วิกิพีเดีย:เนื้อ vs น้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิกิพีเดียภาษาไทย การคัดส่วนที่เป็น "น้ำ" ออกไปให้เหลือแต่ "เนื้อ" จะทำให้บทความมีคุณภาพดีขึ้น มีผู้เขียนบางคนเข้าใจว่าเนื้อหาของบทความยิ่งยาวยิ่งดี แต่ที่จริงเนื้อหายาว ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ

ปกติไม่ได้บังคับรูปแบบการเขียนของบทความ แต่เกณฑ์บทความคุณภาพและบทความคัดสรรมีส่วนที่ว่าด้วย "การเขียนอย่างดี" หรือ "มืออาชีพ" หากมี "น้ำ" ปรากฏอยู่จะทำให้บทความไม่ผ่านเกณฑ์

การสังเกต[แก้]

ลองดูสองรุ่นแก้ไขในบทความ "ธงไชย แมคอินไตย์" นี้เป็นตัวอย่าง

 สำเร็จ เนื้อ  ไม่สำเร็จ น้ำ
  1. เป็นสาระสำคัญของบทความ หากตัดทอนไปแล้วจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นหัวเรื่องลดลง
  2. บอกใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
  3. ใช้เสริมความโดดเด่นของสิ่งที่เป็นหัวเรื่อง (เช่น สถิติสำคัญ หรือกล่าวถึงรายละเอียด)
  4. ปกติควรใช้คำให้ประหยัดที่ยังได้ใจความสมบูรณ์
  5. ใช้คำเชื่อมประโยค (สันธานหรือบุพบท) หรือใช้อนุประโยคแทนการใช้ประโยคสมบูรณ์หลายประโยค จะทำให้เนื้อหาลื่นไหลมากขึ้น ผู้อ่านเห็นลักษณะคล้อยตามหรือขัดแย้งกันชัดเจนยิ่งขึ้น
  1. อยู่นอกเหนือประเด็นของบทความ หากตัดทอนไปไม่ได้ทำให้ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นหัวเรื่องลดลง ปกติควรจัดอยู่ในบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
    ตัวอย่างเช่น กรณีบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมอย่างหนึ่ง เนื้อหาที่ขยายความกิจกรรมนั้นในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่กำลังกล่าวถึงย่อมไม่มีความจำเป็น
  2. ใช้คำ กลุ่มคำหรือประโยคฟุ่มเฟือย คือใช้ข้อความยาวเกินกว่าเหตุโดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง