วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/ดัชนี/การบล็อกไอพีก่อกวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบล็อกไอพีก่อกวน[แก้]

ตั้งแต่ปีใหม่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมามีการก่อกวนจำนวนมากจากไอพี (ผู้ใช้ที่ไม่ลงทะเบียน) บทความที่ถูกก่อกวนส่วนใหญ่เป็นบทความการ์ตูนญี่ปุ่น (รวมทั้งขบวนการห้าสีและมาสก์ไรเดอร์) นักพากย์ ดารา พิธีกร และลามไปถึงบทความอื่น ๆ ลักษณะการก่อกวนคือเขียนเล่นไร้สาระ ไร้ประสีประสา (childish nonsense) ลบข้อมูลออกโดยไร้เหตุผล เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นเท็จบ้าง ลักษณะคล้ายกันและมีความเชื่อมโยงกัน จึงสามารถสรุปได้ว่าไอพีต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นบุคคลเดียวกัน ผู้ใช้หลายคนเคยตักเตือนไปแล้วแต่ก็ยังคงกระทำเช่นเดิมอยู่ มาตรการสกัดกั้นในช่วงแรก ๆ ก็ทำเหมือนที่เคยปฏิบัติมานั่นคือ เมื่อไอพีหนึ่งก่อกวนบทความจำนวนมาก ก็ถูกบล็อกไปตามระยะเวลาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และบทความที่ถูกก่อกวนบ่อย ก็ถูกล็อกมิให้แก้ไขตามระยะเวลาเช่นกัน ตามการร้องขอของผู้ใช้

แต่มีข้อสังเกตเพิ่มขึ้นว่า การก่อกวนดังกล่าวเป็นการกระทำมาจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้ให้บริการ 3BB (ทริเปิลทรี บรอดแบนด์) ซึ่งหมายเลขไอพีจะเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 24 ชั่วโมง เพื่อจัดสรรหมายเลขไอพีใหม่ให้ลูกค้ารายอื่น ผมจึงเห็นควรว่าการบล็อกไอพีสามารถกระทำได้เต็มที่เพียง 1 วันเท่านั้น เพราะถ้าหากบล็อกไอพีด้วยระยะเวลามากกว่าหนึ่งวัน ผู้ใช้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบเนื่องจากการจัดสรรไอพีใหม่ทุก 24 ชั่วโมง ผู้ใช้ Taweetham ซึ่งเป็น คอต. และผู้ตรวจสอบผู้ใช้ด้วย เสนอว่าน่าจะบล็อกไอพีทั้งช่วง แต่ผมไม่เห็นด้วยเนื่องจากเหตุผลเดียวกัน

Taweetham จึงเสนออีกว่าควรติดต่อไปที่ผู้ให้บริการในฐานะผู้ตรวจสอบผู้ใช้ โดยร้องขอให้สกัดกั้นผู้ใช้ก่อกวนรายนั้นไม่ให้เข้าถึงวิกิพีเดีย แล้วให้ผู้ให้บริการดำเนินการสกัดกั้นเอง สิ่งนี้จะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมหลักฐานประวัติการก่อกวน ซึ่งประกอบด้วย หมายเลขไอพี วันเวลาที่ใช้งาน ความเชื่อมโยงลักษณะการก่อกวน ให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งนโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ (checkuser) อนุญาตให้กระทำได้ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกอาทิ ชื่ออะไร อาศัยอยู่ที่ไหน เข้าถึงจากที่ใด หรือใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยแค่ไหน เป็นต้น ที่อาจได้รับมาต่อสาธารณชน เนื่องจากขัดต่อนโยบายผู้ตรวจสอบผู้ใช้เรื่องการเปิดเผยไอพี อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ก็อาจไม่ได้ผลถ้าหากผู้ให้บริการ 3BB ไม่ให้ความร่วมมือ ก็จำต้องใช้มาตรการบล็อก 1 วันเช่นเดิม --octahedron80 16:36, 8 มีนาคม 2555 (ICT)


  1. เห็นด้วยกับนโยบาย 1 วัน กรณีเป็นไอพีของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ และไอพีนั้นใช้แจกเวียนไป (มีหลายกรณีที่ผู้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะให้ fixed IP) หากพบว่าไม่มีการหมุนเวียนไอพีหรือพบว่าอัตราส่วนการแก้ไขเจตนาดีจากไอพีนั้นต่ำกว่า 1% และไม่มากกว่า 10 ครั้งต่อเดือน สมควรเป็นเหตุให้บล็อกได้มากกว่าหนึ่งวัน (อาจกแยกพิจารณากรณีล็อกอินและไม่ล็อกอินด้วย เพราะการบล็อกสามารถแยกแยะระหว่างผู้ใช้ล็อกอินและไม่ล็อกอินจากไอพีเดียวกันได้)
  2. เห็นว่าควรพิจารณาแจ้งเป็นกรณีไป ไม่จำกัดว่าเป็น ISP อาจเป็นสถานศึกษาหรือองค์กรที่ปรากฏตามฐานข้อมูลไอพี และไม่จำกัดว่าอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ (แต่กรณีต่างประเทศ หากมีการก่อกวนในโครงการของวิกิมีเดียภาษาอื่นด้วยสามารถร้องขอให้เมต้ายื่นมือเข้าช่วยดำเนินการแทน - ทั้งการบล็อกและการแจ้ง)

--taweethaも (พูดคุย) 11:53, 12 มีนาคม 2555 (ICT)


นายทะเบียน

จริงอยู่ครับว่าแม้เราจะสามารถติดต่อ ISP เพื่อตรวจสอบ Backtrace IP แต่สิ่งที่ผมมีข้อสงสัย มีอยู่ว่า

  1. คำว่าให้ ISP ช่วยตรวจสอบ จะให้ช่วยตรวจสอบในส่วนใด ส่วนของ Technical Info หรือ Backtrace ไปยังตัวผู้ใช้
  2. ความเสียหายต่อวิกิพีเดียไทย จะมีมูลมากพอที่จะให้ ISP เปิดเผยข้อมูล หรือกระทำการใด ๆ เพื่อยับยั้งความเสียหายหรือไม่ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ (ตามนัยของกฎหมายคอมฯ) ที่ ISP จะต้องส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องทุกข์ให้หรือช่วยบรรเทาความเสียหาย

สำหรับประเด็นว่า CheckUser จะเปิดเผยข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด โดยปกติการเปิดเผยข้อมูลจาก CheckUser ทำได้แค่บอกว่าใช่หรือไม่ใช่เครือข่ายเดียวกัน/คนเดียวกัน (สำหรับ Request ปกติ) เว้นแต่ว่าข้อมูลนั้น ๆ จำเป็นต้องเปิดเผยด้วยเหตุ

  • (a) กฎหมาย
  • (b) เกี่ยวกับสไปเดอร์หรือบอตจัดอันดับ
  • (c) เกี่ยวกับการก่อกวน
  • (d) ปกป้องมูลนิธิวิกิมีเดียหรือสังคมโดยรวม

ซึ่งเมื่อพิจารณาหมายเหตุตาม (c) CheckUser สามารถส่งข้อมูลจากการตรวจสอบไปขอให้ทาง ISP ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือช่วยสืบต้นตอที่มาได้ครับ แต่ข้อมูลนั้นจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ (เช่น จะเขียน CheckUser Data บนหน้าวิกิไม่ได้) จะต้องเปิดเผยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น --∫G′(∞)dx 11:55, 3 มีนาคม 2555 (ICT)


