วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย/09-2553/ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

แข่งตรวจ'เกรียน' วิกิฝรั่งเศสครบล้านบทความ กฎบัตรซิทิเซนเดียม สถิติการแก้ไข และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 24 ตุลาคม 2553, ก


การแข่งขันตรวจจับการก่อกวน

การแข่งขันตรวจจับการก่อกวนบนวิกิพีเดียระหว่างประเทศครั้งที่ 1” ถูกจัดขึ้นในปาดัว ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2553 เพื่อพัฒนาอุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับตรวจจับการแก้ไขที่มีเจตนากระทำผิดบนวิกิพีเดีย (หน้าเวิร์กชอป) โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมจำนวน 9 ทีม การแข่งขันกำหนดการแก้ไขจำนวน 32,452 ครั้ง โดยยกตัวอย่างมาจากรายการปรับปรุงล่าสุดของวิกิพีเดียเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งได้รับการจำแนกโดยผู้คัดแยกจำนวน 753 คน ซึ่งสมัครเข้ามาจาก Amazon Mechanical Turk เพื่อให้โครงการตรวจสอบความแม่นยำของตัวตรวจจับการก่อกวนอัตโนมัติสามารถดำเนินการได้ ยกตัวอย่างโดยเปรียบเทียบลักษณะที่ถูกและลักษณะที่ผิด (“TP” และ “FP” ในไฟล์ PDF) ข้อสรุปหนึ่งคือการใช้งานอุปกรณ์ทั้งหมดของผู้เข้าแข่งขันสามารถดำเนินการได้ผลดีกว่าอุปกรณ์ของผู้เข้าสมัครทีมใดทีมหนึ่ง อุปกรณ์ตรวจจับร่วมมีค่า FP=20% ในขณะที่มีค่า TP=95% (แผนภาพด้านขวามือในหนา 11) กล่าวคือ อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจจับการแก้ไขที่มีลักษณะก่อกวนได้ 19 จาก 20 ครั้ง จุดข้อมูลสำหรับการตรวจจับที่สูงกว่า คือ FP=35% ที่ TP=98% รายงานยังได้มีข้อสรุปว่าลักษณะที่แตกต่างกันของอุปกรณ์ตรวจจับการก่อกวนประกอบกันเพื่อเข้าถึงความเป็นไปได้ที่ว่าการแก้ไขที่พิจารณานั้นเป็นการก่อกวน (หนึ่งในลักษณะอย่างง่าย กำหนดโดยผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 7 ทีม จากทั้งหมด 9 ทีม ไม่ว่ามันจะเป็นการแก้ไขของผู้ใช้นิรนามหรือไม่)

ยังมีอุปกรณ์ตรวจจับการก่อกวนอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน หนึ่งในนั้นได้แก่บอตที่ดำเนินการย้อนการก่อกวนในวิกิพีเดียอยู่แล้ว อุปกรณ์ STiki ซึ่งพัฒนาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (ซึ่งผู้พัฒนากล่าวว่ามันจะได้รับรางวัลที่สองหากเข้าร่วมการแข่งขันด้วย) และโครงการที่เพิ่งจะประกาศใหม่ของมหาวิทยาลัยไอโอว่า

วิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศสครบล้านบทความ

โลโก้ครบ 1,000,000 บทความของวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศส
กราฟแสดงจำนวนบทความในวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศส

วิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศสเฉลิมฉลองบทความที่ 1,000,000 ซึ่งได้แก่บทความ Louis Babel เมื่อวันที่ 21 กันยายน วิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศสเป็นวิกิพีเดียภาษาที่สามที่มีบทความครบ 1,000,000 บทความ ตามหลังวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน (ปัจจุบันมี 1.1 ล้านบทความ) และวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ (ปัจจุบันมี 3.4 ล้านบทความ) โดยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 จากสถิติ วิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศสมีการแก้ไขนับ 60 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้ที่ยังแก้ไขอยู่ถึง 300,000 คน การสร้างบทความใหม่ในวิกิพีเดียภาษาฝรั่งเศสทะยานขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2548-2549 โดยมีการสร้างบทความภูมิศาสตร์ระดับโครงถึง 36,000 บทความ จากนั้นจึงเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นจนถึงอัตราปัจจุบันที่มีการสร้างบทความใหม่ 300-400 บทความต่อวัน เช่นเดียวกับผู้ใช้ที่ยังแก้ไขอยู่ซึ่งสมัครบัญชีผู้ใช้ใหม่กว่า 800 คนต่อเดือน

