เงาบร็อคเคิน

เงาบร็อคเคิน (อังกฤษ: Brocken spectre; เยอรมัน: Brockengespenst) เป็นเงาขนาดใหญ่ของผู้สังเกตที่ฉายบนเมฆด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนหัวของเงามักล้อมรอบด้วยวงแหวนสีรุ้งคล้ายเฮโล ซึ่งเกิดจากแสงอาทิตย์ถูกหักเหโดยละอองน้ำในอากาศและกระเจิงกลับ
เงาบร็อคเคินสามารถเกิดได้กับภูเขาที่ปกคลุมด้วยหมอก หรือกับเมฆปื้น สามารถสังเกตเห็นได้จากบนเครื่องบิน ชื่อปรากฏการณ์มาจากยอดเขาบร็อคเคินบนภูเขาฮาทซ์ทางตอนเหนือของเยอรมนี ซึ่งมักเกิดปรากฏการณ์นี้จนมีตำนานท้องถิ่น โยฮัน ซิลเบอร์ชลาค นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันสังเกตและบรรยายถึงปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1780[1]
การเกิด[แก้]
เงาที่ปรากฏเกิดจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมาจากด้านหลังผู้สังเกตที่มองลงมาจากที่สูงไปที่หมอกหรือหมอกน้ำค้าง[2] แสงจะฉายภาพเงาที่มักมีรูปร่างสามเหลี่ยมผ่านหมอก[3] เงาขนาดใหญ่เป็นภาพลวงตาที่ผู้สังเกตรับรู้ผิดพลาดว่าเงานั้นอยู่ในระยะเดียวกับวัตถุที่อยู่ไกลออกไป[4] หรือไม่มีจุดอ้างอิงถึงขนาด[5] นอกจากนี้เงายังทอดบนละอองน้ำในระยะต่างกัน จึงทำให้เกิดความสับสนทางการรับรู้ความใกล้ไกล[6] เงาดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวได้ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของเมฆ หรือความหนาแน่นของเมฆ
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เงาบร็อคเคิน |
- ↑ Rudd, Damien (2017). Sad Topographies. New York City, United States: Simon and Schuster. ISBN 9781471169304.
- ↑ McKenzie, Steven (17 February 2015). "Shades of grey: What is the brocken spectre". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
- ↑ "Brocken spectre". atoptics.co.uk.
- ↑ "Brocken spectre". Britannica. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
- ↑ Byrd, Deborah (May 24, 2019). "What Is The Brocken Spectre?". EarthSky. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
- ↑ "Brocken spectre". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
บทความเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |