ข้ามไปเนื้อหา

ลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์
ภาพปกเกมเวอร์ชันอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
อำนวยการผลิตโทะคุโร ฟุจิวะระ
ออกแบบทะสึยะ มินะมิ
แต่งเพลงจุนโกะ ทะมิยะ
เครื่องเล่นนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์/แฟมิคอม
วางจำหน่าย
แนวเกมแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว

ลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์ (อังกฤษ: Little Nemo: The Dream Master) หรือที่รู้จักกันในชื่อเวอร์ชันของญี่ปุ่นคือ พาจามาฮีโรนีโม (ญี่ปุ่น: パジャマヒーロー) เป็นแพลตฟอร์มเกมที่ได้รับการเปิดตัวในระบบแฟมิคอมในปี ค.ศ. 1990 โดยบริษัทแคปคอม ซึ่งอิงมาจากภาพยนตร์แอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่องลิตเติลนีโม: แอดเวนเจอร์สอินสลัมเบอร์แลนด์ จากสตูดิโอโตเกียวมูฟวีชินชะ ที่ซึ่งอิงมาจากการ์ตูนเรื่องลิตเติลนีโมอินสลัมเบอร์แลนด์ ที่สร้างสรรค์โดยวินซอร์ แม็กเคย์ อีกทอดหนึ่ง[1][2] ส่วนเพลงประกอบเกม ได้รับการประพันธ์ทำนองโดยจุนโกะ ทะมิยะ โดยได้รับเครดิตในเกมในนาม "กอนซู"

เกมได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความฝันที่เหนือจริงของเด็กน้อยคนหนึ่งในฐานะที่เขาได้เดินทางไปยังสลัมเบอร์แลนด์ นีโมสามารถขี่สัตว์บางอย่าง เช่น กบ, กอริลลา หรือ ตัวตุ่น โดยให้ลูกอมแก่พวกมัน โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีความสามารถเฉพาะตัวที่จำเป็นต่อความสำเร็จของแต่ละด่าน จุดประสงค์ของเกมคือการเดินทางไปยังดินแดนไนท์แมร์เพื่อช่วยมอร์เฟอุส ผู้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสลัมเบอร์แลนด์ ให้รอดพ้นเงื้อมมือจากปีศาจคิงไนท์แมร์

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ในเกมลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์ ผู้เล่นจะทำการบังคับนีโมไปในรูปแบบเกมเลื่อนฉากด้านข้าง 2 มิติ ในแต่ละด่าน นีโมต้องเก็บกุญแจให้ได้ตามจำนวนที่มี ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในแต่ละด่านที่มีขนาดซึ่งค่อนข้างใหญ่ จำนวนกุญแจในการผ่านแต่ละด่านไม่ได้ระบุไว้ให้แก่ผู้เล่นจนกว่าจะถึงทางออกในช่วงท้ายของแต่ละด่านซึ่งมีจำนวนที่สอดคล้องกันกับจำนวนของแม่กุญแจ ผู้เล่นจะต้องทำการผ่านในแต่ละด่าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นจากซ้ายไปขวา แต่ก็ยังมีการขึ้นและลงในการค้นหากุญแจ

ในการลุยแต่ละด่านผู้เล่นจะพบกับสัตว์หลายชนิด ซึ่งหลังจากให้ลูกอมแล้ว พวกมันก็จะยอมให้นีโมได้ใช้พลังของพวกมัน โดยการใช้ความสามารถของสัตว์แต่ละชนิดเป็นสิ่งที่จำเป็น ในขณะที่ความสามารถนอกนั้นทำให้การเล่นง่ายขึ้นเพียงเล็กน้อย แถบพลังชีวิตของสัตว์มักจะแตกต่างไปจากของนีโม ซึ่งสัตว์บางชนิดจะมีแถบเพิ่มพลังชีวิตพิเศษ โดยความสามารถดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องด้วยอุปสรรคที่ท้าทายหลายประการที่มีอยู่ตลอดทั้งเกม และศัตรูที่มีจำนวนเหลือคณานับ ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไปจึงถือว่า ลิตเติลนีโม เป็นเกมที่เล่นได้ยากเป็นอย่างมาก

การตอบรับ

[แก้]

เว็บไซต์ไอจีเอ็นจัดให้เกมนี้อยู่ในอันดับที่ 68 สำหรับเกมที่ดีที่สุดของเครื่องเล่นเกมคอนโซลในระบบแฟมิคอม[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Test du jeu Little Nemo: The Dream Master เก็บถาวร 2009-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sur Emu Nova (ฝรั่งเศส)
  2. Description de Nemo: The Dream Master sur Giant Bomb (อังกฤษ)
  3. "68. Little Nemo: The Dream Master". IGN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]