วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
วิกฤติหนี้สาธารณะกรีซ (อังกฤษ: Greek government-debt crisis) หรือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของกรีซ (อังกฤษ: Greek depression)[3][4][5] คือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 เมื่อกรีซเป็นประเทศแรกในกลุ่มยูโรโซนจากทั้งหมด 5 ประเทศ ที่เผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะจนเข้าขั้นวิกฤต ซึ่งภายหลังเรียกรวมวิกฤตการณ์ของกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่าวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้เกิดความโกลาหลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ โครงสร้างของเศรษฐกิจกรีซที่อ่อนแอลง และความเชื่อมั่นของบรรดาเจ้าหนี้ที่ลดลงอย่างฉับพลัน
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเปิดเผยว่ารัฐบาลกรีซบิดเบือนข้อมูลระดับหนี้สาธารณะและภาวะการขาดดุลงบประมาณของประเทศ[6][7][8] จนนำไปสู่วิกฤตความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุน สังเกตได้จากส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Yield spread) ของพันธบัตรรัฐบาล และต้นทุนการประกันความเสี่ยงในสวอปที่สะท้อนการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับเยอรมนี[9][10]
ในปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลกรีซผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และต่อมาในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 กรีซกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศแรกที่ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ[11] ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลกรีซมีหนี้สินรวม 323,000 ล้านยูโร[12]
วิกฤตครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561 อันเป็นวันสิ้นสุดโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซ เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของกรีซดีขึ้นจนไม่จำเป็นต้องมีโครงการให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินจากอียูผ่านอีเอ็มเอสและองค์กรอื่น ๆ อีกต่อไป[13]
ภาพรวม
[แก้]ในปี พ.ศ. 2542 เงินสกุลยูโรถูกริเริ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นสกุลเงินร่วมในการลดต้นทุนการค้าระหว่างประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปและเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าโดยรวม อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจหลักอย่างเยอรมนีแล้ว ต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเศรษฐกิจกรีซซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดรอง ทำให้การส่งออกของประเทศลดลงจนเป็นผลให้กรีซขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[14]
การขาดดุลการค้าหมายความว่า ปริมาณการบริโภคภายในประเทศมีมูลค่ามากกว่าปริมาณสินค้าที่ตนเองผลิตได้ (ในอีกนัยหนึ่งก็คือการใช้จ่ายเกินตัว) จนทำให้ต้องมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ[14] ส่งผลให้ระดับการขาดดุลการค้าและการขาดดุลงบประมาณของกรีซเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี พ.ศ. 2542 สู่ระดับสูงสุดที่ประมาณร้อยละ 15 ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2551 - 2552 อีกแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ในการช่วยให้กระแสเงินทุนไหลเข้ากรีซก็คือ สถานะการเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป ซึ่งช่วยลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วง พ.ศ. 2541 - 2550 (หมายความว่ากรีซสามารถกู้ยืมเงินได้โดยจ่ายผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำกว่าเดิม)[15] กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อมองกรีซในฐานะประเทศเดี่ยวแล้ว กรีซจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าการมองกรีซในฐานะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งเท่ากับเป็นการบอกใบ้ให้นักลงทุนรู้สึกว่าสหภาพยุโรปจะนำมาตรฐานทางการเงินของตนมาใช้กับกรีซ และจะช่วยสนับสนุนกรีซในยามที่ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ[16]
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาช่วง พ.ศ. 2550 - 2552 ส่งผลกระทบมายังยุโรป ทำให้กระแสเงินทุนจากประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปไปยังประเทศเศรษฐกิจขนาดรองเริ่มลดลง และรายงานในปี พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับนโยบายการคลังที่ผิดพลาดและการจงใจบิดเบือนข้อมูลของรัฐบาล ส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่ากรีซไม่สามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำมาชดเชยภาวะการขาดดุลทางการค้าและการขาดดุลงบประมาณได้อีกต่อไป[14]
ประเทศที่เผชิญกับ "การหยุดชะงัก" ในการลงทุนภาคเอกชนและภาระหนี้ที่สูงมักจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง (เช่น เงินเฟ้อ) ส่งผลให้เป็นการส่งเสริมการลงทุนและจ่ายชำระหนี้คืนในสกุลเงินที่ถูกกว่า แต่นี่ไม่ใช่ตัวเลือกของกรีซในขณะที่อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป[14] ค่าจ้างในประเทศลดลงเกือบร้อยละ 20 จากช่วงกลางปี พ.ศ. 2553 - 2557 ในรูปแบบของภาวะเงินฝืดแทนที่จะกลายเป็นการแข่งขันที่มากขึ้น ส่งผลให้รายได้หรือจีดีพีถูกลดความสำคัญลง ยังทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงและการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพี อัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 จากระดับเดิมที่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณภาครัฐที่สำคัญได้บรรลุผล ทำให้รัฐบาลกรีกเกินดุลงบประมาณหลัก นั่นคือรัฐบาลสามารถเก็บรายได้ได้มากกว่ารายจ่ายที่จ่ายออกไปโดยไม่รวมดอกเบี้ย[17]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Long-term interest rate statistics for EU Member States". ECB. 12 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Wearden, Graeme (20 September 2011). "EU debt crisis: Italy hit with rating downgrade". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 20 September 2011.
- ↑ "The Greek Depression" Foreign Policy
- ↑ "Greece has a depression worse than Weimar Germany’s—and malaria too" Quartz
- ↑ "[190] Thusday, Sept. 29: Keiser Report: The Greek Depression & Macing Bankers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
- ↑ Higgins, Matthew; Klitgaard, Thomas (2011). "Saving Imbalances and the Euro Area Sovereign Debt Crisis" (PDF). Current Issues in Economics and Finance. Federal Reserve Bank of New York. 17 (5). สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
- ↑ George Matlock (16 February 2010). "Peripheral euro zone government bond spreads widen". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
- ↑ "Acropolis now". The Economist. 29 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2011.
- ↑ "Greek/German bond yield spread more than 1,000 bps". Financialmirror.com. 28 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- ↑ "Gilt yields rise amid UK debt concerns". Financial Times. 18 February 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
- ↑ "Greece fails to make IMF payment as bailout expires". CTVNews. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
- ↑ BBC News, 30 June 2015: Greece debt crisis: Eurozone rejects bailout appeal
- ↑ "'อียู' จบโครงการอุ้มกรีซอย่างเป็นทางการหลังเศรษฐกิจ 'กรีซ' เริ่มพ้นวิกฤต". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 "Federal Reserve Bank San Francisco – Research, Economic Research, Europe, Balance of Payments, European Periphery". Federal Reserve Bank of San Francisco. 14 January 2013. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
- ↑ "FRED Graph". stlouisfed.org. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
- ↑ Vox-Ezra Klein-Greece's debt crisis explained in charts and maps-July 2015
- ↑ "Anil Kashyap-A Primer on the Greek Crisis-June 29, 2015" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 2015-07-18.