วันรำลึกกษัตริย์หุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันรำลึกกษัตริย์หุ่ง
ศาลเจ้าหุ่งเวือง เขตท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซ้วยเตียน ในวันรำลึกกษัตริย์หุ่ง
ชื่อทางการGiỗ Tổ Hùng Vương
จัดขึ้นโดยชาวเวียดนาม
ประเภทวัฒนธรรม
ความสำคัญวันครบรอบสวรรคตของกษัตริย์หุ่ง
การถือปฏิบัติสักการะกษัตริย์หุ่ง
วันที่วันที่ 10 ในเดือน 3 ทางจันทรคติ
ความถี่ประจำปี

วันรำลึกกษัตริย์หุ่ง หรือ เทศกาลศาลเจ้าหุ่ง (เวียดนาม: Giỗ Tổ Hùng Vương หรือ Lễ hội đền Hùng) เป็นเทศกาลของเวียดนามที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 11 ของเดือน 3 ทางจันทรคติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์หุ่ง (Hùng Vương) วันเทศกาลหลักคือวันที่ 10 ของเดือน ได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดประจำชาติในเวียดนามตั้งแต่ พ.ศ. 2550[1][2][3][4][5]

แม้ว่าชื่ออย่างเป็นทางการคือ วันครบรอบวันสวรรคตของกษัตริย์หุ่ง (Giỗ Tổ Hùng Vương) เทศกาลนี้ไม่ได้ระบุวันสวรรคตของกษัตริย์หุ่งพระองค์ใดโดยเฉพาะ[6]

งานเทศกาล[แก้]

จุดประสงค์ของพิธีนี้คือเพื่อระลึกถึงและแสดงความเคารพต่อกษัตริย์หุ่งซึ่งตามตำนานเป็นผู้ก่อตั้งประเทศและเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของชาวเวียดนาม เริ่มแรกเทศกาลเป็นวันหยุดในท้องถิ่น ต่อมาได้รับการยอมรับให้เป็นวันหยุดประจำชาติตั้งแต่ปี 2550[7] ใน พ.ศ. 2559 มีจำนวนผู้เข้าร่วมเทศกาลทั้งหมดเจ็ดล้านคน[8]

พิธีสำคัญ[แก้]

พิธีมีขึ้นหลายวัน แต่วันที่ 10 ของเดือนถือว่าเป็นวันสำคัญที่สุด ขบวนแห่จะเริ่มต้นที่ตีนเขาและหยุดที่ศาลเจ้าเล็ก ๆ ระหว่างทางทุกแห่ง จนถึงศาลเจ้าบนเขา ที่นี่ผู้แสวงบุญจะจุดธูปไหว้บรรพบุรุษและสวดมนต์[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Vietnamese nationals return for Hung Kings' death anniversary". VOV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2009.
  2. "One day off to celebrate Vietnamese founders". Ho Chi Minh City's government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2009.
  3. "NA meets on threshold of legislative elections". VietNamNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2009.
  4. "Hung Kings' Temple Festival - A Pilgrimage To The Sacred Land of Vietnam's Ancestry". Embassy of Vietnam in USA. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009.
  5. "NA meets on threshold of legislative elections". National Assembly of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2009.
  6. "Hung King Temple Festival". vietnam-beauty. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2011.
  7. 7.0 7.1 "Party Chief pays tribute to Hung Kings". Vietnews. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2011.
  8. "Seven million visitors expected to attend Hung Kings festival in northern Vietnam". 2 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2016.