พระวัปปเถระ
พระวัปปปะเถระ | |
---|---|
ภาพวาดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สดับพระปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อเดิม | วัปปะพราหมณ์ |
ชื่ออื่น | พระวัปปะเถระ |
สถานที่เกิด | เมืองกบิลพัสดุ์ |
สถานที่บวช | ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) |
วิธีบวช | เอหิภิกขุอุปสัมปทา |
สถานที่บรรลุธรรม | ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน บรรลุพระอรหันต์พร้อมกับปัญจวัคคีย์ด้วยอนัตตลักขณสูตร |
ฐานะเดิม | |
ชาวเมือง | เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ |
บิดา | บิดาท่านเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ทำนายลักษณะเจ้าชายสิทธัตถะ ในวันขนานพระนามหลังเจ้าชายประสูติได้ 5 วัน |
วรรณะเดิม | พราหมณ์ |
การศึกษา | จบไตรเพท |
สถานที่รำลึก | |
สถานที่ | ธรรมเมกขสถูป, ธรรมราชิกสถูป (สถานที่บรรลุพระอรหันต์) ภายในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสารนาถในปัจจุบัน |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระวัปปะ หรือ พระวัปปะเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก
พระวัปปะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน
ชาติกำเนิด
[แก้]พระวัปปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “วัปปะ”
การศึกษา
[แก้]เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ท่านได้ศึกษาศิลปะวิทยาจนจบไตรเพทในสำนักพราหมณ์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์
สาเหตุที่ออกบวช
[แก้]เนื่องด้วยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่าน เคยเป็นพราหมณ์ 1 ใน 8 คนที่ได้รับนิมนต์เข้ารับภัตตาหารในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ในวันขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะหากออกผนวชจะได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บิดาของท่านจึงตั้งใจว่าหากเจ้าชายออกผนวชตนจะออกบวชตาม แต่ด้วยบิดาของท่านมีอายุมากแล้ว และเกรงว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่เจ้าชายบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงสั่งเสียให้ลูกชายคือวัปปะพราหมณ์ออกบวชหากเจ้าชายออกผนวชตามคำทำนาย โดยเมื่อเจ้าชายออกบวชท่านได้ตามโกณฑัญญะพราหมณ์และบุตรพราหมณ์ 108 จำนวน 3 คนออกบวชด้วย
ประวัติของท่านหลังจากนี้คล้ายคลึงกับประวัติท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
ดูเพิ่มได้ที่ พระอัญญาโกณฑัญญะ
บุพกรรมในอดีตชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความสำคัญในพระพุทธศาสนา
[แก้]พระวัปปะแม้จะเป็นหนึ่งใน 5 ของกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ แต่หลังจากตรัสรู้ธรรมแล้ว ท่านไม่ปรากฏบทบาทสำคัญในทางพระพุทธศาสนาในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ดีท่านก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล
บั้นปลายชีวิต
[แก้]ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน
อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.