วัลเทอร์ ลองโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Valter Daniel Longo
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
เจนัว ประเทศอิตาลี
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีววิทยาของเซลล์
ชีวพฤฒาวิทยา
สถาบันที่ทำงานวิทยาลัยพฤฒาวิทยาเลนเนิร์ด เดวิส แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกโจน วาเลนไทน์
เว็บไซต์valterlongo.com/fondazione

วัลเทอร์ แดเนียล ลองโก (Valter Daniel Longo) เป็นนักชีวพฤฒาวิทยาและนักชีววิทยาของเซลล์ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี ซึ่งมีชื่อเสียงจากการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของยีนที่ตอบสนองต่อสารอาหารและการอดอาหารในการป้องกันการเปลี่ยนตามวัยและโรคระดับเซลล์ และเสนอว่าการมีอายุยืนยาวนั้นควบคุมโดยยีนและกลไกที่คล้ายคลึงกันในเซลล์ยูคาริโอตหลายชนิด ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยพฤฒาวิทยาเลนเนิร์ด เดวิส แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC Leonard Davis School of Gerontology) โดยดำรงตำแหน่งในภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเป็นผู้อำนวยการของสถาบันการมีอายุยืนแห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (USC Longevity Institute)

ปฐมวัยและการศึกษา[แก้]

ลองโกเกิดที่เมืองเจนัวประเทศอิตาลี โดยบิดามารดาเป็นชาวแคว้นคาลาเบรีย[1] เขาย้ายไปนครชิคาโกในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นเพราะต้องการที่จะเป็นนักกีตาร์ดนตรีร็อกมืออาชีพ โดยอาศัยอยู่กับญาติสนิท[2] ขณะอยู่ที่นั่น เขาสังเกตเห็นว่าญาติของเขาในสหรัฐซึ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อสัตว์ และน้ำตาลปริมาณมากทุกข์ทรมานจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหาได้ยากในญาติของเขาในอิตาลี[2] เขาได้เข้าร่วมกองกำลังสำรองของกองทัพสหรัฐเพื่อเป็นช่องทางรายได้ในการจ่ายค่าเล่าเรียน และได้เข้าร่วมการฝึกทางทหารในฟอร์ตน็อกซ์[2] จากนั้นเขาเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเทกซัสซึ่งมีชื่อในด้านโรงเรียนสอนดนตรีแจ๊ส โดยมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเช่น แดน เฮร์ล (Dan Haerle) และแจ็ค ปีเตอร์เซน (Jack Petersen) เป็นต้น[2] ขณะเรียนลองโก ได้เปลี่ยนความสนใจและหันไปศึกษาเรื่องโภชนาการและการมีอายุยืนยาวแทน โดยได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากการสังเกตเกี่ยวกับญาติของเขา ตลอดจนประสบการณ์การฝึกทหาร[2][3] เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเทกซัสใน พ.ศ. 2535 ด้วยปริญญาตรีสาขาชีวเคมี

ใน พ.ศ. 2535 เขาเข้าร่วมห้องปฏิบัติการ "การจำกัดแคลอรี" ของรอย วัลฟอร์ด (Roy Walford) ผู้บุกเบิกในเรื่องนี้ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ซึ่งเขาได้ศึกษาการจำกัดแคลอรีและการเปลี่ยนตามวัยของระบบภูมิคุ้มกัน เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ใน พ.ศ. 2540 โดยวิจัยเกี่ยวกับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระและยีนต่อต้านการเปลี่ยนตามวัยโดยมี โจน เอส. วาเลนไทน์ (Joan Selverstone Valentine) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และเข้ารับการฝึกอบรมหลังปริญญาเอกในสาขาประสาทชีววิทยาของโรคอัลไซเมอร์ภายใต้การดูแลของเคเล็บ ฟินช์ (Caleb Finch) ที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย

อาชีพ[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ลองโกเป็นอาจารย์ประจำของวิทยาลัยพฤฒาวิทยาเลนเนิร์ด เดวิส แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียและศูนย์พฤฒาวิทยาอีเทล เพอร์ซี แอนดรัส (Ethel Percy Andrus Gerontology Center) เขาเป็นสมาชิกของการจัดตั้งโครงการชีววิทยาของการเปลี่ยนตามวัย (Biology of Aging) ของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และเป็นผู้อำนวยการของสถาบันการมีอายุยืนแห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย[4] นอกจากนี้ เขายังได้เปิดโครงการการศึกษาในต่างประเทศของวิทยาลัยพฤฒาวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียเป็นแห่งแรก โดยเป็นชั้นเรียนภาคฤดูร้อนด้านโภชนาการและพันธุศาสตร์ของการเปลี่ยนตามวัยในประเทศอิตาลี[5]

