วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/ผู้สมัคร/Taweetham/คำถาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนะนำให้ผู้สมัครตอบคำถามทุกข้ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์แต่ก็สั้นกระชับไปในขณะเดียวกัน ผู้สมัครอาจปฏิเสธจะตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่ตนไม่ปรารถนา อย่างไรก็ดี การปฏิเสธไม่ตอบคำถามใด ๆ นั้นอาจมีผลต่อการพิจารณาการรับเลือกคณะอนุญาโตตุลาการได้ ทั้งนี้การเปิดเผยประวัติบัญชีของคุณ (ถ้ามี) ตามนโยบายการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ต้องระบุไว้ในคำแถลงสมัคร และไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่ระบุบัญชีผู้ใช้อื่นที่มีหรือไม่เคยมีได้

ทั่วไป[แก้]

  1. คำถามเกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ (Skills and Experience)
    1. คุณคิดว่าจะนำทักษะและ/หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกวิกิพีเดียใดบ้างมาใช้ในการดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ
      • อยู่ในคำแถลงข้อ 1 (ประสบการณ์) และข้อ 2 (ทักษะ) --taweethaも 22:00, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    2. คุณเคยประสบกับกรณีการระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียหรือไม่ หากเคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทดังกล่าว กรุณาลิงก์ไปหาข้อพิพาทดังกล่าว หรือหากไม่ได้เข้าร่วมในกรณีข้อพิพาทนั้น กรุณาให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นและวิธีระงับข้อพิพาทที่คุณจะใช้
      • ห้ามทัพแบบมีคู่กรณีเป็นผู้ร้องและผู้ถูกร้องอย่างเป็นทางการยังไม่เคยมี แต่ก็ช่วยทุกเรื่องที่พอจะช่วยได้ เช่น กรณีภาพลักยิ้มที่ Commons กรณีมีผู้ใช้วิกิพีเดียไทยทำโครงการ/เขียนการบ้าน กรณีบั้งไฟพญานาค ฯลฯ --taweethaも 22:00, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
  2. คำถามเกี่ยวกับข้อตัดสิน (Strict vs. lenient)
    1. ในกรณีการพิจารณาข้อพิพาท คุณมีความเห็นอย่างไรในการวินิจฉัยคำตัดสิน ระหว่างการตัดสินโดยยึดหลักเจตนาดี โดยการจำกัดมาตรการสถานเบาเพื่อให้ผู้ใช้กลับตัวกลับใจ กับการลงโทษสถานหนักโดยการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลหรือถอดจากสถานะที่เคยมี เช่น ผู้ดูแลระบบ โปรดให้เหตุผลประกอบความเห็นของคุณด้วย
      • ผมตีความว่า WP:AGF ในกระบวนการยุติธรรมก็คือ Ei incumbit probatio qui dicit, non qui negat หรือ innocent until proven guilty (ดูเพิ่มที่ en:Presumption of innocence) --taweethaも 22:17, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • คำว่าโทษในทางอาญาของไทยมีห้าสถานอันได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กังขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ป. อาญา มาตรา 12 --taweethaも 22:17, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • โทษ หรือ มาตรการสกัดกั้นทางเทคนิคในวิกิพีเดียมีเพียงสองสถานได้แก่ การสกัดกั้น (block) การถอดถอนจากสถานะ (admin/bot/autoconfirmed/ไอพียกเว้น ฯลฯ) แต่ยังมีมาตรการทางสังคมที่แล้วแต่จะกำหนดขึ้นด้วย เช่น ไม่ให้เข้าไปแก้ไขบทความดังกล่าวเป็นระยะหนึ่ง หรือ ประณามต่อสาธารณะ --taweethaも 22:17, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • ผมเชื่อว่าโทษมีไว้เพียงไว้ป้องปรามไม่ให้มีการกระทำผิด มิใช่เพื่อแก้แค้นหรือสร้างความสาแก่ใจแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จึงควรใช้เท่าที่จำเป็นและสมควรแก่เหตุ โดยดูที่เจตนาของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ (โดยทั่วไปกรรมเป็นเครื่องบ่งเจตนา) สำหรับการก่อกวนไม่มีเหตุสมควรต้องปราณีพึงลบและสกัดกั้นโดยเร็ว แต่ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนสองฝ่ายพึงแก้ด้วยการเจรจาและสร้างมิตรภาพระหว่างสองฝ่าย หาจุดยืนที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการสกัดกั้นทางเทคนิคที่ไม่จำเป็น --taweethaも 22:17, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • ผมเชื่อว่า ตุลาการ ก็คือ ตุลาการ มิใช่ตำรวจ อัยการ กรมราชทัณฑ์ หรือ กรมบังคับคดี ดังนั้น (1) หากไม่มีใครชงมาก็ตัดสินไม่ได้ (2) ชงมาอย่างไร ก็ตัดสินได้ตามที่ชง (3) ตัดสินไปแล้วก็ต้องช่วยกันสอดส่องบังคับให้เป็นไปตามคำตัดสิน ในโลกนี้มีเพียงเปาบุ้นจิ้นในตำนานเท่านั้นที่ทำทุกหน้าที่ตั้งแต่ตำรวจ อัยการแผ่นดิน รวมถึงบังคับคดีให้บังเกิดผล --taweethaも 23:06, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • ความคาดหมายที่ว่ามีอนุญาโตตุลาการแล้ว ทุกอย่างจะสำเร็จรูปเป็นความคาดหมายที่ไม่ถูกต้อง จากหลัก innocent until proven guilty และการบวนการพิจารณาข้างต้น ย่อมมีผู้กระทำผิดหลุดรอดการดำเนินการไปได้ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้คนดีถูกลงโทษ ผมเชื่อว่าในฐานะตุลาการเรายอมปล่อยให้ฆาตกรลอยนวลไป 100 คน ดีกว่าปล่อยให้ผู้บริสุทธิ์ 1 คนเป็นแพะถูกประหาร --taweethaも 23:10, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • ผมเชื่อว่า ผู้ใช้วิกิพีเดียมีสิทธิ์ใช้ "plead the Fifth" (en:Self-Incrimination_Clause) ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ด้วย ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้วิกิพีเดีย --taweethaも 09:34, 4 ธันวาคม 2554 (ICT)
