วันไหว้เทวดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันไหว้เทวดา หรือ วันป้ายทีก้ง (ตัวเต็ม: 拜天公, ตัวย่อ: 拜天公, พินอิน: Bài tiān gōngไป่เทียนกง, ฮกเกี้ยน: ป้ายทีก้ง) เป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังวันตรุษจีน 9 วัน ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 1 ตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ถือเป็นการบูชาเทวดาหรือองค์หยกหองส่งเต่(玉皇上帝) เพื่อให้ท่านปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยชาวจีนจะจัดของไหว้ ขนมบัวลอย ผลไม้มงคลต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ในประเพณี คือ ต้นอ้อย 1 คู่ ประดับด้วยการแขวนโมบายอย่างจีนที่เรียกว่า โกจี่ และขนมเจดีย์น้ำตาล ที่เรียกว่า ทะถึง มาตั้งไหว้บนโต๊ะใหญ่ที่รองขาให้สูงขึ้นกว่าปกติตกแต่งด้วยผ้าปูปักลวดลายพื้นสีแดงที่เรียกว่า โต๊ะอุ๋ย จัดบริเวณหน้าบ้าน โดยจะเริ่มไหว้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น

ของใช้และเครื่องเซ่นไหว้ในพิธี[แก้]

เครื่องเซ่นไหว้ ของใช้ในพิธี แต่ละท้องถิ่นพื้นที่ก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย แล้วแต่ความสะดวกและกำลังทรัพย์ของผู้ใหญ่ แต่ในที่นี่ยกตัวอย่างเครื่องเซ่นไหว้ของ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ภูเก็ต พังงา กระบี่ มารวมกัน จึงทำให้บางอย่างของแต่ละพื้นถิ่นไม่มี

เครื่องกระดาษ[แก้]

รายการสิ่งของ ภาษาจีน (ฮกเกี้ยน) อักษรจีน จำนวน
ตำหนักกระดาษ ทีก๊องโจ้ 天公座 1 หลัง
ระย้าผูกอ้อย โกจี่ 高錢 2 เส้น
กระดาษทองใหญ่ ทีก๊องกิ้ม 天公金 5 ปึก
กระดาษทองเล็ก ซิ่วกิ่ม 壽金 9 ปึก
ชุดกระดาษ ทีก๊องเพ้า 天公袍 1 ชุด
กุ๊ยหยินจั้ว กุ๊ยหยินจั้ว 贵人纸 3 ปึก
กระดาษใบปลิว เตี้ยวจี่ 吊錢 5 แผ่น
กระดาษม้า อึ้งจี่เจี่ยเบ๊ 黃錢鉀馬 1 ปึก
ถังชั้นทอง หุ่นต่าวกิม 份鬥金 2 ถัง
ถังทอง กิมถั้ง 金桶 2 ถัง
ตัวกุ๊ยหยิน ตัวกุ๊ยหยิน 大貴人 3 ปึก
การจัดโต๊ะไหว้เทวดา ป้ายทีก้ง จังหวัดภูเก็ต


ของใช้ในพิธี[แก้]

รายการสิ่งของ ภาษาจีน (ฮกเกี้ยน) อักษรจีน จำนวน
โต๊ะ 1 ตัวหรือมากกว่านั้น
เก้าอี้ อี้เหลี่ยว 4 ตัว
ผ้าปูโต๊ะ ผืน
ผ้าคาดหน้าโต๊ะ โต๊ะอุ่ย ผืน
เชิงเทียน 1 คู่หรือมากกว่านั้น
ตะเกียงน้ำมัน 1 คู่

ขนมรวม หรือ ภาษาจีนเรียกว่า เต่เหลี่ยว  ๓  จาน เต่เหลี่ยว คือ เป็นขนมที่ทำมาจากพืชพันธุ์อาหารครบทุกอย่าง จะต้องมี และขาดไม่ได้ในประเพณีของจีขนมเข่ง เป็นขนมของเทวดาโดยเฉพาะ  ซึ่งจะมีไหว้และทำกันในวันตรุษจีน และไหว้เทวดาเท่านั้น และยังมีความเชื่อมาแต่โบราณอีกว่า การทำขนมเข่งนั้น ถ้าบ้านไหนที่ทำขนมเข่งอยู่ ถ้าผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือ ไว้ทุกข์อยู่เข้าไปดู หรือ เดินผ่าน จะทำให้ขนมเข่งดิบ หรือ ไม่สุก และบางคนเค้ารู้ว่าบ้านไหนทำขนมเข่งอยู่จะไม่เข้าไปเลย จะยืนอยู่หน้าบ้าน[แก้]

ขนมเต่า หรือ ภาษาจีนเรียกว่า อั่งกู้ ๓ ลูก ๑ จาน ทำให้อายุยืน[แก้]

ขนมฟู หรือภาษาจีนเรียกว่า ฮวดโก้ย ๓ ลูก  ๑ จาน[แก้]

สับปะรด ภาษาจีนเรียกว่า อ่องหลาย ๒ ลูก ทำให้มีตาเหมือนสับปะรด มีช่องทางทำมาหากินหลายทางและมีโชคลาภ[แก้]

กล้วย ภาษาจีนเรียกว่า เก๋งเจ๊ว เป็นการให้พรมีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง[แก้]

ส้ม ภาษาจีนเรียกว่า ก๊าม จาน[แก้]

หมิ้กเจี่ยน (คล้ายกับบายสีของไทย) ๑  ที่[แก้]

ผักแห้งหกอย่าง เรียกว่าหลักฉ่าย ๖  จาน เป็นของที่บำรุงร่างกาย เมื่อไหว้เสร็จแล้วก็นำไปทำอาหารได้[แก้]

  เห็ดหอม (เหี่ยวก้อ) ๑  จาน[แก้]

  เห็ดหูหนู (บกนี้) ๑  จาน[แก้]

  ฟองเต้าหู้ (เต็กกากี้) ๑  จาน[แก้]

  วุ้นเส้น (ตั่งหุ้น) ๑  จาน[แก้]

  หมี่ซั่ว (หมี่ซั่ว) ๑ จาน[แก้]

  ดอกไม้จีน (กิ้มเจี้ยม) ๑  จาน[แก้]

ผลไม้เสริม อีก ๒ อย่าง[แก้]

  องุ่น (ฮู่โต๋) ๑  จาน[แก้]

  ละมุดสีดา (๓ ลูก) (บ่าสี่กู้) ๑  จาน[แก้]

การบูชาเทวดาในวันตรุษจีน หรือ ที่ศาลเจ้า เทพเจ้ามิได้ถือศีลบวช จะต้องมีอาหารคาวจัดอีกหนึ่งโต๊ะดังนี้[แก้]

ของคาว (หง่อเส้ง)[แก้]

  หมูต้ม ๑  ชิ้น[แก้]

ไข่ไก่ต้ม หรือ ไก่ต้ม ๓  ลูก หรือ ๑ ตัว[แก้]

ปลาหมึกต้ม หรือ แห้ง ๓  ตัว[แก้]

กุ้งต้ม ๓  ตัว[แก้]

หมี่เหลือง ๑ กก.[แก้]

เหล้าแดง(จีน) หรือ น้อยกว่านั้น ๑ ขวด[แก้]