ลัทธิมาลินดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสงฆ์ข่าวดีนานาชาติ
กลุ่มขบวนการศาสนาใหม่
เชื่อในวันสิ้นโลก, ต่อต้านตะวันตก
ความโน้มเอียงลัทธิแบรนแฮม
ผู้นำพอล นเตงเง แม็กเคนซีย์ (Paul Nthenge Mackenzie, 2003–ปัจจุบัน)
ภูมิภาคมณฑลกีลีฟี ประเทศเคนยา
ผู้ก่อตั้งพอล นเตงเง แม็กเคนซีย์
ต้นกำเนิด2003
สิ้นสุด2019 (ศาสดาอ้าง)
2023 (ตำรวจอ้าง)
เว็บไซต์ทางการgoodnewsintlministries.blogspot.com

คณะสงฆ์ข่าวดีนานาชาติ (อังกฤษ: Good News International Ministries; GNIM) หรือรู้จักทั่วไปในชื่อ ลัทธิมาลินดี (อังกฤษ: Malindi cult) หรือชื่อเดิม คณะสงฆ์ผู้รับใช้ พี.เอ็น. แม็กเคนซีย์ (Servant P. N. Mackenzie Ministries) เป็นขบวนการศาสนาใหม่ที่มีศูนย์กลางที่ชากาโฮลา มณฑลกีลีฟี ประเทศเคนยา ก่อตั้งขึ้นโดยพอล นเตงเง แม็กเคนซีย์ (Paul Nthenge Mackenzie) กับภรรยาคนแรก ในปี 2003[1]

กลุ่มนี้กลายมาเป็นที่สนใจในระดับนานาชาติในเดือนเมษายน 2023 หลังมีการเปิดเผยอ้างโทษว่าแม็กเคนซีย์ได้สั่งให้สมาชิกของลัทธิทำการฆ่าตัวตายหมู่โดยการอดอาหารเพื่อจะได้ "พบพระเยซู" เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 110 ราย กลุ่มศาสนาใหม่นี้มักถูกบรรยายว่าเป็นลัทธิบูชา (cult)[1][2][3] มีแนวคิดต่อต้านตะวันตกอย่างสุดโต่ง โดยสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตทั้งบริการการแพทย์, การศึกษา และกีฬา ถูกมองว่าเป็น "ปิศาจของชีวิตแบบตะวันตก" และตัวแม็กเคนซีย์เองยังกล่าวประณามสหรัฐอเมริกา, สหประชาชาติ ไปจนถึงคริสต์จักรคาทอลิก ว่าเป็น "เครื่องมือของเซตาน" คำสอนส่วนใหญ่ของกลุ่มมุ่งเน้นไปที่วันสิ้นโลก และเป็นสาวกของ "วาทะวันสิ้นโลก" (End-Time Message) ของวิลเลียม แบรนแฮม[2][4] นักสืบที่สอบสวนกรณีนี้ระบุว่ากลุ่มถูกชักจูงให้มีแนวคิดสุดขั้วและนำไปสู่ความตาย เป็นเพราะคำสอนของแบรนแฮม[5]

แม็กเคนซีย์ก่อตั้ง GNIM ขึ้นในปี 2003 และมีผู้ติดตามจำนวนพอสมควร เนื่องมาจากเขาอ้างกับคนเหล่านี้ว่าตนสามารถสื่อสารกับพระเป็นเจ้าได้โดยตรง[6] นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2010s เรื่อยมา กลุ่มของแม็กเคนซีย์เริ่มได้รับคลื่นความสงสัยระลอกใหม่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติภายใน ในปี 2017 แม็กเคนซีย์และภรรยาถูกหมายจับจำนวนมากเกี่ยวกับกลุ่มของเขา เขาต้องโทษปลุกปั่นให้นักเรียนละทิ้งการศึกษาหลังเขาประกาศว่าการศึกษาเป็น "สิ่งที่ขัดกับพระเจ้า" ("ungodly") รวมถึงการปฏิเสธบริการทางการแพทย์ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งเป็นผลให้มีเด็กเสียชีวิต ในปี 2017 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสามารถกู้ตัวเด็กรวม 93 คนออกมาจากลัทธิได้[7] หลังการจับกุมอีกครั้งในปี 2019 เขาได้หนีออกจากมาลินดี และมุ่งหน้าไปป่าชากาโฮลา ที่ซึ่งเกิดการอดอาหารหมู่ในปี 2023

แม็กเคนซีย์ไม่ได้เข้าร่วมการอดอาหารหมู่ครั้งนี้ และถูกทางการจับกุม[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Kenyan authorities find 39 bodies during investigation of religious cult leader". PBS NewsHour (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 23 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 24 April 2023.
  2. 2.0 2.1 Dickson, Wakesa (23 April 2023). "Kilifi Cult: Police so far discover 58 shallow graves". Mandy News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 April 2023.
  3. Obulutsa, George; Shirbon, Estelle (25 April 2023). "Kenya hunger cult deaths reach 89, minister prays survivors will 'tell the story'". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  4. Wampui, Peninah (24 April 2023). "11 Things you didn't know about Shakahola Pastor Mackenzie". Mpasho News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2023. สืบค้นเมื่อ 24 April 2023.
  5. Njoka, Sophia (27 April 2023). "Mackenzie: Cult leader who led legions to death". Peoples Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2023. สืบค้นเมื่อ 28 April 2023.
  6. "About Us". Good News Ministries. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2023. สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.
  7. Okwembah, Nehemiah. "Controversial preacher to close down church". The Standard (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2023. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.
  8. Kimeu, Caroline (2023-05-02). "Kenyan cult leader accused of inciting children to starve to death". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.