  3. ในกรณีพิจารณาข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธที่จะตอบคำถามหรือแสดงหลักฐานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีฝ่ายตน คุณจะตัดสินข้อพิพาทนี้โดยยืดหลักประการใด ระหว่างการตัดสินให้เป็นผลดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหา กับการตัดสินโดยใช้หลักว่าหากคู่พิพาทปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน อนุญาโตตุลาการไม่มีสิทธิ์จะยกกรณีที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นมานั้นขึ้นมาพิจารณา
    • ตามแนวกฎหมายไทย ในคดีแพ่งศาจจะไม่ยกเอาเรื่องอายุความขึ้นมาพิจารณาถ้าจำเลยไม่ยกเป็นข้อต่อสู้ ในขณะที่คดีอาญาศาลจะยกเอาอายุความหรือประเด็นอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยขึ้นมาพิจารณาก็ได้ --taweethaも 22:25, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • เช่นเดียวกันในวิกิพีเดียไทย หากเป็นความอาญา (ดูข้างบนว่าโทษทางอาญาคืออะไร) นั่นคือจะมีการสกัดกั้นหรือทำให้ผู้ถูกร้องต้องเสียไปซึ่งสิทธิและ/หรือชื่อเสียง ผมเชื่อว่าอนุญาโตตุลาการอาจยกข้อต่อสู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องมาพิจารณาด้วยก็ได้ --taweethaも 22:25, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
  4. หากมีการพิจารณาข้อพิพาท และมีคำตัดสินว่าบทความใดบทความหนึ่งอยู่ระหว่างการคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ (Article probation) ผู้ใช้ที่เพิ่มเนื้อหาหรือนำเนื้อหาออกโดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมจะถูกพิจารณาโทษแล้วแต่กรณี คุณคิดว่ามาตรการนี้จะขัดต่อความเป็นเสรีของวิกิพีเดียหรือไม่ ประการใด โปรดให้เหตุผล
    • มาตรการดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพแน่นอน แต่เป็นสิ่งพึงกระทำได้ เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและได้รับการรับรองจากชุมชนแล้ว (ดูรัฐธรรมนูญ ม.29 การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้จะกระทำมิได้เว้นแต่โดย ...) --taweethaも 22:35, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
  5. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดียภาษาไทย (ซึ่งรับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ยกตัวอย่าง (ต้องการให้ระบุเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนที่ว่าด้วยขั้นตอน ส่วนที่ว่าด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ) หากคุณเห็นด้วย คุณมีวิธีดำเนินการตามนโยบายนั้นอย่างไร หากคุณไม่เห็นด้วย คุณคิดว่านโยบายนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด
    • ในเบื้องต้นนี้เห็นด้วยในหลักการ ต้องทดลองใช้ไปก่อนแล้วค่อยแก้ไขกันไป อันกฎ ระเบียบ วินัยต่างๆ ไม่ใช่จะนั่งเทียนเขียนกันขึ้นมา ทั้งหมดล้วนเกิดจากมีกรณีต้นเหตุ จากกรณีต้นเหตุจึงกลายเป็นตัวถ้อยคำข้อห้าม โทษ และวิธีการพิจารณาสืบสวนและลงโทษ ปัจจุบันยังไม่เคยใช้งานก็ยังไม่อาจรู้ได้ แต่การเรียนรู้จากประสบการณ์ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็เป็นทางลัดที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เช่นเดียวกับกฎหมายไทยสมัยที่ลอกมาจากนานาอารยประเทศ (ส่วนที่คิดเองเห็นจะมีแต่อุทลุม และรัฐธรรมนูญมาตรา 17 ในระบอบสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส-ณรงค์ เป็นอาทิ) --taweethaも 22:35, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
  6. คุณคิดว่าข้อพิพาทประเภทใดที่คุณจะรับหรือไม่รับไปพิจารณา เพราะเหตุใด
    • รับพิจารณาเมื่อมีมูลเหตุควรพิจารณาต่อไปได้และเป็นประโยชน์ต่อวิกิพีเดียไทย --taweethaも 22:40, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • ไม่รับพิจารณาเมื่อไม่เป็นประโยชน์ต่อวิกิพีเดียไทย โดยอ้างเหตุเช่น [1] ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจ (jurisdiction) [2] คำขอท้ายคำร้องคลุมเครือ ไม่ระบุให้ชัดว่าร้องมาต้องการสิ่งใด หรือสิ่งที่ร้องมานั้นไม่อยู่ในอำนาจที่จะทำได้ ฯลฯ --taweethaも 22:40, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
  7. คุณคิดว่าจะดำเนินบทบาทอย่างไร เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีบทบาทแทนการตัดสินแบบเก่าโดยผู้ดูแลระบบ (มูลเหตุของคำถาม เพราะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ยุติลงโดยผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก)
    • ไม่เชื่อว่าเป็นการทดแทน ผู้ดูแลระบบยังทำหน้าที่เหมือนเดิม ยังเก็บกวาดกรณีมโนสาเร่ (คดีมโนสาเร่ในประเทศไทยหมายถึงคดีไม่มีผู้ถูกร้องหรือทุนทรัพย์น้อย) ได้ต่อไป แต่กรณีที่มีความซับซ้อนหรือเกิดถูกอุทธรณ์ขึ้นมา ก็จะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมากขึ้นโดยอนุญาโตตุลาการ และแนวการพิจารณาอาจยึดถือใช้ต่อไปโดยผู้ดูแลระบบ (ผู้ดูแลระบบประหนึ่งศาลชั้นต้น ในขณะที่อนุญาโตตุลาการประหนึ่งศาลสูงขั้นสุดท้าย) --taweethaも 22:44, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)

