วังเกอเลียน
วังเกอเลียน | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
ด่านมาเลเซียที่วังเกอเลียน | |
พิกัด: 6°40′44″N 100°11′12″E / 6.67889°N 100.18667°E |
วังเกอเลียน (มลายู: Wang Kelian) เป็นหมู่บ้านในรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ที่ชายแดนมาเลเซีย–ไทย ตัวหมู่บ้านเป็นที่โด่งดังเพราะมีนักท่องเทียวมาเที่ยวที่ตลาดริมชายแดนทั้งสองฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านนี้เสียความโด่งดังไป เนื่องจากการมีการพบสุสานหมู่ (Mass Graves) ของเหยื่อจากการค้ามนุษย์ในปี ค.ศ. 2015[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]วังเกอเลียนตั้งอยู่ทางเหนือของรัฐปะลิส และเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่อยู่ทางเหนือสุดในคาบสมุทรมาเลย์ ตั้งอยู่ที่ตีนภูเขานากาวัน (Nakawan Range) และล้อมรอบด้วยภูเขา โดยมีถนน R15 ที่เชื่อมต่อวังเกอเลียนกับส่วนอื่นของรัฐปะลิสซึ่งอยู่ห่างไป 10 กิโลเมตร ทางทิศใต้ ส่วนทางเหนือคือชายแดนไปประเทศไทยอยู่ห่างไป 4 กิโลเมตร ทางตะวันออกคือปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นทางผ่านแดนหลักของรัฐปะลิสอยู่ห่างไป 20 กิโลเมตร และทางใต้คือกันการ์ เมืองหลวงของรัฐ อยู่ห่างไป 33 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]ตลาดชายแดน
[แก้]ตัวหมู่บ้านเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันทั้งนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น เพราะมีตลาดอยู่ทั้งสองฝั่ง ทางรัฐบาลไทยและมาเลเซียอนุญาตให้ผู้คนข้ามประเทศได้โดยทางฝั่งมาเลย์ต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนถึงจะผ่านได้ แต่ฝั่งไทยสามารถข้ามได้โดยไม่ต้องแสดงอะไรทั้งสิ้น โดยที่ทั้งสองประเทศมีข้อแม้ให้ไปไม่ห่างจากชายแดนภายในรัศมี 1 กิโลเมตร[2][3]
ความโด่งดังของตลาดได้เพิ่มขึ้นเพราะทางรัฐบาลมาเลย์ทำให้การผ่านแดนรัดกุมมากขึ้น สืบเนื่องจากการพบสุสานหมู่ของเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และค่ายขนส่งที่ผิดกฎหมายในป่าบริเวณใกล้เคียงเมื่อปี ค.ศ. 2015 จนถึงเดือนเมษายนของปีเดียวกัน ทางรัฐบาลมาเลเซียได้หยุดโครงการนี้ เพื่อไม่ให้มีเหยื่อจากการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยเข้ามาในประเทศมาเลเซียได้[1]
ด่านผ่านชายแดน
[แก้]วังเกอเลียนเป็นหนึ่งในสองด่านชายแดนระหว่างมาเลเซียกับไทยในรัฐปะลิส โดยอีกอันหนึ่งคือปาดังเบซาร์ โดยอีกฝั่งหนึ่งของชายแดนวังเกอเลียนคือตำบลวังประจันในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ภาคใต้ของประเทศไทย
สุสานหมู่วังเกอเลียน
[แก้]ในปี ค.ศ. 2015 มีการค้นพบสุสานหมู่ซึ่งเชื่อว่าเป็นชาวโรฮีนจาที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในป่าทางตอนเหนือของวังเกอเลียนในเขตที่มีชื่อว่าวังบุรมา มีรายงานว่ามีศพกว่า 139 คน และค่ายกักกัน 29 แห่งในระหว่างการปฏิบัติการของตำรวจมาเลเซีย ทางตำรวจบอกว่าค่ายถูกทำลายก่อนการการสืบสวนจะเสร็จสิ้น[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "A pale shadow of its former self". The Star). 3 June 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ "Document-free Travel In Wang Kelian From Today". Bernama. 5 December 2008. สืบค้นเมื่อ 28 December 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-30.
- ↑ "Govt forms RCI to probe Wang Kelian mass graves". New Straits Times). 27 January 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
- ↑ "The secrets of Wang Kelian exposed". New Straits Times). 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.