ใน พ.ศ. 2554 ประวัติของเขาได้รับการกล่าวถึงในสารคดีโทรทัศน์เรื่อง ไขความลับจักรวาลกับมอร์แกน ฟรีแมน (Through the Wormhole with Morgan Freeman) สำหรับงานวิจัยของเขาที่เกี่ยวข้องกับการมีอายุยืน[6]

Fasting mimicking diet[แก้]

Fasting-mimicking diet (FMD) ของลองโกเป็นโปรแกรมอาหารที่มีแคลอรีต่ำ โปรตีนต่ำ คาร์โบไฮเดรตปานกลาง และไขมันปานกลาง ซึ่งอ้างว่าเลียนแบบผลของการอดอาหารหรือการอดน้ำในช่วงระยะห้าวัน ในขณะที่ยังคงมุ่งเป้าให้ร่างกายได้รับสารอาหาร[7][8] FMD ถือเป็นการอดอาหารเป็นระยะ[9]

ลองโกพัฒนาโปรแกรมอาหารที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย เขาเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะเลียนแบบผลของการอดอาหารด้วยโปรแกรมมื้ออาหารที่ออกแบบมาเพื่อยับยั้งวิถีเมแทบอลิซึมในแบบเดียวกันกับการอดอาหาร ขณะที่ยังคงให้สารอาหารแก่ร่างกายโดยไม่กระตุ้นการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย[10]

บริษัทแอล-นูทรา (L-Nutra) ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ Fasting-mimicking diet โดยบริษัทดังกล่าวมีลองโกเป็นเจ้าของบางส่วน และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน[11][12]

รางวัล[แก้]

ลองโกได้รับรางวัลนาทาน ช็อก เล็กเชอร์ (Nathan Shock Lecture Award) ใน พ.ศ. 2553 จากสถาบันการเปลี่ยนตามวัยแห่งชาติ (National Institute on Aging) ในสังกัดสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ[13]

ผลงาน[แก้]

  • รายการผลงานของวัลเทอร์ ลองโก ที่หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน[14]
  • Longo, Valter (2 มกราคม 2018). The Longevity Diet: Discover the New Science Behind Stem Cell Activation and Regeneration to Slow Aging, Fight Disease, and Optimize Weight. New York: Avery. ISBN 978-0-525-53407-5.[15]
  • Longo, Valter (15 กันยายน 2016). La dieta della longevità. Dallo scienziato che ha rivoluzionato la ricerca su staminali e invecchiamento, la DIETA MIMA-DIGIUNO per vivere sani fino a 110 anni (ภาษาอิตาลี). แปลโดย De Tomasi, Laura. Milan: Antonio Vallardi Editore. ISBN 978-88-6987-116-0.[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Longo, Valter. during XII Premio Simpatia della Calabria. Reggio di C. 4 กันยายน 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Valter Longo (2016). "From Ligurian to Chicagoan". The Longevity Diet. Penguin Random House. ISBN 9781743772751. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2019.
  3. "Faculty Profile: Valter Longo". USC Davis School of Gerontology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  4. "USC Longevity Institute". USC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  5. Riggs, Jonathan. "Gerontology and Genoa's Lifestyle". USC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  6. "USC in the News". USC Media and Public Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  7. University of Southern California (16 กุมภาพันธ์ 2017). "Scientifically-designed fasting diet lowers risks for major diseases". ScienceDaily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2017.
  8. King, Jennifer (19 มิถุนายน 2015). "Fasting diets and longer life may go hand-in-hand, new research finds" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). ABC. ABC Health. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2017.
  9. Landro, Laura (11 เมษายน 2017). "Can Different Forms of Fasting Make You Healthier?". Dow Jones & Company. Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2017.
  10. Brandhorst, Sebastian; Choi, In Young; Wei, Min; และคณะ (18 มิถุนายน 2015). "A Periodic Diet that Mimics Fasting Promotes Multi-System Regeneration, Enhanced Cognitive Performance, and Healthspan". Cell Metabolism. 22 (1): 86–99. doi:10.1016/j.cmet.2015.05.012. PMC 4509734. PMID 26094889.
  11. "FASTING MIMICKING DIET - Trademark Details". Justia. Justia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2017.
  12. Walton, Alice G. (16 กุมภาพันธ์ 2017). "Could A Little Bit Of Fasting Bring A Lot Of Health Benefits?". Forbes Media. Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2017.
  13. "Nathan W. Shock Memorial Lecture Award Winners". National Institute on Aging. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
  14. "Longo, Valter [Author]". PubMed.gov. National Library of Medicine. doi:10.1038/s42255-021-00469-6. PMID 34650272. S2CID 238989782. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2021.
  15. "The Longevity Diet by Valter Longo". Penguin Random House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020.
  16. "La dieta della longevità". www.vallardi.it. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]