วันขึ้นปีใหม่อิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีใหม่อิสลาม
ชื่อทางการرأس السنة الهجرية
เราะส์ อัซซะนะฮ์ อัลฮิจรียะฮ์
ชื่ออื่นปีใหม่อาหรับ, ปีฮิจเราะฮ์ใหม่
จัดขึ้นโดยมุสลิม
ประเภทอิสลาม
เริ่ม
  • ดวงอาทิตย์ตกในวันสุดท้ายของเดือนซุลฮิจญะฮ์
สิ้นสุด
  • หัวค่ำของวันที่ 1 มุฮัรรอม
วันที่
  • 1 มุฮัรรอม

ปีใหม่อิสลาม (อาหรับ: رأس السنة الهجرية, เราะส์ อัซซะนะฮ์ อัลฮิจรียะฮ์) รู้จักกันในชื่อ ปีฮิจเราะฮ์ใหม่ หรือ ปีใหม่อาหรับ เป็นวันที่เป็นจุดเริ่มต้นของปีฮิจเราะฮ์ใหม่ และเป็นวันแรกของปฏิทินอิสลามที่สังเกตโดยมุสลิมในวันที่ 1 มุฮัรรอม ต้นยุคอ้างอิงของปีฮิจเราะฮ์อยู่ที่ ค.ศ. 622 ซึ่งเป็นปีที่ศาสดามุฮัมมัดกับผู้ติดตามอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ ที่รู้จักกันในชื่อฮิจเราะห์[1] พิธีศาสนาทั้งหมด เช่น ละหมาด, ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน, ฮัจญ์ และเทศกาลต่าง ๆ ถูกคำนวณตามปฏิทินอิสลาม

องค์กรอิสลามบางแห่งขึ้นเดือนใหม่ (และปีใหม่) โดยการดูดวงจันทร์[2] สถาบันและประเทศอิสลามส่วนใหญ่ เช่น ซาอุดีอาระเบีย[3] ใช้การคำนวณทางดาราศาสตร์เพื่อกำหนดปฏิทินอิสลามในอนาคต บางครั้ง การคำนวณที่แตกต่างกันทำให้มีความแตกต่างระหว่างวันในแต่ประเทศ 1 หรือ 2 วัน เช่น ปฏิทิน อุมมุลกุรอ ที่ใช้ในประเทศซาอุดีอาระเบียถูกปรับปรุงหลายครั้ง การปรับปรุงครั้งล่าสุดถูกนำเสนอในปีฮ.ศ. 1423 (15 มีนาคม ค.ศ. 2002)[4]

วันในปฏิทินอิสลามเริ่มขึ้นตอนพระอาทิตย์ตก ตัวอย่างเช่น 1 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 1432 อยู่ในวันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ในปฏิทินทางการ (ขึ้นอยู่กับประเทศ) สำหรับปฏิทินที่ใช้วิธีส่องดู การเห็นจันทร์ดับตอนดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 6 ธันวาคม หมายความว่า วันที่ 1 มุฮัรรอมอยู่ตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 6 ธันวาคมถึงช่วงดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 7 ธันวาคม ถ้าบริเวณนั้นไม่เห็นจันทร์ดับในวันที่ 6 ธันวาคม วันที่ 1 มุฮัรรอมอยู่ตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 7 ธันวาคมถึงช่วงดวงอาทิตย์ตกของวันที่ 8 ธันวาคม[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Beginning of Hijri calendar เก็บถาวร 2019-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Paul Lunde, Saudi Aramco World Magazine (November/December 2005), retrieved 1/1/2019
  2. "Islamic Crescents' Observation Project". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  3. "Islamic Crescents' Observation Project: Saudi Dating System". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  4. Robert Harry van Gent, The Umm al-Qura Calendar of Saudi Arabia เก็บถาวร 2011-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Islamic Crescents' Observation Project, Visibility of Muharram Crescent 1432 AH เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; seen on 6 December in Algeria, Iran, Saudi Arabia, South Africa.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]