คุณจียังเข้าใจผิดอยู่มาก เราไม่ได้ให้ขอให้ ISP ช่วยตรวจสอบหรือเปิดเผยข้อมูลกลับมาที่วิกิพีเดีย แต่เราส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วไปให้ ISP เพราะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ และขอให้ ISP ดำเนินการกับผู้ใช้รายนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นบล็อกไม่ให้ใช้งานวิกิพีเดียเป็นต้น ในการนี้ ISP อาจรับเรื่องหรือไม่รับเรื่องก็ตาม อาจทำตามการร้องขอหรือไม่ก็ตาม เราไม่มีอำนาจสั่งให้ ISP ทำตามเรา และก็ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องไปทำอะไรนอกเหนือจากวิกิพีเดีย --octahedron80 14:39, 18 มีนาคม 2555 (ICT)


นายทะเบียน

(1) ผมไม่ใช่ตุลาการ ความเห็นที่ผมว่าด้านบนเป็นการตอบคุณ Taweetham ที่ติดต่อทางหน้าพูดคุยในฐานะผู้ใช้ทั่วไป ไม่ใช่ในฐานะตุลาการ จึงอาจไม่จำเป็นต้องยกขึ้นมาใช้ประกอบการพิจารณาเพราะมิได้กระทำในฐานะตุลาการ เว้นแต่จะใช้เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนเหตุอื่นอันตุลาการจะพิจารณาต่อไป

(2) แต่ผมมองว่าการจะหยุดการก่อกวน ก็ต้องหยุดที่คน (ถึงมองในกรณี Backtrace ไปหา identifiable person ครับ ส่วนเขาจะทำอย่างไรต่อก็อีกเรื่อง จะเปิดเผยข้อมูลทางเขามาให้วิกิพีเดียไทยหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่แม้จะทำ backtrace อย่างนั้นได้ก็จริง จะไปขัดต่อนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของมูลนิธิและผู้ให้บริการเอา) จึงได้แต่เสนอการ Backtrace ไป เมื่อกรณีมันทำไม่ได้ ก็ตกเป็นพับไปครับ

(3) สิ่งที่ผมเป็นกังวลมีอยู่ว่า ISP จะมองว่ากรณีนี้เพียงพอต่อการระงับความเสียหายหรือไม่ อย่างไร --∫G′(∞)dx 22:02, 19 มีนาคม 2555 (ICT)


เห็นด้วยกับคุณ octahedron80 เรื่องการบล๊อคเพียง 1 วัน ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว คือมิให้กระทบแก่บุคคลภายนอกผู้สุจริต สำหรับประเด็นเรื่องการแจ้งไปยังผู้ให้บริการ (ISP) ซึ่งหลายท่านเกรงว่าจะได้รับความร่วมมือหรือไม่นั้น ผมเห็นว่าในเมื่อเสนอให้กำหนดมาตรการบล๊อคเป็นมาตรการหลักแล้ว เราก็ยังสามารถดำเนินมาตรการแจ้งผู้ให้บริการไปพร้อมกันด้วยได้ ส่วนจะได้รับความร่วมมือรือไม่อย่างไรนั้น เราก็ควรจะหาวิธีการที่ดีกว่าในภายหลังได้ ในส่วนประเด็นเรื่องงานธุรการ การส่งอีเมล์/จดหมาย หรือการใช้นามของ คอต. เป็นผู้แจ้งฯ นั้น ผมคิดว่าคงจะไม่มีข้อขัดข้องแต่อย่างใด ส่วนตัวผมเองหากจะให้ช่วยในเรื่องการร่างจดหมาย หรือหนังสือแจ้งก็ยินดีครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 21:48, 19 มีนาคม 2555 (ICT)


สำหรับประเด็น ISP ก็นึกอยู่เหมือนกันว่าทางเขาจะยินดีให้ความร่วมมือหรือไม่ แต่ก็บล็อก หรือล็อกในช่วงนี้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะดีหากทาง ISP เขาร่วมมือ --B20180 (พูดคุย) 21:53, 19 มีนาคม 2555 (ICT)