จำนวนบทความยังได้มีการประกาศผ่านทาง Twitter feed ของวิกิมีเดียฝรั่งเศส เนื่องจากความติดขัดของรายชื่อหน้าวิกิพีเดีย จำนวนบทความคาดว่าจะมีการประกาศภายในวันที่ 23 กันยายน หลังจากการสร้างบทความใหม่ระยะหนึ่ง ผู้พัฒนาเปิดเผยถึงจำนวนบทความที่ได้รับการประกาศ คือ Louis Babel สองวันก่อนหน้าวันที่เคยมีการคาดการณ์ก่อนหน้า วิกิพีเดียต่อไปที่คาดว่าน่าจะครบ 1,000,000 บทความ ได้แก่ วิกิพีเดียภาษาโปแลนด์ (ปัจจุบันมี 729,000 บทความ) และภาษาอิตาเลียน (728,000 บทความ)

ซิติเซนเดียมประกาศใช้กฎบัตร แลร์รี แซงเจอร์ยุติบทบาทผู้นำ

แลร์รี แซงเจอร์

หลังจากกระบวนการหารือซึ่งกินเวลามานานกว่าหนึ่งปี สารานุกรมบนวิกิออนไลน์ ซิติเซนเดียม ได้ประกาศใช้กฏบัตร (ซึ่งมีทั้งหมด 55 มาตรา วางรากฐานคล้ายกับรัฐธรรมนูญสำหรับการบริหารโครงการ) ข่าวดังกล่าวได้รับการประกาศเมื่อเดือนกันยายนโดยผู้ก่อตั้งแลร์รี แซงเจอร์ บทบาทบรรณาธิการของเขายุติลงพร้อมกับการบังคับใช้กฏบัตรดังกล่าว

แผนการร่างกฏบัตรมีขึ้นตั้งแต่ข่าวประชาสัมพันธ์เริ่มต้นของซิติเซนเดียม เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเขาประกาศเจตนารมณ์ของเขาที่จะก้าวลงจากตำแหน่งบรรณาธิการ โดยส่วนหนึ่งเพื่อทำตามคำสัญญาของเขาที่จะทำเช่นนั้น สองสามปีหลังจากการริเริ่มซิติเซนเดียม และบางส่วนเนื่องมาจากการมีส่วนร่วมในโครงการที่ลดลงของแซงเจอร์

