอิงชื่อทางวิทยาศาสตร์ด้วยครับ เช่นถ้าอ้าง เขนงนายพราน var. echinostoma คงจะแปลกๆ และเนื่องจากในประเทศไทยมีการใช้ชื่อซ้ำกันมาก เช่น N. mirabilis , N. gracilis และ N. ampullaria เรียกหม้อข้าวหม้อแกงลิงเหมือนกัน แต่ผมได้เปลี่ยนชื่อแล้วโดยยึดตามชื่อของสำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2549 ---Chale yan 05:10, 2 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • ไหน ๆ ก็เปลี่ยนชื่อเป็น เขนงนายพราน แล้ว ในส่วนเนื้อหาที่ยังใช้ภาษาอังกฤษอยู่ว่า N. mirabilis ก็น่าจะใช้ภาษาไทยด้วย --Sry85 09:09, 9 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • เปลี่ยนแล้วครับ ยกเว้นที่อ้างอิงเป็นชื่อวิทยาศาสตร์--Chale yan 11:00, 9 มิถุนายน 2552 (ICT)
  2. ดูแล้ว เนื้อหายังน้อยอยู่เลยครับ เมื่อเปรียบเทียบกับ Nepenthes rajah ดูเนื้อหาสมบูรณ์กว่าบทความนี้เสียอีก ทำไมจึงเสนอบทความนี้ครับ อยากทราบความเห็นนิดนึง --Sry85 23:05, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • เพราะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบได้ทั่วไปในเมืองไทยครับ ในเนื้อหาผมว่าครอบคลุมเกือบทุกเรื่องแล้ว ยกเว้นส่วนของประวัติ จะพยายามหามาเพิ่มเติมครับ ส่วน Nepenthes rajah นั้นเพราะเป็นพืชที่โดดเด่นอย่างมากจึงมีการศึกษาในเชิงลึกมากกว่า ส่วนเนื้อหาผมว่าก็ไม่น้อยนะครับเมื่อเทียบกับบทความ 253 แมธิลด์ อีกอย่างคือผมอยากให้มีบทความทางวิทยาศาสตร์เป็นบทความคุณภาพบ้างครับ เพราะมีประมาณ 15 บทความจาก 110 บทความเอง โดยเฉพาะด้านพฤษศาสตร์ซึ่งยังไม่มีเลย--Chale yan 08:51, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • ใช่ครับ ขาดส่วนประวัติ / ประวัติการค้นพบ ที่ดูน่าจะเป็นสาระสำคัญเหมือนกัน --Sry85 02:41, 7 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • ยังพยายามหาอยู่ครับ แต่น่าจะพออนุโลมได้นะครับ เพราะในเสือและงูจงอางก็ไม่มีครับ--Chale yan 20:44, 8 มิถุนายน 2552 (ICT)
          • เพิ่มแล้วครับ--Chale yan 05:52, 9 มิถุนายน 2552 (ICT)
  3. ไม่ควรใช้ชื่อหัวข้อว่า เบ็ดเตล็ด เพราะจะดูเป็นเกร็ดความรู้อื่น น่าจะตั้งหัวข้อให้เหมาะสมกว่านี้ อย่างเช่น "การเผยแพร่ในสื่อ" .. เป็นต้น --Sry85 23:05, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • เปลี่ยนแล้วครับ--Chale yan 08:51, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
  4. ขอเสนอแนะในฐานะที่ไม่ค่อยศึกษาเรื่องพรรณพืชนะครับ ไม่ทราบว่าควรจะเพิ่มเติมลักษณะของเขนงนายพราน หรืออาหารของมันอีกไหมครับ (ในฐานะที่เป็นพืชกินแมลง) --Horus 19:56, 11 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • เรื่องลักษณะครบแล้วนะครับ ลำต้น, ใบ, ดอก, หม้อ แล้วก็ลักษณะพิเศษที่ต่างจากชนิดอื่น วิธีการดักเหยื่อสามารถอ่านได้จากเรื่องพืชกินสัตว์ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องโดยรวมของสกุลนี้ที่มีกับดักแบบหลุมพลางไม่เฉพาะเจาะจงแค่ชนิดนี้ ส่วนเรื่องเหยื่อของเขนงนายพรานเป็นแมลงธรรมดาเหมือนหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วไป ไม่มีสัตว์ใดเป็นพิเศษครับ ซึ่งถูกพูดถึงในหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้ว --Chale yan 23:25, 11 มิถุนายน 2552 (ICT)
