รุวันแวลิแสยะ

พิกัด: 8°21′0″N 80°23′47″E / 8.35000°N 80.39639°E / 8.35000; 80.39639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุวันแวลิแสยะ
රුවන්වැලි මහා සෑය
พระสถูปรุวันแวลิแสยะ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
ประเทศประเทศศรีลังกา
รุวันแวลิแสยะตั้งอยู่ในศรีลังกา
รุวันแวลิแสยะ
ที่ตั้งในศรีลังกา
พิกัดภูมิศาสตร์8°21′0″N 80°23′47″E / 8.35000°N 80.39639°E / 8.35000; 80.39639
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งกษัตริย์ทุฏฐคามณี
เสร็จสมบูรณ์ราว 140 ปีก่อนคริสต์กาล

รุวันแวลิมหาแสยะ (อักษรโรมัน: Ruwanweli Maha Seya) หรือ สวัณณมาลีมหาเจดีย์ (ภาษาบาลี: Svaṇṇamāli Mahaceti) เป็นพระสถูปในอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวนหนึ่งโทณะ ซึ่งถือเป็นจำนวนของพระบรมธาตุที่มากที่สุดในโลก[1] สถูปนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์สิงหล ทุฏฐคามณี เมื่อราว 140 ปีก่อนคริสต์กาล

สถูปรุวันแวลิปรากฏบันทึกการก่อสร้างและพิธีเปิดอยู่ในคัมภีร์มหาวงศ์ สถูปรุวันแวลิเป็นหนึ่งใน "โสฬสมัสถาน" (หรือ 16 ปูชนียสถาน) และ "อฏมัสถาน" (หรือ 8 ปูชนียสถาน) รวมถึงเป็นหนึ่งในอนุสรณ์ที่สูงที่สุดในโลกยุคโบราณ ด้วยขนาดความสูง 103 m (338 ft) และเส้นรอบวงที่ฐานขนาด 290 m (951 ft) สถูปองค์แรกเริ่มมีขนาดสูง 55 m (180 ft) และต่อมามีการบูรณะโดยกษัตริย์หลายคน ในเมืองซะไกง์ ประเทศพม่า มีการสร้างสถูปจำลองจากรุวันแวลิ คือเจดีย์กองมุดอ[2]

ในศตวรรษที่ 19 สถูปมีลักษณะถูกปกคลุมด้วยพืชรกทึบ ภายหลังได้มีการระดมทุนโดยภิกษุจนนำไปสู่การบูรณะครั้งใหญ่ในต้นศตวรรษที่ 20 รวมถึงมีการตั้งสมาคมบูรณปฏิสังขรณ์รุวันแวลิแสยะขึ้นเพื่อระดมทุน โดยมีผู้บริจาคคนสำคัญคือเศรษฐีใจบุญ เฮนดริก อัปปุหามี (Hendrick Appuhamy) ซึ่งบริจาคเงิน 20 ล้านรูปี ในปี 1912 (คิดเป็นเงิน 611 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปรับตามค่าเงินเฟ้อในปี 2021)[3] ยอดมงกุฏประดับเพชรของสถูปนำขึ้นไปประดิษฐานในปี 1940 และครั้งล่าสุดในปี 2019

ตำนาน[แก้]

ตามหลักฐานในคัมภีร์มหาวงศ์ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งจักรวรรดิโมริยะ เลือกที่จะไม่ไปนำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากบรรดานาคที่รามคราม (Ramagrama) ตามคัมภีร์ระบุว่าเมื่อครั้นจะเสด็จปรินิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสกล่าวเป็นลางว่าพระอัฐิของพระองค์จะแบ่งออกเป็นแปดโทณะ (dona; หรือ ทะนาน) หนึ่งในนี้จะนำไปบูชาโดยโกลิยะแห่งรามคราม จากนั้นจะมาอยู่เป็นของนาค ก่อนที่จะมาประดิษฐานในดินแดนลังกา พระเจ้าอโศกมหาราชได้รับรู้เรื่องนี้จากพระอรหันต์รูปหนึ่ง ซึ่งระบุว่าการประดิษฐานในดินแดนลังกาในอนาคตจะมีกษัตริย์ทุฏฐคามณีเป็นผู้อัญเชิญไปยังลังกา[4]

ในคัมภีร์ถูปวงศ์ มีการระบุถึงสิ่งมีชีวิตมากมายที่มาเข้าร่วมฉลองการประดิษฐานของพระธาตุในมหาสถูปที่ลังกา เช่น กษัตริย์แห่งนาค มหากาลา (Mahakala) พระธาตุได้อัญเชิญไปประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระวิศวกรรม และอัญเชิญลงมาโดยพระอินทร์ พระพรหมได้ถวายฉัตรล่องหนแห่งความเป็นเอกเทศ และกษัตริย์ Dutthagamani ได้ถวายฉัตรของตนเช่นกัน พระอรหันต์ อินทคุตตะ (Indagutta) ได้สร้างสิ่งคลุมรอบจักรวาลไว้ ไม่ให้มารเข้าใกล้ได้ และภิกษุสงฆ์สวดพระสุตตันตปิฎก กษัตริย์ทุฏฐคามณี อัญเชิญพระธาตุในหีบขึ้นเหนือหัวและเดินเข้าไปยังปะรำพิธีเพื่อประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ ทันใดนั้นพระธาตุลอยขึ้นในอากาศและปรากฏเป็นพระพุทธองค์ ซึ่งพร้อมไปด้วยลักษณะของมหาบุรุษทุกประการ พร้อมทั้งแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ไฟและน้ำ ในครั้นนี้มีเทวดาและมนุษย์ 120 ล้านคนที่บรรลุพระอรหันต์ จากนั้นพระธาตุจึงกลับสู่หีบและประดิษฐานบนสุวรรณอาสน์ภายในพระสถูปสืบมา[5]

ประวัติศาสตร์[แก้]

กษัตริย์ทุฏฐคามณี เรเป็นผู้เริ่มต้นการก่อสร้างพระสถูปนี้ กระนั้นสิ้นพระชนม์ไปก่อนที่จะแล้วเสร็จ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นไม่นานหลังสามารถพิชิตราชรัตจากโจฬะมาได้[6]: 130 

เมื่อครั้นโจฬะยึดนครอนุราธปรุะ สถูปไแ้รัขความเสียหาย แต่ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยของกษัตริย์ปรกรมพาหุที่หนึ่ง (1153–1187) ผู้พิชิตอินเดียใต้และทมิฬนาฑูได้[7] โดยใช้เชลยชาวทมิฬมาเป็นแรงงานในการบูรณปฏิสังขรณ์[8]: 280–282 

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Sunday Times".
  2. Myo Aung; H. Kraft’. Upper Myanmar Mandalay Pyin Oo Lwin Sagaing Monywa Mingun Mogok Shwebo. Books on Asia.
  3. Situge, Hemantha (2019-01-15). "Hemantha Situge: GAYAN CHANUKA VIDANAPAHIRANA's SWAMALI MAHA CHAITHYA WARNANAWA DAYAWANSA JAYAKODY PUBLISHERS 2015 ON SITUGE DON HENDRICK APPUHAMY ALIAS HENEGAMA APPUHAMY on his benevolence to RUWANWELISEYA". Hemantha Situge. สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.
  4. Strong 2007, p. 160-167.
  5. Strong 2007, p. 133.
  6. Encyclopedia of Sri Lanka. 2018. ISBN 1932705481.
  7. "IV". A Short History of Ceylon. ISBN 8120609468.
  8. Ancient Ceylon. ISBN 8120602080.

บรรณานุกรม[แก้]