คำถามส่วนบุคคล[แก้]

คำถามจากคุณ Sasakubo1717[แก้]

  1. เหล่าบทความแปล (โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับประเทศไทยหรือบุคคลที่เป็นคนไทย) มาจากแหล่งอ้างอิงภาษาต่างประเทศ ซึ่งอาจมีหลากหลายภาษา (พบหลายบทความที่ถกเถียงกัน) ผู้ร่วมแก้ไขบทความแปลไปคนละแนวทาง แม้ความหมายใกล้เคียงกันแต่เมื่อแปลเป็นไทยแล้ว ความหมายอาจเพี้ยนไปจากความเป็นจริง อาจส่งผลดีหรือเสียแก่บุคคลที่ถูกกล่าวถึง ผู้ร่วมแก้ไขทำสงครามแก้ไขกัน หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มีแนวทางพิจารณาอย่างไร--Sasakubo1717 22:35, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • บทความเกี่ยวกับบุคคลมีนโยบายอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว en:WP:LIVE --taweethaも 22:50, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • สำหรับบทความเกี่ยวกับประเทศไทยหรือคนไทย ผมไม่เชื่อว่าการแปลจะให้บทความที่มีคุณภาพดีที่สุด ทางที่ดีควรจะเรียบเรียงใหม่จากเอกสารชั้นต้นที่เป็นภาษาไทย --taweethaも 22:50, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)
    • กรณีที่มีความขัดแย้งกันของคำแปล ควรค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวว่าที่จริงแล้วบุคคลนั้นผู้ว่าอย่างไร ราชกิจจานุเบกษามีข้อความเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นว่าอย่างไร (ไม่เพียงกฎหมายเท่านั้น การตอบกระทู้ในสภาก็มีลงในราชกิจจานุเบกษาด้วย) --taweethaも 22:50, 3 ธันวาคม 2554 (ICT)