วันมาเลเซีย
วันมาเลเซีย هاري مليسيا | |
---|---|
![]() | |
ชื่อทางการ | Hari Malaysia |
จัดขึ้นโดย | ชาวมาเลเซีย |
ประเภท | ชาติ |
ความสำคัญ | วันก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย |
วันที่ | 16 กันยายน |
ความถี่ | ทุกปี |
วันมาเลเซีย (มลายู: Hari Malaysia; هاري مليسيا) ตรงกับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสหพันธรัฐมาเลเซียเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 เป็นสัญลักษณ์ของการรวมตัวกันระหว่างมาลายา บอร์เนียวเหนือ (ปัจจุบันคือซาบะฮ์) ซาราวัก และสิงคโปร์เพื่อตั้งมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ถูกขับออกจากสหพันธรัฐในเวลาไม่ถึงสองปีต่อมา (9 สิงหาคม ค.ศ. 1965)
ประวัติ
[แก้]สหพันธรัฐใหม่นี้มีแผนจัดตั้งขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1963 แต่ภายหลังถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1963 เพื่อให้ตรงกับวันฮารีเมอร์เดกา หรือวันประกาศอิสรภาพ ปีที่หก หลายประเด็นเกี่ยวข้องกับการคัดค้านของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ต่อการตั้งมาเลเซียชะลอการประกาศเป็นวันที่ 16 กันยายนของปีเดียวกัน การชะลอดังกล่าวยังมีขึ้นเพื่อให้คณะสหประชาชาติมีเวลาดำเนินการลงประชามติในบอร์เนียวเหนือ และซาราวักว่าด้วยการเข้าร่วมสหพันธรัฐใหม่ของทั้งสองรัฐ[1][2]
การตั้งมาเลเซียเป็นไปได้ผ่านการประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมาเลเซีย ต่อรัฐสภามาเลเซียเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากยังดีเปอร์ตวนอากงเมื่อวันที่ 29 สิงาหคม ค.ศ. 1963[1]
ก่อนหน้าการตั้งมาเลเซีย ซาราวักได้รับการบริหารชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 ขณะที่สิงคโปร์และบอร์เนียวเหนือเริ่มการบริหารชั่วคราวจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1963 ตรงกับวันครบรอบ 6 ปี การประกาศเอกราชมาเลเซีย
นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก ทำการตัดสินใจดังกล่าวภายหลังจากช่วงถาม-ตอบในรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2009 โดยให้ชาวมาเลเซียเฉลิมฉลองวันประกาศเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศ 2 วัน ทำให้วันที่ 16 กันยายน เป็นวันหยุดราชการของสหพันธรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 2010[3]
สถานที่ฉลองวันมาเลเซีย
[แก้]นับตั้งแต่มีการฉลองวันมาเลเซียอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2011 มีการจัดสถานที่ฉลองในนครหลายแห่งทั่ววมาเลเซีย โดยใน ค.ศ. 2020 และ 2021 มีการจัดการฉลองในขนาดเล็กเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศมาเลเซีย[4]
นคร | ปีเจ้าภาพ |
---|---|
กัวลาลัมเปอร์ | 2011[5] |
บินตูลู | 2012, 2016[6][7] |
กูจิง | 2013, 2019, 2023[8][9][10] |
มีรี | 2014[11] |
โกตากีนาบาลู | 2015, 2017, 2018, 2021, 2024[12][13][14][15] |
ซีบู | 2020[4] |
มะละกา | 2022[16] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 A marriage that was doomed from the start. New Straits Times. 4 August 2007.
- ↑ Looi Sue-Chern (15 September 2014). "Sabah and Sarawak deserve better, says Guan Eng in Malaysia Day message". The Malaysian Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
- ↑ Yeng Ai Chun (19 October 2009). "Malaysia Day now a public holiday, says PM". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 16 September 2012.
- ↑ 4.0 4.1 "57th Malaysia Day celebration demonstrates closeness of Sabah, Sarawak and the peninsula". Malay Mail. 16 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
- ↑ "Hari Malaysia, Kemerdekaan Disambut Serentak Penuh Gilang-Gemilang" (ภาษาMalay). MStar. 16 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Hazmin Hamudin (16 กันยายน 2012). "Selamat Menyambut Hari Malaysia 2012" (ภาษาMalay). Hazmin Hamudin. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Sambutan Hari Malaysia penuh sejarah" (ภาษาMalay). Utusan Borneo. 17 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Hari Malaysia Ke-50 Disambut Meriah Penuh Warna-Warni" (ภาษาMalay). MStar. 16 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Mohd Roji Kawi (15 กันยายน 2019). "Jerebu tidak jejas Sambutan Hari Malaysia 2019" (ภาษาMalay). Berita Harian. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Mohd Roji Kawi (9 สิงหาคม 2023). "Sarawak tuan rumah Hari Malaysia 2023" (ภาษาMalay). Berita Harian. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Sambutan Hari Malaysia meriah" (ภาษาMalay). Berita Harian. 17 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Hari Malaysia disambut meriah, penuh warna warni" (ภาษาMalay). Berita Harian. 17 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Sekitar sambutan Hari Malaysia 2017" (ภาษาMalay). Berita Harian. 16 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Izyan Liyana Md. Darif, Noor Hasliza Nusi and Nur Amalia Azri (16 กันยายน 2018). "Sambutan Hari Malaysia berbeza". Utusan Malaysia (ภาษาMalay). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Izwan Abdullah (13 กันยายน 2021). "Perdana Menteri dijadual hadir sambutan Hari Malaysia" (ภาษาMalay). Berita Harian. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Kira-kira 20,000 pengunjung dijangka meriahkan Sambutan Hari Malaysia 2022 di Melaka" (ภาษาMalay). Astro Awani. 6 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Agreement relating to Malaysia
วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ Selamat Hari Malaysia ke-50 regarding Pulau Pinang, Melaka, Sarawak dan Sabah in Malay language