ข้ามไปเนื้อหา

รูปขบวนลิ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพเรือสหรัฐ จัดรูปกระบวนลิ่ม

กระบวนทัพรูปลิ่ม คือการจัดกำลังพลเชิงยุทธวิธีที่มีรูปแบบคล้ายลิ่มหรือหัวหอก การจัดกระบวนทัพแบบนี้มีใช้ทั้งในกองทัพและตำรวจปราจลาจล

การใช้งานในกองทัพ

[แก้]
หลักทางยุทธวิธีของกระบวนทัพรูปลิ่ม

หลักการทำงานของกระบวนทัพรูปลิ่มคือการใช้ตำแหน่งหัวลิ่มแหวกแนวข้าศึกให้แตกออก แล้วใช้ทหารที่หนุนเข้ามาฉีกให้แนวแตกให้กว้างขึ้น แถวของกระบวนทัพที่หนุนเนื่องเข้ามานั้นทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนเนื่องจากไม่รู้ว่าจะรับมือกับทหารนายไหนดีและเสียประสิทธิภาพในการรบเนื่องจากความสับสนในที่สุด

กระบวนทัพนี้มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม โดยเฉพาะเมื่อใช้โดยทหารราบติดอาวุธหนักหุ้มเกราะเพื่อต่อต้านแนวรับแบบกระบวนทัพกำแพงโล่ที่ฝ่ายตั้งรับใช้โล่สร้างแนวกำแพงหนาแน่นไร้รอยแยก อย่างที่ใช้ในยุทธการแอสทิงส์ กระบวนทัพรูปลิ่มอาจจะใช้ตีรอยแตกของแนวรบข้าศึกแล้วเข้ากระหนาบจากด้านหลัง

ความสำเร็จของกระบวนทัพนี้อยู่ที่ความหนุนเนื่องและการเข้าแทรก ถ้าหัวกระบวนถูกสกัดเอาไว้ได้ ก็สามารถถูกฝ่ายตั้งรับเคลื่อนที่เข้าโอบทางปีกทั้งสองข้างได้โดยง่าย กระบวนทัพรูปลิ่มนี้ยังคงใช้กันมาจนปัจจุบัน โดยเฉพาะรถถังและหน่วยหุ้มเกราะอื่นๆ

การใช้งานในยุคโบราณและยุคกลาง

[แก้]

ในยุคโบราณนั้น กระบวนทัพรูปลิ่มถูกใช้โดยทั้งทหารราบและทหารม้า โดยทหารจะจัดกระบวนทัพให้เป้นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า โดยมีด้านปลายแหลมเป็นผู้นำกระบวน ตามคำกล่าวอ้างของอาร์เรียนและแอสเซลปิโดตุส กระบวนทัพรูปลิ่มถูกใช้ครั้งแรกโดยชาวซายเทียนและชาวทราเชียนตามลำดับ กษัตริย์ฟิลิปที่สองแห่งมาเซโดเนียทรงรับเอากระบวนทัพนี้มาประยุคใช้เข้ากับทหารม้าแชมเปียนของพระองค์ การประยุกต์การบวนทัพนี้ทำให้สามารถที่จะซัดอาวุธยิงเข้าที่จุด ๆ เดียวเพื่อชดเชยความกว้างหน้ากระดานที่จำกัด ซึ่งนอกจากทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าประจันบาณสูงขึ้นแล้ว ยังมีประสิทธิภาพในโจมตีด้วยอาวุธขว้างเช่นแหลนจาวีลีนและขวาน จากระยะไกลเพิ่มขึ้นอีกด้วย การนำกระบวนทัพรูปลิ่มมาประยุกต์ใช้กับทหารราบนั้น ฟอนทิอุสได้นำกระบวนทัพนี้มาทดลองใช้กับกองทัพโรมันในพิดนาเพื่อต่อต้านกษัตริย์เพอซิอุสมาเซโดเนีย กระบวนทัพนี้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลโดยกองทหารลีเจียนแห่งโรมัน ในการทัพหลาย ๆ การทัพบนเกาะบริเตน ตัวอย่างเช่นยุทธการ วอตลิง สตรีท เมื่อฝ่ายโรมันที่มีจำนวนน้อยกว่ามากใช้ในการพิชิตเผ่าไอซีนิโดยฝ่ายโรมันสามารถสังหารข้าศึกได้ประมาณแปดหมื่นในขณะที่ฝ่ายโรมมันเสียทหารเพียงสี่ร้อย[1]

เซโซ แกรมมาติคัสได้บรรยายถึงกระบวนทัพรูปลิ่มที่ใช้โดยทหารราบเอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบในงานของเขา "Gesta Danorum" โดยเขากล่าวว่ากระบวนทัพนี้ประกอบด้วยแถวหน้ากระดานสิบแถว แถวหน้าสุดมีทหารสองนายและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แถวลาสองนาย ดังนั้น กระบวนทัพรูปลิ่มของชาวไวกิ้งประกอบไปด้วยทหาร 110 นาย โดยแถวหน้าสุดมีทหารสองนายและแถวสุดท้ายยี่สิบนาย ตามความเชื่อของชาวไวกิ้ง โอดีนคือผู้คิดค้นกระบวนทัพนี้

จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ นิเคฟอรอสที่สองทรงวิเคราะห์กระบวนทัพรูปลิ่มของทหารม้าคาตาแฟรตเอาไว้ในบทที่สามของพระราชนิพนธ์ของพระองค์ Praecepta Militaria โดยทรงระบุว่ากระบวนทัพรูปลิ่มควรจะใช้คาตาแฟรต 354 นาย และทหารม้าธนู 150 นายรวมเป็นทหาร 504 นาย โดยแถวแรกใช้ทหาร 20 นาย และเพิ่มจำนวนทหารแถวละสี่นาย โดยแถวที่สิบสองซึ่งเป็นแถวสุดท้ายจะมีทหาร 64 นาย ถ้าจำนวนทหารไม่พอ พระองค์ทรงระบุไว้ว่าให้ใช้ทหารมาคาตาแฟรต 304 นาย และทหารม้าธนู 80 นาย รวมทั้งหมดเป็น 384 นาย ในพระราชนิพนธ์บทถัดมา ทรงระบุพระบรมราชโองการเอาไว้ว่า จะต้องมีหน่วยทหารม้าสองหน่วยเพื่อคุ้มกันทางข้าง

กระบวนทัพรูปลิ่มที่บริเวณตรงกลางกระบวนไม่เต็มจนเป็นรูป Λ แทนที่จะเป็นรูป Δ นั้น เรียกว่ากระบวนทัพลิ่มกลวง

ภาพจำลองตำรวจปราบจลาจลเจ็ดนายตั้งกระบวนรูปลิ่ม

การใช้งานของตำรวจ

[แก้]

บางครั้งตำรวจปราจลาจลใช้กระบวนทัพรูปลิ่มเพื่อกา่รแหกงเข้าไปในฝูงผู้ชุมนุมที่แน่นหนาเพื่อจับกุมผู้นำหรือผุ้พูด หรือเพื่อสลายริ้วกระบวนผู้ชุมนุมออกเป็นส่วนๆ

อื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tacitus, Annals 14.37