ข้ามไปเนื้อหา

ร็อด เคลเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร็อดนีย์ เฟรเดอริก เลโอโปลด์ เคลเลอร์
พลตรี ร็อดนีย์ เฟรเดอริก เลโอโปลด์ เคลเลอร์ เมื่อครั้งอยู่กับกองทัพแคนาดาในนอร์ม็องดี ณ วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1944
เกิด02 ตุลาคม ค.ศ. 1900(1900-10-02)
เทตบูรี กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต21 มิถุนายน ค.ศ. 1954(1954-06-21) (53 ปี)
แคว้นนอร์ม็องดี
รับใช้ประเทศแคนาดา
แผนก/สังกัดกองทัพบกแคนาดา
ชั้นยศพลตรี
บังคับบัญชากองทหารราบแคนาดาที่ 3
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จผู้บัญชาการแห่งจักรวรรดิอังกฤษ

พลตรี ร็อดนีย์ เฟรเดอริก เลโอโปลด์ เคลเลอร์ ซีบีอี (อังกฤษ: Major General Rodney Frederick Leopold Keller CBE; 2 ตุลาคม ค.ศ. 1900 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1954) เป็นนายทหารกองทัพบกแคนาดาที่มีชื่อเสียง โดยเป็นผู้บังคับบัญชาระดับกองพลในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้บัญชาการกองทหารราบแคนาดาที่ 3 บุกหาดจูโนระหว่างปฏิบัติการดีเดย์

ภูมิหลัง

[แก้]

ร็อด เคลเลอร์ เข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัยการทหาร ที่คิงส์ตัน รัฐออนแทรีโอ ในปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ครั้นเมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้เข้าร่วมกรมทหารราบเบาแห่งองค์หญิงแพทริเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทหารของกองกำลังถาวรแห่งประเทศแคนาดา เช่นเดียวกับนายทหารชาวแคนาดาอีกหลายคนในยุคนั้น เขาได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยเสนาธิการทหาร แคมเบอร์รี

ราชการสงคราม

[แก้]

เมื่อประเทศแคนาดาเข้าสู่สงคราม ร็อด เคลเลอร์ ได้รับการส่งตัวไปนอกประเทศในฐานะนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลน้อย เขาได้รับคำสั่งจากกรมทหารราบเบาแห่งองค์หญิงแพทริเซียในปี ค.ศ. 1941 และไม่กี่เดือนต่อมา ก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นทหารผู้บัญชาการกองทหารราบแคนาดาที่ 1 เคลเลอร์ได้เป็นพลตรีและระหว่างวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1942 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เขาทำหน้าที่เป็นนายพลผู้บังคับบัญชากองทหารราบแคนาดาที่ 3 พลตรีเคลเลอร์ได้รับความนิยมจากกองกำลังของเขา โดยชื่นชมกิริยาอาการและภาษาที่ตรงไปตรงมาของเขา อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการดื่มและการละเมิดมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายครั้งก่อนดีเดย์ ส่งผลให้เขาสูญเสียการสนับสนุนทั้งจากนายทหารระดับสูงและลูกทีม[1]

ในช่วงเดือนแรกที่แคว้นนอร์ม็องดี ได้มีการสังเกตว่าเขา"อกสั่นขวัญแขวนและกระสับกระส่าย"[2] หัวหน้าทีมในกองกำลังอังกฤษที่ 1 และกองกำลังอังกฤษที่ 2 พิจารณาว่าเขาไม่เหมาะที่จะเป็นผู้บัญชาการกองกำลัง แต่พลโทกาย ไซมอนส์ ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกคำสั่งกองกำลังแคนาดาที่ 2 เข้าประจำการในแคว้นนอร์ม็องดี ได้ตัดสินใจให้เขาเกิดความโล่งใจ โดยปฏิเสธการลาออก ซึ่งเคลเลอร์เองก็ยอมรับกับความเครียด ระหว่างการรบที่ก็อง เคลเลอร์ควบคุมปฏิบัติการวินด์เซอร์ได้ไม่ดี ในการส่งกองกำลังเสริมเข้ามาเพื่อจัดการกับกองพล และมอบอำนาจการวางแผนให้แก่หนึ่งในกองพันของเขา[1] เคลเลอร์ยังเป็นที่ทราบกันว่ามีความประหม่าในเดือนสิงหาคม และข่าวลือเริ่มแพร่กระจายออกไปในส่วนที่ว่า"เคลเลอร์เป็นคนขลาด"[3]

แม้จะมีการร้องเรียนต่อจากเบื้องบนและเบื้องล่าง ไซมอนส์ และพลเอกแฮรี คีราร์ ที่เขาชื่นชม ต่างก็ปฏิเสธที่จะปลดตำแหน่ง ทว่า เคราะห์กรรมแทรกแซงเมื่อเขาถูกยิงจากพวกเดียวกันในวันที่ 8 สิงหาคม เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐได้ทิ้งระเบิดแบบปูพรมระหว่างปฏิบัติการโททอลไลซ์ เคลเลอร์จึงไม่ได้รับคำสั่งทางทหารอีกต่อไป เขาเสียชีวิตในสิบปีต่อมา (ค.ศ. 1954) ขณะเยี่ยมเยือนแคว้นนอร์ม็องดี

มรดกสืบทอด

[แก้]

จากการเข้าศึกษาที่ราชวิทยาลัยการทหารแห่งประเทศแคนาดาในปี ค.ศ. 1917 ได้มีการนำเสนอภาพสีน้ำมันหมายเลข 1341 เป็นภาพพลตรี ร็อด เคลเลอร์ ในปี ค.ศ. 1965 [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Reid, Brian No Holding Back.
  2. C.P. Stacey, Official History of the Canadian Army in the Second World War Volume II: The Victory Campaign.
  3. Granatstein, Jack. The Generals.
  4. Class of 1965 Review, Royal Military College page 191

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]