ข้ามไปเนื้อหา

รุ้งหมอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ้งหมอกที่สถานีซัมมิต กรีนแลนด์

รุ้งหมอก หรือบางครั้งเรียก รุ้งสีขาว[1] เป็นปรากฏการณ์คล้ายรุ้งกินน้ำ แต่เกิดขึ้นกับหมอก[2] รุ้งหมอกมีสีอ่อนมากเมื่อเทียบกับรุ้งกินน้ำ เนื่องจากละอองน้ำที่ก่อตัวเป็นหมอกมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 0.05 มิลลิเมตร) รุ้งหมอกมีด้านนอกเป็นสีแดง และด้านในเป็นสีน้ำเงิน[3]

รุ้งหมอกปรากฏด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ[4] สาเหตุที่รุ้งหมอกมีสีอ่อนกว่ารุ้งกินน้ำมาจากละอองน้ำมีขนาดเล็กมาก ส่งผลให้ไม่สามารถผ่านและหักเหแสงจนได้สีที่เด่นชัด ดังนั้นสีของรุ้งหมอกจึงซ้อนทับและกลืนเป็นสีเดียวกันคือสีขาว[5] ละอองน้ำเหล่านี้ยังมีส่วนทำให้รุ้งหมอกมีความหนาและปรากฏใกล้กับพื้นดินมากกว่ารุ้งกินน้ำ เนื่องจากละอองน้ำขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถหักเหแสงได้มาก แต่ส่งผลให้แสงเลี้ยวเบนจนเกิดเป็นวงที่มีสีซ้อนทับเป็นสีขาว[6] ซึ่งบางครั้งปรากฏเป็นวงกลม 360°

รุ้งหมอกสามารถเกิดกับเมฆและสังเกตได้จากเครื่องบิน เรียกว่า รุ้งเมฆ (cloud bow) และสามารถปรากฏในตอนกลางคืนจากแสงจันทร์ เรียกว่า รุ้งหมอกจันทรา (lunar fog bow)[7]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Amazing white rainbow snapped over Scottish moor". BBC News Online. BBC. 22 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
  2. "What is a fogbow?". metoffice.gov.uk/. Met Office. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
  3. ดูที่:
  4. Byrd, Deborah (July 18, 2021). "Fogbows are rainbows' cousins". EarthSky. สืบค้นเมื่อ September 4, 2021.
  5. Prociv, Kathryn (December 28, 2016). "The science behind this ghostly white 'fog bow'". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ September 4, 2021.
  6. Cheng, Selina (December 2, 2016). "Fog bows: the science behind this beautiful white rainbow". Quartz. สืบค้นเมื่อ September 4, 2021.
  7. Lunar Fogbow