ลิงลาว
หน้าตา
ลิงลาว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Asparagaceae |
วงศ์ย่อย: | Nolinoideae |
สกุล: | Tupistra |
สปีชีส์: | T. albiflora |
ชื่อทวินาม | |
Tupistra albiflora |
ลิงลาวหรือนางลาว หรือนางเลว[1]ชื่อวิทยาศาสตร์: Aspidistra sutepensis K.Laren
เป็นไม้พุ่ม ในวงศ์ CONVALLARIACEAE มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นแตกเป็นกอ ใบสีเขียวสด ดอกช่อ สีขาวปนม่วง สีเขียวปนม่วงหรือสีม่วงเข้ม ผลกลม ผิวขรุขระ ต้นที่มีก้านดอกสีเขียว จะมีรสหวานปนขม ก้านดอกสีขาวมรรสหวานเฝื่อน นิยมบริโภค แต่ต้นที่มีก้านดอกสีม่วง รสขม ไม่นิยมบริโภคยกเว้นในกลุ่มผู้สูงอายุ นำมาทำแกง แกงแค ส้มตำ หรือกินกับน้ำพริก นอกจากนั้นยังนำมาผัดน้ำมันหอยและชุบแป้งทอด ดอกและผลเป็นอาหารสัตว์ ดอกลิงลาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชาวถิ่นเรียกนางแลว นิยมนำช่อดอกอ่อนไปแกง [2]
ชื่อเรียก ภาคเหนือ: นางแลว,ลิงลาว ภาคกลาง: ลีลาว ภาคอีสาน: ดีกั้ง,ดีปลากั้ง[3]
สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาของภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง การขยายพันธุ์ : การแยกหน่อ
อ้างอิง
[แก้]- วิชร นันต๊ะยานา. 2556. การจัดการต้นลิงลาวสู่เศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 5(6): 5-20
- ↑ ป่าแม่คำมี: ความหลากหลายทางชีวภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน. กทม. สำนักวิจัยและพัฒนาป่าไม้. 2556
- ↑ ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่านวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่242 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2020-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/192