ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน (อังกฤษ: German Expressionism) เป็นแขนงของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน โดยนายหน้าค้างานศิลปะที่ชื่อว่า Paul Cassirer มีกระแสการทำงานศิลปะที่ต้องการเน้นย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างลัทธิสำแดงพลังอารมณ์และลัทธิประทับใจ

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ เป็นศิลปะที่มีความสำคัญและมีอำนาจจูงใจอย่างมากมายเกินคาด แพร่กระจายไปยังวรรณกรรม ละคร งานออกแบบ การเต้นรำ ภาพยนตร์รวมไปถึงงานสถาปัตยกรรม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถูกจำกัดอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากช่วงเวลาทั้งหมดของพัฒนาการทางด้านศิลปะ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถือเป็นคำพ้องความหมายของศิลปะสมัยใหม่โดยทั่วไป ในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่า ศิลปินได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเราพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาจุดเด่นของศิลปินแต่ละคนจากรูปแบบงานศิลปะที่หลากหลายทั้งหมดของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีศิลปินที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์อยู่จำนวนมาก

การริเริ่มและจุดกำเนิด

[แก้]

วาสสิลี แคนดินสกี (อังกฤษ: Wassily Kandinsky) ถือได้ว่าเป็นผู้วางรากฐานศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันที่สำคัญที่สุด เพราะงานศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ของเขา นำไปสู่ศิลปะแนวแอ็บสแตรค ถือเป็นผลงานศิลปะที่มีความสอดคล้องกัน ในทางกลับกันที่สถาบันเบาเฮาส์ (เยอรมัน: Bauhaus) ก็มีการแถลงการณ์ เป็นการเริ่มก่อตั้งสถาบันศิลปะ ที่ตอบสนองความต้องการรูปแบบของการใช้งานคู่ขนานไปกับความชัดเจนในด้านรูปทรง

สิ่งที่ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันได้แสดงออกคือความง่าย พวกเขาแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ทางธรรมชาติ อยู่ภายใต้พื้นฐานจังหวะของธรรมชาติ พวกเขาสร้างดินแดนในอุดมคติ สร้างโลกที่ตรงกันข้ามกับโลกที่สังคมกำหนด ต่อต้านกระบวนการของระบบอุตสาหกรรมและรัฐบาล ต่อต้านระบบการเมืองการปกครอง และงานศิลปะที่ถูกครอบงำด้วยการสร้างงานแบบศิลปะลัทธิประทับใจจาก Berlin Secession ภายใต้การควบคุมของประธานาธิบดี Max Liebermann และในช่วงปี 1914 Berlin Secession เรียกร้องที่จะเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของศิลปะสมัยใหม่ในเยอรมนี ทำให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ความรู้สึกไม่พอใจ

แต่อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความผิดพลาดอย่างสมบูรณ์ที่จะพูดถึงรูปแบบของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน ด้วยการพิจารณาจากคุณสมบัติพื้น ๆ โดยทั่วไป เพราะงานศิลปะของ เคียร์คเนอร์ (เยอรมัน: Ludwig Kirchner), วาสสิลี แคนดินสกี (อังกฤษ: Wassily Kandinsky), โคคอซกา (เยอรมัน: Oskar Kokoschka) และ ดิกซ์ (เยอรมัน: Otto Dix) มีความแตกต่างกัน งานศิลปะของพวกเขาไม่ใช่งานศิลปะที่มีความสัมพันธ์กันทางด้านระบบสัญลักษณ์แบบเครือญาติ แต่เป็นที่แน่ชัดว่าพวกเขาคือคนวัยหนุ่มสาวยุคใหม่ ผู้ซึ่งไม่ยอมรับในที่เหนือกว่าอำนาจของสังคมและโครงสร้างทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันได้รับอิทธิพลอย่างมาก จากงานของ ฟินเซนต์ ฟัน โคค (Vincen van Gogh), ปอล โกแก็ง (Paul Gaugain), โครแบร์ เดอลาเนย์ (Robert Delaunay), เจมส์ เอนเซอร์ (James Ensor) และเอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ได้รับแนวคิดในการทำงานศิลปะมาจากชีวิตและสังคมของศิลปินเหล่านี้

