ร่างกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนฮ่องกง พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายผู้หนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2019 (จีน: 2019年逃犯及刑事事宜相互法律協助法例(修訂)條例草案; อังกฤษ: Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019) เป็นร่างกฎหมายที่มีการเสนอว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติผู้กระทำความผิดที่หลบหนี (Cap. 503) ที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการส่งตัวกลับเป็นพิเศษและข้อบัญญัติความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (Cap. 525) เพื่อให้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมายระหว่างฮ่องกงกับนอกฮ่องกงได้[1] รัฐบาลฮ่องกงเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพื่อตั้งกลไกสำหรับส่งตัวผู้กระทำความผิดไม่เฉพาะกับไต้หวันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่และมาเก๊า ซึ่งได้รับการยกเว้นตามกฎหมายปัจจุบันด้วย[2]

การเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวทำให้เกิดข้อวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกฮ่องกงจากวิชาชีพกฎหมาย องค์การนักหนังสือพิมพ์ กลุ่มธุรกิจ และรัฐบาลต่างประเทศด้วยเกรงว่าระบบกฎหมายของฮ่องกงและการคุ้มครองในตัวอาจถูกบ่อนทำลาย เช่นเดียวกับทำลายบรรยากาศธุรกิจของฮ่องกง มีการประท้วงต่อต้านร่างกฎหมายนี้หลายครั้งทั้งในฮ่องกงและนครอื่นนอกดินแดน วันที่ 9 มิถุนายน ผู้ประท้วงที่มีจำนวนโดยประมาณหลายแสนถึงกว่าหนึ่งล้านคนเดินขบวนตามท้องถนนและเรียกร้องให้ผู้บริหารสูงสุด แคร์รี หลั่ม ออกจากตำแหน่ง[3][4] วันที่ 15 มิถุนายน แคร์รี หลั่มประกาศว่าจะชะลอร่างกฎหมายนี้[5] การประท้วงดำเนินต่อไปโดยเรียกร้องให้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าวโดยสิ้นเชิงและให้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 4 กันยายน หลั่มให้คำมั่นอย่างเป็นทางการว่าจะยื่นญัตติถอนร่างกฎหมายหลังมีสมัยประชุมสภานิติบัญญัติใหม่[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tso, Timothy. "Legal Service Division Report on Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019" (PDF). Legislative Council of Hong Kong.
  2. "Fears over Hong Kong-China extradition plans". BBC. 8 April 2019.
  3. "Hong Kong pushes bill allowing extraditions to China despite..." Reuters. 10 June 2019. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  4. Wong, Chun Han (10 June 2019). "Beijing Digs in on Hong Kong Extradition Bill". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  5. "Hong Kong leader will suspend unpopular extradition bill indefinitely". Los Angeles Times. 15 June 2019.
  6. "Hong Kong leader withdraws extradition bill, sets up platform to examine protest causes". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  7. "As it happened: Protesters call bill withdrawal 'band-aid on rotting flesh'". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.