มาตราทั้ง 55 มาตราของกฏบัตรได้รับการจัดแบ่งออกไป 7 ส่วน (“สถานะพลเมืองและสถานะผู้แก้ไข” “เนื้อหาและรูปแบบ” “องค์กรและสำนักงาน” “นโยบายประชาคม” “พฤติกรรมและการแก้ไขข้อพิพาท” “ลักษณะการดำเนินการ” และ “มาตรการหัวเลี้ยวหัวต่อ”) ปัจจุบัน กระบวนการเสนอชื่อได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อค้นหาบุคคลมาทำหน้าที่บริหารจัดการตามกฏบัตร ประกอบด้วย สมาชิกสภาการจัดการ 5 คน สมาชิกสภาบรรณาธิการ 7 คน บรรณาธิการจัดการ และผู้ตรวจการ (Ombudsman) บทปรารภของกฏบัตรอธิบายซิติเซนเดียมว่าเป็น “ความพยายามร่วมมือกันที่จะเก็บรวบรวม จัดระเบียบ และบ่มเพาะความรู้และเพื่อแจกจ่ายความรู้โดยให้สาธารณะเข้าถึงได้อย่างสะดวกและไม่มีค่าใช้จ่าย โดยปราศจากคำว่า “สารานุกรม” มีข้อกังวลเกี่ยวกับคำประกาศกำกวมและการขาดการตรวจทานเนื้อหาในรุ่นสุดท้าย ตัวแซงเจอร์เอง ผู้ซึ่งมิได้มีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการร่างกฏบัตร ได้โต้แย้งเนื้อหาในหลายมาตรา รวมไปถึงบทความที่มีลักษณะเป็นงานวิจัยต้นฉบับและการโฆษณา และกล่าวถึงการไม่มีส่วนในกระบวนการร่างกฏบัตรว่า “ทุกสิ่งที่อย่างเช่นบัญญัติสิทธิซึ่งระบุถึงสิทธิของพลเมืองต่อพฤติการณ์และการลงโทษที่อยุติธรรม” ในการประกาศเมื่อเดือนกันยายน แซงเจอร์ยังได้วิพากษ์วิจารณ์กฏบัตรว่า “ขาดปัจจัยบังคับที่ว่าบทความจะต้องมีลักษระเป็นครอบครัวและเป็นมิตร” (เช่นในนโยบายความเป็นครอบครัวและเป็นมิตรปัจจุบันในซิติเซนเดียม) และเสริมว่า “มีบางสิ่งที่เป็นปมอย่างมากบนวิกิพีเดียที่ว่าไม่เป็นธุระอันใดในแหล่งข้อมูลที่จะเรียกตัวเองว่า ‘สารานุกรม’”

ถึงแม้ว่าจะมีการวิจารณ์ในรุ่นสุดท้าย แต่กฏบัตรจะได้รับความเห็นชอบอย่างท่วมท้น โดยสมาชิก 65 จาก 72 คนที่มีส่วนร่วม (ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้ซิทิเซนเดียมที่ยังแก้ไขอยู่มีจำนวนราว 100 คน ซึ่งได้แก่บัญชีผู้ใช้ที่ได้แก้ไขอย่างน้อยหนึ่งครั้งตามสถิติของซิติเซนเดียม) ครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการร่างกฏบัตร 8 คนได้ "ถูกถอดถอน" ก่อนหน้าการลงคะแนนเสียง และหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการที่เหลือ (รวมไปถึงเลขานุการสภาบรรณาธิการของซิทิเซนเดียม) ให้เหตุผลการตัดสินใจนี้ว่าเพื่อมิให้กระบวนการช้าไปมากกว่านี้ “ซิติเซนเดียมอยู่บนการสนับสนุนดูแลชีวิตอย่างเข้มข้น ฉันคิดว่ามันมีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ด้วยกฏบัตรที่ไม่สมบูรณ์พร้อม”

ในคำประกาศ แซงเจอร์แสดงความผิดหวังต่อ “รายงานที่เต็มไปด้วยความหวังและใจแคบเกี่ยวกับอันตรายของจุดจบของเรา” สังเกตว่า “อัตราการเข้าชมของเราได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผมเห็นว่ามีผู้คนใหม่ ๆ เข้าร่วมกับเราอย่างไม่หยุดยั้ง” อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่า “กองทุนสนับสนุนเซิร์ฟเวอร์ของซิทิเซนเดียมกำลังขาดแคลน” และแนะนำให้ประชาคมพิจารณาเกี่ยวกับตัวเลือกด้านการเงินและการดำเนินงานที่ถูกลง

สถิติการแก้ไขหน้าทั่วโลก

Erik Zachte ได้โพสต์บทวิเคราะห์การแก้ไข้หน้าบนวิกิพีเดียทุกภาษาแบ่งตามทวีป (บนบล็อก Infodisiac ของเขา ซึ่งเป็นไซต์ที่รวบรวมข้อมูลสถิติของวิกิมีเดีย) บทวิเคราะห์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับบทวิเคราะห์การเข้าชมหน้าทั่วโลกก่อนหน้านี้ โดยมีพื้นฐานจากการสุ่มตัวอย่าง 1 ใน 1,000 ของปูมสควิด และไม่นับรวมบอตและ web crawler ถึงแม้ว่าจะไม่เที่ยงตรงอย่างสมบูรณ์แบบ บทวิเคราะห์ดังกล่าวก็ได้แสดงให้เห็นกระแสของการแก้ไขหน้าที่สำคัญหลายประการ:

  • โดยเฉลี่ย โครงการมีเดียวิกิมีการเข้าชม 2,000 ต่อการแก้ไขในเดือนกรกฎาคม 2553
  • เมื่อเทียบรวมกับวิกิพีเดียทุกภาษา วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีสัดส่วนการเข้าชม 51% และสัดส่วนการแก้ไขหน้า 41%
  • บัญชีผู้ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป รัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอีกบางประเทศมีสัดส่วนการเจ้าชมทั้งหมดรวมการแก้ไข 81% คิดเป็น 46% ของประชากรอินเทอร์เน็ตของโลก และคิดเป็นเพียง 19% ของประชากรโลก
  • ในอินเดีย สัดส่วนการเข้าชม 94% และสัดส่วนการแก้ไข 78% ของทั้งหมดเป็นของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ

ข่าวสั้น

  • ชาววิกิพีเดียใช้แหล่งอ้างอิงอย่างไร: ผลงานซึ่งปรากฏในวารสาร อินฟอร์เมชันรีเสิร์จ (Where does the information come from? Information source use patterns in Wikipedia) รายงานผลการสำรวจทางเว็บซึ่งได้สำรวจชาววิกิพีเดียจำนวน 108 คนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2551 จากผลการสำรวจ ผู้สำรวจ อิสโต ฮูวิลา จำแนกชาววิกิพีเดียแบ่งตามการใช้แหล่งอ้างอิงออกได้เป็น 5 ประเภท (เช่น ส่วนใหญ่จะค้นหาแหล่งอ้างอิงแบบออนไลน์หรือไปห้องสมุด): “มือสืบสวน” “Surfers” “ผู้ช่ำชองโลก” “ผู้คงแก่เรียน” และ “ผู้แก้ไข”
  • แบบสำรวจความคิดเห็นของบทความเริ่มใช้งาน: อุปกรณ์แบบสำรวจความคิดเห็นของบทความนำร่องได้เริ่มทดลองใช้แล้วในฐานะส่วนหนึ่งของการริเริ่มนโยบายสาธารณะ โดยมีเป้าหมายที่จะ “จับความคิดเห็นจากผู้อ่าน” อุปกรณ์แบบสำรวจความคิดเห็น ซึ่งประกอบด้วยแถบ “คล้ายเทอร์โมมิเตอร์” ณ ล่างสุดของบทความ เปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถตัดสินให้คะแนนบทความจากคุณภาพการอ้างอิง ความสมบูรณ์ ความเป็นกลางและความน่าอ่าน โดยมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 รุ่นนำร่องครอบคลุมราว 450 บทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมดูแลของโครงการวิกินโยบายสาธารณะสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากการเพิ่มหนทางใหม่ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านเกี่ยวกับคุณภาพของวิกิพีเดียแล้ว นโยบายสาธารณะยังได้ทดลองด้วยระบบดั้งเดิมในการสำรวจความคิดเห็นของผู้แก้ไขอีกด้วย
  • การริเริ่มความร่วมมือของบัญชีผู้ใช้: มูลนิธิวิกิมีเดียเริ่มโครงการปรับปรุงการสร้างบัญชีผู้ใช้ โดยกล่าวว่า “การสร้างบัญชีผู้ใช้ดูไม่ค่อยเชื้อเชิญ บ่อยครั้งมันดูซับซ้อน ใช้กำลังขู่เข็ญ และมันไม่มีการติดตาม ไม่เป็นที่แน่ชัดถึงประโยชน์ของการสร้างบัญชีผู้ใช้” มีเพียง 31% ของผู้ใช้ใหม่บนวิกิพีเดียที่เคยแก้ไขอย่างน้อย 1 ครั้ง (ตามปูมที่ได้จากอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์เมื่อเดือนสิงหาคม) ปัจจุบัน การริเริ่มกำลังระดมแนวคิดและหาผู้เข้าร่วมโครงการและข้อมูล

ที่มา:

หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