กลุ่มศิลปินในกระแส ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน

[แก้]

สถาบันของกลุ่มศิลปิน เดอะ บริดจ์ แห่งเมืองเดรสเดิน (เยอรมัน: Dresden) ในปี 1905 ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปให้เป็นรากฐานสำคัญแรก ของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน ถือเป็นการปฏิวัติศิลปะหลังสถานการณ์ที่ไม่สงบในปี 1920 ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดจบของการเคลื่อนไหวทางศิลปะในเยอรมนี แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้หมายความว่าหลังจากปี 1920 ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ได้หยุดการเคลื่อนไหวในงานศิลปะ วรรณกรรมและสถาปัตยกรรมลงไปในทันที และช่วงเวลาระหว่างปี 1905 -1920 ก็เป็นเพียงการกำหนดช่วงเวลาทางการเมืองและสถานการณ์ทางสังคมเท่านั้น ช่วงเวลาที่พวกเขาค้นพบแนวทางการทำงานศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ในช่วงเวลาที่บ้านเมืองไม่เป็นปกติ

เดอะ บลู ไรเดอร์ (เยอรมัน: The Blaue Reiter) และศิลปินในกลุ่ม ไรน์นิช ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (อังกฤษ: Rhenish Expressionism) ได้ยึดเอาทฤษฎีสีของ โครแบร์ เดอลาเนย์ (Robert Delaunay) มาใช้ ในขณะที่ศิลปินในกลุ่ม เดอะ บริดจ์ เทิดทูน เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard munch) และ เจมส์ เอนเซอร์ (James Ensor) ผู้ซึ่งพยายามจะหลีกหนีวิธีการการรับรู้ความเป็นจริงผ่านทางกายภาพ ไปสู่การรับรู้ทางจิตวิทยา ศิลปินในกลุ่มเดอะ บริดจ์ มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับศิลปินในกลุ่มโฟวิสต์ (ฝรั่งเศส: Les Fauves) อย่าง เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard munch) เนื่องจากพวกเขาได้พยายามที่จะกำหนดตำแหน่งของตนเองให้เป็นกลุ่มศิลปินที่ความเป็นอิสระทางศิลปะ

การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเดอะ บริดจ์ แห่งเมืองแห่งเมืองเดรสเดิน (เยอรมัน: Dresden) และกลุ่ม เดอะ บลู ไรเดอร์ แห่งเมืองมิวนิก (อังกฤษ: Munich:เยอรมัน: München) คือตัวอย่างความหลากหลายของศิลปะกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ มีเพียงศิลปินในกลุ่ม เดอะ บริดจ์ เท่านั้นที่ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ศิลปินภายในกลุ่มทำงานร่วมกันและอยู่อาศัยด้วยกัน ในทางตรงกันข้ามกลุ่มเดอะ บลู ไรเดอร์ เป็นชื่อที่ไม่เคยถูกเลือกให้เป็นชื่อกลุ่มของศิลปิน

แท้จริงแล้วที่มาดั้งเดิมของกลุ่ม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันเหนือ มาจากถ้อยแถลง ของ วาซซิลลี คานดินสกี้ (Wassily Kandinsky) และฟรานซ์ มาร์ก (อังกฤษ: Franz Marc) ในทางตรงกันข้ามกลุ่มศิลปิน เดอะ บริดจ์ ใช้เวลาของพวกเขากับการสะท้อนให้เห็นสิ่งที่พวกเขาทำและจุดมุ่งหมายทางศิลปะของพวกเขาเพียงน้อยนิด แต่พวกเขาพยายามที่จะหยิบเอาประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของพวกเขาถ่ายทอดลงสู่ผลงานโดยตรง

อ้างอิง

[แก้]
  • Stephanie Barron. German expressionism (Munich : Prestel),1988.
  • Dietmar Elger. Expressionism (Koln : Taschen),2002.
  • โวล์ฟ, นอร์แบร์ท. ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (กรุงเทพฯ : เดอะเกรทไฟน์อาร์ท),2552.