วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มาของสำนวนเปรียบเทียบ

ที่มาของสำนวนเปรียบเทียบ --1.47.136.155 17:12, 7 กุมภาพันธ์ 2558 (ICT)

ส่วนมากเกิดจากเหตุการณ์จริง ผู้คนที่พบเห็นก็เอาผลกระทบของเหตุการณ์นั้นมาเปรียบเปรย แล้วพูดกันมาปากต่อปาก กลายเป็นสำนวน เช่น ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สมัยก่อนคงมีคนทำแบบนั้น คือตำน้ำพริกมากเกินไป แล้วรับประทานไม่หมด จนต้องทิ้งแม่น้ำ และคนอื่นมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ต่อมาจึงเกิดสำนวนดังกล่าวขึ้นหมายถึงการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ --奥虎 ボンド 11:51, 2 เมษายน 2558 (ICT)

เรื่อง ชนิดภาษา

คุณคิดว่าภาษาไหนจำเป็นกับการเรียนการสอนมากกว่ากันในสมัยนี้ ระหว่าง ภาษาญี่ปุ่น กับ ภาษาพม่า --171.96.182.203 18:22, 19 มีนาคม 2558 (ICT) (คนเดียวกับ ผู้ใช้:Awksauce)

ภาษาต่าง ๆ มีความจำเป็นในแง่ของการสื่อสาร ขึ้นอยู่กับจิตพิสัยของคน ถ้าคนต้องการสื่อสารกับคนพม่า เข้าใจภาษาพม่า ก็ต้องใช้ภาษาพม่า ถ้าคนต้องการสื่อสารกับคนญี่ปุ่น เข้าใจภาษาญี่ปุ่น ก็ต้องใช้ภาษาญี่ปุ่น หรือใช้ภาษาสากลซึ่งสามารถสื่อสารได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบได้ว่าภาษาใดสำคัญหรือจำเป็นกว่าภาษาใด แต่สำคัญตรงที่เรียนแล้วได้นำไปใช้หรือเปล่า --奥虎 ボンド 11:27, 2 เมษายน 2558 (ICT)

ปัญหาภาษาไทย

คำที่มีไม้เอกทุกคำไม่ปนพยัญชนะตัวอื่นได้ไหมครับ --ไฟล์:Verndl rifle.jpg สุกี้พระนายกอง

ไม่เข้าใจคำถาม บอกได้เพียงว่า วรรณยุกต์ต้องอยู่เหนือพยัญชนะต้นตัวสุดท้ายเสมอ --奥虎 ボンド 12:38, 21 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)

Grammar

Grammar (หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ) คืออะไร? ทำไมคนไทยถึง ให้ความสำคัญ

--Ergzato (พูดคุย) 17:58, 6 มิถุนายน 2558 (ICT)

grammar เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ แปลว่า ไวยากรณ์ มีความหมายทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษ ทุกภาษามีไวยากรณ์ของตนเอง ไวยากรณ์สำคัญเพราะจุดประสงค์ให้สามารถสื่อสารได้ตรงกับความหมายแท้จริงที่จะสื่อ หากวางศัพท์ผิดลำดับโครงสร้าง ความหมายก็ผิดไป บางภาษามีการผันคำ หากผันผิดความหมายก็จะผิดเช่นกัน ในภาษาพูดแม้ไม่ตรงตามไวยากรณ์ก็สามารถเข้าใจได้ ถึงจะผิดเพี้ยนไปบ้างก็ตาม แต่ในภาษาเขียน โดยเฉพาะภาษาทางการ การเขียนผิดไวยากรณ์จะทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง และอาจเกิดผลกระทบที่รุนแรงกว่านั้นก็ได้ --奥虎 ボンド 13:20, 21 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)

Thai script (and customs)

Dear Thai wikipedians, we long for having the Thai letters on the brick translated. Is it a usual custom when financing a religious building or may it refer to each of two people going to marry? Looking forward to your response, Petra and --Der Geo-Graf (พูดคุย) 02:40, 26 สิงหาคม 2558 (ICT)

What does it mean?

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Der Geo-Graf (พูดคุยหน้าที่เขียน) 02:40, 26 สิงหาคม 2558 (ICT)

Nothing special. Just the name of a woman ("Nangsao Naruemon Pakkaranang" – "Nangsao" is a female title, roughly equivalent to "Miss"; "Naruemon" is the first name; "Pakkaranag" is the last name) is written there. I have never heard of such a custom in Thailand. Maybe it was just an act of vandalism; some Thais (such as schoolboys, youngsters, etc.) just love writing their names or any other thing on/at public buildings, public toilets, public tables, public chairs, etc. --YURi (พูดคุย) 04:07, 26 สิงหาคม 2558 (ICT)

It is unusual to write the full name (name and surname) when vandalising, so I really think someone pranked her. If this is from a Thai temple, and many names are visible, it is possible that donators wrote the names on some bricks. --Love Krittaya (พูดคุย) 04:23, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)