  5. ส่วนบทนำควร สรุปเนื้อหาโดยรวมของบทความ ไม่ควรเป็นเนื้อหาที่ไม่มีในส่วนบทความข้างล่าง --Sry85 16:56, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • หมายถึงเรื่องไหนครับ--Chale yan 17:43, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • อย่างในประเทศไทย เขนงนายพรานมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้ หรือ จึงทำให้เขนงนายพรานมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ ที่เห็นได้เด่นชัดคือ N. mirabilis var. echinostoma ชึ่งเป็นรูปแบบที่หายากประจำถิ่นในบรูไนและรัฐซาราวัก ซึ่งปากจะบาน กว้างและหนาพิเศษ ทั้งยังมีร่องละเอียดอย่างเห็นได้ชัด --Sry85 18:00, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • เอาไปเพิ่มในส่วนเนื้อเรื่องข้างล่างแล้วครับ แต่แตกได้หัวข้อความหลากหลายเพิ่มยังไม่รู้จะเขียนไงต่อเลย --Chale yan 05:24, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
  6. เห็นในบทนำ มีระบุ มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ ในส่วนเนื้อหาน่าจะมีขยายความเรื่องนี้ด้วย --Sry85 16:56, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • ยากที่จะขยายความครับ เพราะหม้อข้าวหม้อแกงลิงแถบอินโดจีนยังไม่ค่อยมีคนศึกษานัก และ Infraspecific taxa ในตอนหลังยังเลิกจำแนกกันเลย เพราะเยอะมากและอาจจะไปซ้ำกับหม้อข้าวหม้อแกงชนิดอื่นได้จากลักษณะที่ต่างออกไป อย่าง Nepenthes mirabilis var. smilesii ตอนหลังมีการจำแนกเป็น N. smilesii ซึ่งก็ยังอาจจะเป็นชนิดเดียวกับ N. thorelii แต่ที่ต่างออกไปเป็นเพราะถิ่นอาศัย และบาง var. ไม่มีคำอธิบายครับจะเห็นว่ามี nom.nud.ตามหลัง แต่จะลองดูครับ--Chale yan 17:43, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • ลองใส่เป็นรูปดู ไม่ทราบว่าใช้ได้หรือเปล่าครับ--Chale yan 07:11, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • การแทรกลิงก์นอก ในบทความเป็นการลดคุณภาพบทความ (จากหน้า วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย) --Sry85 23:07, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
          • ตอนแรก อยากเอารูปมาแปะเพราะดูความหลากหลายได้ง่ายดี แต่ติดลิขสิทธิ์ เลยทำลิ้งแทน งั้นผมก็เอาลิ้งรูปออกแล้วกันครับ--Chale yan 12:56, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
            • น่าจะเอาลิงก์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ออกด้วย ลิงก์ก็ไม่ได้เข้าตรงส่วนเนื้อหา + ขอเพิ่มเนื้อหาขนมที่ใช้เขนงนางพรานมาใช้เพิ่มเติมหน่อย น่าจะพอมีเนื้อหาเหมือนกัน ว่าใช้ส่วนไหนทำ --Sry85 13:14, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
              • เรียบร้อยครับ--Chale yan 17:02, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
  7. เรื่องน่าสนใจดีนะครับ แต่ว่าชื่อวิทยาศาตร์เหมือนว่ายังเอียงไม่ครบทุกแห่งเลยครับ แล้วเครื่องหมาย ? ในบทความหมายความว่าอย่างไรครับ ในส่วนลูกผสมตามธรรมชาติ --taweethaも 22:43, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • แก้และหมายเหตุแล้วครับ--Chale yan 05:24, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • ยังไม่ครบครับ ในส่วนอนุกรมวิธาน คำบางคำที่ไม่ควรเอียง กลับเอียง อย่าง var ครับ ส่วนในหมายเหตุยังไม่ได้เอียง ผมไม่แน่ใจว่าใช้คำว่า เชิงอรรถ จะเหมาะกว่าหมายเหตุหรือไม่นะครับ --taweethaも 11:37, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • เรียบร้อยครับ
  8. มีเหตุอะไรถึงต้องใช้ ค.ศ. ครับ โดยเฉพาะการใช้ ค.ศ. กับประกาศของราชการไทยเป็นการฝืนธรรมชาติพอสมควร --taweethaも 22:43, 16 มิถุนายน 2552 (ICT)
