วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การเขียนทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื่องจากมีบทความที่เกี่ยวข้องกับภาษาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก มีอักษรบางตัวที่ยังไม่มีความชัดเจนคือ  หรือ เช่นคำว่า Tsunami เราเขียนกันว่า สึนะมิ แต่ในบทความอักษรคะนะ ระบุไว้เป็น ทซึ ขอความเห็นให้เป็นมาตรฐานปฏิบัติว่าควรเขียนอย่างไร (ทุกวันนี้ผมก็ตามคำว่า สึนะมิ เป็นหลัก) ปัญหาจะเกิดเมื่อเป็นคำแรกของประโยคหรือชื่อ หากเป็นตัวถัดไปเห็นเขียนมี ท หรือ ต ประกอบกันหมดซึ่งถูกต้องอยู่แล้ว ต่อไปควรเขียนอย่างไรดี--Sasakubo1717 18:04, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)

  • มีหลักของราชบัณฑิตฯ ซึ่งอิงโรมะจิ ถ้าตามหลักของราชบัณฑิตฯ คงไม่มีปัญหาว่า จะใช้ "ทซึ" หรือ อะไร เป็นต้นครับ
  • เรื่อง "สึนะมิ" นั้น ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "สึนามิ" ตามความนิยม มีคำอธิบายของ นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตฯ อยู่ในเว็บ (TSUNAMI อีกครั้ง (๑) และ TSUNAMI อีกครั้ง (๒) ลองอ่านดูครับ น่าสนใจ เพราะมีเรื่องการทับศัพท์ในแง่อื่น ๆ ด้วย)
--Aristitleism 18:18, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
ป.ล. โรมะจิของสึนามินั้นคือ tsunami --lux2545 | พูดคุย (โพสต์) 18:20, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
  • ที่เขายกตัวอย่างมามีสองอย่างที่กล่าวถึง เช่น Mitsubishi กรณีนี้ไม่มีปัญหาแน่นอน คำที่มีปัญหาก็คือ พวกที่ขึ้นต้นตัวแรก เช่น Tsunami ซ โช่ หรือ ส เสือ ไม่ใช่สาระสำคัญ เช่นเดียวกับ ต/ท ,ก/ค ทดแทนกันได้อยู่แล้ว อยากให้มีข้อสรุปว่าควรจะเขียนอย่างไรดี จะเอา ท ทหาร มาใส่ไว้หรือไม่ หรือ จะ ส เสือ ซ โซ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง การแก้ไขบทความจะได้เป็นแนวทางเดียวกัน ตัวอักษรตัวนี้แปลกที่ในภาษาไทยจริงๆ เวลาอยู่พยางค์แรกเหลือตัวเดียว พอไปอยู่พยางค์หลังเพิ่มมาอีกตัวซะงั้น --Sasakubo1717 19:03, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
ในหลักราชบัณฑิตฯ ก็ว่าไว้ไงครับว่า tsu = สึ เสมอ ไม่ว่าอยู่ตำแหน่งไหน (เช่น tsundere = สึนเดะเระ, หรือ natsu = นะสึ), ต้อง -ttsu ถึงจะเป็น ตสึ (เช่น mittsu = มิตสึ) ควรเป็นที่ยุติแล้ว --Aristitleism 19:08, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
 ความเห็น ชื่อยังคงเดิม ตามหลักการตั้งชื่อบทความ (ชื่อ สึนามิ เป็นชื่อนิยม) แต่ขอให้ใส่แม่แบบ {{RTGS-ja}} แล้วในแม่แบบขอให้เขียนว่า สึนะมิ --lux2545 | พูดคุย (โพสต์) 19:33, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
ปัญหานี้มันเกิดขึ้นเพราะว่า ไม่มีเสียง /t͡s/ (และ /d͡z/)ในภาษาไทย ซึ่งญี่ปุ่นสามารถออกเสียงให้ต่างจาก /s/ (และ /z/) ได้ มันจึงควรเป็นพยัญชนะตัวเดียว ไม่ควรเอาตัวสะกด ท/ต ออกมา ถ้าลองเทียบกับเสียง ช/จ แบบไทย = /t͡ɕ/; หรือ ช แบบอังกฤษ = /t͡ʃ/ มันก็เป็นพยัญชนะตัวเดียวเหมือนกัน เมื่อนำมาใช้ก็ไม่ได้เอา ท/ต ออกมา ฉันใดก็ฉันเพล --octahedron80 19:35, 11 ธันวาคม 2554 (ICT)
  • ไม่มีอะไรมากสำหรับหัวข้อนี้ครับ เพียงแต่ต้องการแนวทางปฏิบัติสำหรับตัวขึ้นต้นเท่านั้นที่เป็นปัญหา (สำหรับผม) ในอนาคตจะได้เป็นแนวทางเดียวกัน (หากอยู่หลังไม่ต้องพิจารณา ง่ายอยู่แล้ว)--Sasakubo1717 18:04, 13 ธันวาคม 2554 (ICT)
สรุป
  1. หลักของราชบัณฑิตฯ ยังคงใช้อยู่ได้ไม่มีปัญหา
  2. ปัญหาอยู่ที่บทความคะนะ ซึ่งอาจทำให้สับสน
    • ควรเขียนลงไปในบทความว่าเป็นเสียงอ่าน ไม่ใช่วิธีการถอดอักษรคะนะเป็นตัวอักษรไทย
    • บทความดังกล่าวเป็นเพียงโครง ขาดการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ถ้าให้เร็วก็แปลเอาจากบทความภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นอาจต้องเรียบเรียงเองจากเอกสารที่เกี่ยวข้องที่เป็นภาษาไทยด้วย (เพราะเรากำลังพูดถึงเสียงอ่านที่เขียนเป็นอักษรไทย - บางตำราจะสอนว่าเสียงคะนะอยู่ระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวในภาษาไทย - ก็ควรเอาตำราที่ว่านั้นมาอ้างด้วย)

--taweethaも 16:52, 14 ธันวาคม 2554 (ICT)

รับทราบ และถือเป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต --Sasakubo1717 17:00, 14 ธันวาคม 2554 (ICT)

มีข้อยกเว้น คือบทความการ์ตูน บทความภาพยนตร์ ชื่อบริษัท วิดีโอเกมผลิตโดยญี่ปุ่นแต่อิงภาษาอื่น ชื่อนักมวยไทย บางรายที่มีชื่อทางการ หรือจดทะเบียนในประเทศไทย หรือชื่อนิยมอย่างเช่น โตเกียว หรือ กีฬาต่อสู้บางอย่าง ระวังเผลอทับศัพท์ด้วยนะครับ --B20180 09:36, 15 ธันวาคม 2554 (ICT)

ในหลักทั่วไปของวิกิพีเดียยอมรับเรื่องวิสามานยนามอยู่แล้ว แต่เพื่อความชัดเจนผมเพิ่มข้อยกเว้นให้ชัดเจนลงในหน้าทับศัพท์ญี่ปุ่นแล้ว (อาจใส่ตัวอย่าง 1-2 ตัวอย่างด้วยก็ได้ คุณ B20180 เลือกมาใส่เองได้เลย)

--taweethaも 12:10, 15 ธันวาคม 2554 (ICT)