ลัลเลศวรี
ลัลเลศวรี | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 1320 กัศมีร์ (ปัจุบัน ศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย) |
เสียชีวิต | 1392 กัศมีร์ |
ชื่ออื่น | ลัลละ, ลัลเลศวรี, ลัลอารีฟา |
มีชื่อเสียงจาก | กวีนิพนธ์วาตสูน |
ลัลเลศวรี (อักษรโรมัน: Lalleshwari) หรือชื่อพื้นถิ่น ลาล ดยัด (แม่แบบ:IPA-ks, Lal Ded; ค.ศ. 1320–1392) เป็นรหัสยะชาวกัศมีร์ สำนักปรัชญาฮินดูสายไศวะกัศมีร์[1][2] เธอเป็นผู้ริเริ่มรูปแบบกวีนิพนธ์รหัสยะที่เรียกว่าวาตสูน หรือ วขฺ (Vakh) (จากสันสกฤต วกฺ) งานกวีนิพนธ์ของเธอเรียกว่า ลัลวัข (Lal Vakh) และเป็นงานเขียนชิ้นเก่าแก่ที่สุดของภาษากัศมีร์ และเป็นส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ของวรรกรรมภาษากัศมีร์ในปัจจุบัน[3][4] ผลงานและเรื่องราวชีวิตของเธอถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์แอบแฝงทางศาสนาและการเมืองเรื่อยมา รณชีต โฮสโกเต เคยระบุว่า[5] "สำหรับโลกภายนอกแล้ว ลัลไดดเป็นบุคคลในวงการวรรณกรรมและจิตวิญญาณที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากกัศมีร์; ในกัศมีร์เอง เธอก็เป็นที่เคารพบูชาจากทั้งชาวฮินดูและมัสลิมมานานนับเจ็ดศตวรรษ [...] ที่ซึ่งเธอไม่ถูกนำมาใช้เป็นของศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเอกเทศ แต่นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมา ภายใต้ความขัดแย้งยาวนานและการเมืองในกัศมีร์ [...] เธอกลายเป็นลัลเลศวรีหรือลัลลโยคินีสำหรับชาวฮินดู และลัลอารีฟะสำหรับชาวมุสลิม เป็นที่น่าเศร้าใจมากที่ในทุกวันนี้ การอธิบายเกี่ยวกับเธอจะต้องเป็นแบบฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยที่ต้องกดทับคำอธิบายของอีกฝั่งไว้ มากขึ้นอีกเรื่อย ๆ"
ชื่ออื่นของเธอนอกจาก ลาล ดยัด (Lal Ded; "มารดาลัล" หรือ "มารดาลัลละ") เช่น ลัลไดด (Lal Dyad; Dyad แปลว่า "ย่า/ยาย"), ลัลละอารีฟะ (Lalla Aarifa), ลัลดิดดี (Lal Diddi), ลัลเลศวรี (Lalleshwari), ลัลลโยคีศวรี หรือ ลัลลโยเคศวรี (Lalla Yogishwari/Yogeshwari) และ ลลิศรี (Lalishri)[6][7][8][9]
บทกวีของลัลเลศวรีเป็นหนึ่งในงานเขียนภาษากัศมีร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ และเขียนโดยใช้ภาษากัศมีร์ที่เริ่มแยกออกมาจากภาษาอปภรังศ์-ปรากฤต (Apabhramsa-prakrit) ในอินเดียเหนือ[10] มีบทกวีรวม 285 บท ที่ระบุว่าเขียนขึ้นโดยลัลเลศวรี[5] งานเขียนของเธอใช้แนวคิดอย่างไศวะแบบกัศมีร์ ที่ซึ่งรู้จักในชื่อตริกา จนถึงปี 1900[11]
หลักฐานลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกที่เขียนถึงชีวิตของลัลเลศวรีอยู่ใน Tadhkirat-ul-Arifin (ค.ศ. 1587) โดย Mulla Ali Raina และใน Asrar ul-Akbar (ค.ศ. 1654) โดย Baba Daud Mishkati ซึ่งระบุว่าลัลเศวรีเป็นสันตะรหัสยะ ปรากฏตัวให้รักเดินทางไปตามป่าเขาได้พบเห็น[5] ส่วนใน Tarikh-i-Azami (ค.ศ. 1736) โดย Khwaja Azam Diddamari มีระบุข้อมูลลงรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเธอ[5] นอกจากนี้ยังพบเรื่องราวชีวิตของเธอในจดหมายเหตุเปอร์เซีย Waqiati-e-Kashmir (ค.ศ. 1746) ซึ่งระบุว่าเธอมีชื่อเสียงมากในรัชสมัยของสุลต่าน Alau-ud-din (ค.ศ. 1343–54) และเสียชีวิตในรัชสมัยของสุลต่าน Shihab-ud-din (ค.ศ. 1354–73)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. G. Chitkara (1 January 2002). Kashmir Shaivism: Under Siege. APH Publishing. pp. 14–. ISBN 978-81-7648-360-5.
- ↑ Kaul, Shonaleeka (October 16, 2020). "Remembering Lal Ded, the Kashmiri Yogini". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ Lal Vakh online เก็บถาวร 11 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Lal Ded's Vakhs
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 I, Lalla: The Poems of Lal Ded, translated by Ranjit Hoskote with an Introduction and Notes, Penguin Classics, 2011, p. xiv ISBN 978-0-670-08447-0.
- ↑ Paniker, K. Ayyappa (1997). Medieval Indian Literature: Surveys and selections (ภาษาอังกฤษ). Sahitya Akademi. ISBN 978-81-260-0365-5.
- ↑ Richard Carnac Temple (1 August 2003). Word of Lalla the Prophetess. Kessinger Publishing. ISBN 978-0-7661-8119-9.
- ↑ Lal Ded www.poetry-chaikhana.com.
- ↑ Lal Ded เก็บถาวร 19 กันยายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.radiokashmir.org.
- ↑ Ded, Lal; Laldyada (2013). I, Lalla: The Poems of Lal Ded (ภาษาอังกฤษ). Penguin. pp. x. ISBN 978-0-14-342078-1.
- ↑ Toshkhani, S.S. (2002). Lal Ded : the great Kashmiri saint-poetess. New Delhi: A.P.H. Pub. Corp. ISBN 81-7648-381-8.
- ↑ Laldyada (2007). Mystical Verses of Lallā: A Journey of Self Realization (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publishe. p. 4. ISBN 978-81-208-3255-8.