    • ผมก็ว่ามันแปลกๆ แต่เพราะบทความคุณภาพและบทความคัดสรรมักเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งครับซึ่งผมเลือกใช้ ค.ศ. เพราะในหน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิดนั้นมีวงเล็บ ค.ศ. ซึ่งเป็นสากลนิยม ถ้าผมหันไปใช้ พ.ศ. จะแปลกๆครับ--Chale yan 04:48, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นขื่อเฉพาะต้องลงท้ายด้วย พ.ศ. ในความเห็นของผมนะครับ แล้วจะวงเล็บ ค.ศ. ก็ได้
      • พวกที่ชอบใช้ ค.ศ. นั้นเห็นแต่จะเป็นพวกประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์ชาติอื่นครับ เพราะนิยมอ้างอิงถึงเวลามาก และถ้าจะให้เป็นสากลจึงใช้ ค.ศ. ส่วนเรื่องที่กล่าวถึงอนุกรมวิธาน ก็เห็นด้วยครับ แต่ว่าบทความนี้ไม่ใช่บทความอนุกรมวิธานของพืชดังกล่าวโดยตรง มันมีเรื่องประวัติความเป็นมา เรื่องอื่นๆ ปะปนกันไปพอสมควร ถ้าพิจาณาใช้เป็น พ.ศ. ให้คนอ่านส่วนใหญ่ที่คุ้นเคยเข้าใจและรับรู้ได้ ก็อาจจะดีไปอีกอย่างครับ --taweethaも 13:12, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
        • งั้นคงต้องแก้หลักเกณฑ์ที่ว่าให้ใช้ พ.ศ. หรือ ค.ศ. อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วละครับ เอาเป็นว่าผมจะใช้ส่วน พ.ศ. ในทั้งหมดในส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทยแล้วกันครับ แต่เค้าจะเข้าใจกันไม๊นี่ ว่าวงเล็บในอนุกรมวิธานเป็น ค.ศ. ไม่ใช่ พ.ศ.--Chale yan 15:09, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
          • เรื่องประกาศราชการฉบับเดียวเองครับ ถ้าอยากใช้ ค.ศ. ทั้งหมด ตัวประกาศราชการ เราก็เขียนคำเต็มไป เหมือนพวกชื่อกฎหมายที่มักเขียนชื่อ พระราชบัญญัติ... พุทธศักราช แล้วถือเสมือนว่าเราไม่คิดว่าอันนี้เป็นเรื่องของเวลาก็ได้ แต่ถ้ากล่าวถึงไทยใช้ พ.ศ. กล่าวถึงสากลใช้ ค.ศ. ปนกันหลายๆ แห่งคงไม่ไหวครับ เว้นไว้ที่สองที่ โดยคิดเสียว่าไม่ใช่เรื่องบอกเวลา แต่เป็นชื่อเฉพาะ แบบนี้พอทนกันไปได้ครับ เห็นนำไปขึ้นประกาศแล้ว หวังว่าคงมีผู้ใช้ท่านอื่นมาช่วยกันคิดเพิ่มเติมนะครับ --taweethaも 21:06, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
            • ลองเปลี่ยนแล้วครับ ลองอ่านดูนะครับว่าดีขึ้นไม๊ --Chale yan 22:18, 17 มิถุนายน 2552 (ICT)
              • ในความเห็นผมเท่านี้ก็สวยแล้วครับ --taweethaも 11:34, 18 มิถุนายน 2552 (ICT)
  9. สุดท้ายแล้วจริงๆ ครับ อยากให้ปรับลำดับการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปอ่านได้ง่ายขึ้นครับ อยากให้รวม
    1. ประวัติและการค้นพบ
    2. ความหลากหลาย
    3. หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด
    4. ลูกผสมตามธรรมชาติ
    • ไว้ในหัวข้อใหญ่เดียวกัน ชื่อว่าประวัติการค้นพบและอนุกรมวิธาน โดยให้หัวข้อนี้อยู่ถัดจากการกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย แบบนี้น่าจะอ่านได้สะดวกกว่าครับ --taweethaも 17:22, 19 มิถุนายน 2552 (ICT)
      • เรียบร้อยครับ แต่ความเห็นของผม ความหลากหลายน่าจะต่อจาก การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย หรือเป็นหัวข้อย่อย ส่วน ลูกผสมตามธรรมชาติ ไม่น่ารวมไว้ในอนุกรมวิธานนะครับ ลองดูแล้วกันครับ
        • ลูกผสมตามธรรมชาติ ถ้าไม่ใช่อนุกรมวิธาน แล้วหัวข้อนี้ควรจะอยู่ที่ไหนหล่ะครับ แม้จะไม่ใช่การจัดจำแนกพันธ์โดยตรง ไม่ใช่ dichotomous key แต่มันก็ออกจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกันนะครับ ส่วนเรื่องลำดับลองดู พ.ศ. ที่เกิดเหตุการณ์ในหัวข้อต่างๆ ดูนะครับ มันก็เหมือนจะเรียงลำดับกันไปในมุมมองของประวัติ--taweethaも 09:09, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)
          • อืมๆ เข้าใจครับ --Chale yan 20:50, 20 มิถุนายน 2552 (ICT)