ลาลเจาก์

พิกัด: 34°04′16″N 74°48′38″E / 34.0712°N 74.8106°E / 34.0712; 74.8106
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาลเจาก์
แผนที่
ตั้งชื่อตามการปฏิวัติรัสเซีย
ที่ตั้งศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ อินเดีย
PIN190001
พิกัด34°04′16″N 74°48′38″E / 34.0712°N 74.8106°E / 34.0712; 74.8106

ลาลเจาก์ (อักษรโรมัน: Lal Chowk, แปลว่า จัตุรัสแดง) เป็นจัตุรัสนครในศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย ชื่อของจัตุรัสตั้งโดยนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติรัสเซียและต่อสู้กับมหาราชาแห่งรัฐมหาราชาชัมมูและกัศมีร์ มหาราชาหริ สิงห์[1] ที่นี่ถือเป็นสถานที่นัดพบและปราศรัยทางการเมืองของศรีนครมาอย่างยาวนาน ทั้งนายกรัฐมนตรีอินเดีย ชวาหัรลาล เนห์รู และผู้ว่าการชัมมูและกัศมีร์ เฉก อับดุลลอห์ ล้วนเคยปราศรัยแก่สาธารณชนในศรีนครโดยเลือกปราศรัยอยู่ที่ลาลเจาก์

พื้นที่ของลาลเจาก์กินพื้นที่สองฝั่งของถนนเรสซิเดนซี (Residency Road) ระหว่างสะพานอมิรา กาดัล และโรงเรียนตินเดล บิสโก และกลายมาเป็นศูนย์กลางย่านการค้าที่สำคัญของศรีนครนับตั้งแต่ศตวรรษที่ยี่สิบเป็นต้นมา[2] ปลายฝั่งตะวันออกของลาลเจาก์เป็นวงเวียน และตรงกลางมีหอนาฬิกา (ฆัณฏาฆัร; ganta ghar) ซึ่งสร้างขึ้นโดยบายัจอิเล็กตริกัลส์ในปี 1980[3][4]

ประวัติศาสตร์[แก้]

เฉก อับดุลลอห์ ปราศรัยแก่สาธารณะที่ลาลเจาก์เมื่อปี 1975

ลาลเจาก์เป็นสถานที่ที่ซึ่งชวาหัรลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรก กางธงชาติอินเดียสู่สาธารณะในปี 1948 ไม่นานหลังได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ[1] ภายหลังสงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถานในปี 1947-48 เนห์รูได้ยืนปราศรัยที่ลาลเจาก์โดยให้คำมั่นสัญญาแก่ชาวกัศมีร์ว่าจะให้ลงคะแนนเสียงในประชามติเพื่อตัดสินอนาคตของดินแดนกัศมีร์ นอกจากนี้ เฉก อับดุลลอห์ ผู้ว่าการชัมมูและกัศมีร์คนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง ยังประกาศความภักดีต่อเนห์รูและอินเดียที่ลาลเจาก์ เขากล่าวกลอนคู่ภาษาเปอร์เซีย ว่า "Man Tu Shudam, Tu Man Shudi, Taqas Na Goyed, Man Degram Tu Degri" (เราเป็นท่าน และท่านเป็นเรา; เมื่อนั้นไม่มีใครจะว่าเราแยกกันได้)[1]

การชักธงที่หอนาฬิกา[แก้]

ในปี 1990 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนกัศมีร์ได้ประกาศท้าทายให้ใครก็ตามไปแขวนธงชาติที่ลาลเจาก์ หองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติรับคำท้านี้และนำธงชาติอินเดียขึ้นแขวนที่ลาลเจาก์[1] หอนาฬิกา (ฆัณฏาฆัร) กลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางการเมืองในปี 1992 เมื่อหัวหน้าพรรคบีเจพี มุรลี มโนหัร โชษี นำเอาธงชาติอินเดียห้อยลงบนยอดหอนาฬิกาเนื่องในวันสาธารณรัฐ[5][6] ร่วมกับกองทัพอินเดีย นับจากนั้นมา หองกำลังรักษาชายแดน และ กองกำลังตำรวจกลาง เป็นผู้จัดพิธีชักธงชาติอินเดียขึ้นที่หอนาฬิกาฆัณฏาฆัรเรื่อยมาจนถึงปี 2009 ซึ่งยกเลิกพิธีนี้ไปเพราะว่า "เป็นพิธีการที่ไม่มีความจำเป็น" เนื่องจากหอนาฬิกานี้ "ไม่มีความสำคัญใดในทางการเมือง"[7] นับจากนั้นมา พิธีชักธงในวันสาธารณรัฐและวันเอกราชได้เปลี่ยนไปจัดที่สนามกีฬาบากชี ในย่านวาฌีร์บาฆ (Wazir Bagh) แทน

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Nandal, Randeep Singh (26 January 2011). "All eyes on other R-Day march to Lal Chowk". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-01-28.
  2. Alkazi, Feisal (2014), Srinagar: An Architectural Legacy, Roli Books, p. 128, ISBN 9789351940517
  3. Ganai, Naseer (January 17, 201). "A 'minor' symbol of nationalism in Srinagar". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-10.
  4. ANI (7 August 2021). "Clock Tower at Srinagar's Lal Chowk illuminated in tricolour". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. "For 5 years, he unfurled the Tricolour at Lal Chowk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-15.
  6. LAL CHOWK TO LALAN COLLEGE, MODI MOCKS NEW DELHI
  7. Fazili, Ehsan (25 January 2016). "When BJP chief Joshi unfurled national flag at Lal Chowk". Tribuneindia News Service (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)