รีวอิจิ คาวามูระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ริวอิจิ คาวามูระ)
รีวอิจิ คาวามูระ
河村隆一
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดคาวามูระ ริวอิจิ
รู้จักในชื่อRK
เกิด20 พ.ค. 2513 (อายุ 46)
ที่เกิดคานางาว่า ญี่ปุ่น
แนวเพลงป็อป, ร็อก ,บัลลาด
อาชีพนักดนตรี, นักร้อง ,นักประพันธ์
เครื่องดนตรีร้อง กีตาร์ เปียโน
ช่วงปีพ.ศ. 2532-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงAvex Entertainment
อดีตสมาชิกTourbillion
เว็บไซต์http://www.kawamura-fc.com

รีวอิจิ คาวามูระ (ญี่ปุ่น: 河村隆一โรมาจิKawamura Ryuichi) เป็นนักร้อง โปรดิวเซอร์ และนักประพันธ์ของญี่ปุ่นในเครือ เอเว็กซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ริวอิจิสร้างชื่อเสียงในฐานะนักร้องนำวงร็อกญี่ปุ่น ลูน่าซี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 จนถึงปี พ.ศ. 2543 ก่อนจะผันตัวเองเป็นศิลปินเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จมากคนหนึ่งของญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

วง ลูนาซี (LUNA SEA)[แก้]

รีวอิจิ คาวามูระ เริ่มเล่นดนตรีขณะเป็นนักเรียนและเป็นนักร้องนำของวง Slaughter ต่อมาได้รับการชักชวนจากอิโนะรันให้ไปร่วมตั้งวงดนตรีใหม่กับสุงิโซ เจ และชินยะ โดยทั้งห้าได้ใช้ชื่อวง "ลูนาซี่" (Lunacy) ที่มีความหมายว่า "ความบ้าคลั่ง" และเริ่มเล่นดนตรีตามผับ ขณะนั้น Lunacy เริ่มผลิตงานเพลงเป็นของตัวเองในรูปแบบเทปเดโมวางขายหน้าผับที่พวกเขาไปแสดงและร่วมกันขายบัตรเข้าชมด้วยตัวเองซึ่งสามารถเรียกผู้ชมและเกิดแฟนคลับกลุ่มเล็กๆ คอยติดตามชมการแสดงสดของพวกเขาในเวลาต่อมา กระทั่งปี 1991 Lunacy เปลี่ยนชื่อเป็น "Luna Sea" (ลูนาซี) และออกอัลบั้มแรกใช้ชื่อเดียวกันกับวง ฝีมือดนตรีของลูนาซีประทับใจ ฮิเดะโตะ มัทซึโมะโตะ มือกีตาร์วงร็อกชื่อดัง เอ็กซ์ เจแปน จนทั้งห้าคนได้เซ็นสัญญาเป็นวงดนตรีสังกัดเอ็กสเตซี่ย์ เร็คคอร์ดส์ (Exstasy Records) ของ โยะชิกิ ฮะยะชิ มือกลองวงเอ็กซ์ เจแปนในปี 1992 ก่อนจะย้ายมาอยู่สังกัด Sweet Child และออกผลงานอัลบั้มอีก 5 ชุดจนถึงปี 2000 ซึ่งได้รับความนิยมล้นหลามจนสามารถก้าวขึ้นเป็นวงร็อกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดวงหนึ่งของญี่ปุ่นในทศวรรษ 90

งานเดี่ยว: Love (1997)[แก้]

หลังจากลูนาซีออกอัลบั้มสไตล์ "STYLE" พร้อมคอนเสิร์ตใหญ่ในปี 1996 แล้ว สมาชิกทั้งห้าได้ลงความเห็นที่จะพักงานของวงในปี 1997 เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆทางดนตรี ริวอิชิปรับสไตล์การร้องเพลงใหม่จากร็อกดุดันเป็นป็อบและบัลลาด เริ่มเป็นศิลปินเดี่ยวและออกมินิอัลบั้มแรก "Cranberry Soda" ตามด้วยอัลบั้ม "Love" ในช่วงปลายปีซึ่งชุดนี้ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากทำยอดขายทั้งประเทศได้ถึง 1,021,000 ก๊อปปี้ติด Oricon Chart สูงสุดในสัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย กลายเป็นศิลปินชายคนแรกของญี่ปุ่นที่ทำยอดขายอัลบั้มเกินหนึ่งล้านก๊อปปี้ในสัปดาห์แรกที่วางจำหน่ายเลยทีเดียว ขณะเดียวกันอัลบั้ม "Love" สามารถทำยอดขายโดยรวมถึง 2,788,000 ก๊อปปี้กับซิงเกิลยอดนิยมมากมายอาทิ "I Love You" ,"Glass" ,"Beat" ,"Love Is" และ "SET,SU,NA" นอกจากงานเพลงแล้ว ริวอิชิยังได้แสดงละครญี่ปุ่นเรื่อง "Futari" ในบทนักเขียนด้วย กระทั่งปลายปีลูนาซีกลับมารวมตัวอีกครั้ง ริวอิชิและสมาชิกวงอีก 4 คนที่เหลือจึงพักงานเดี่ยวไว้ชั่วคราว ในปี 1999 ริวอิชิได้ไปรับงานโปรดิวเซอร์ช่วยผลิตงานเพลงให้กับศิลปินหลายคนไม่ว่าจะเป็น Azumaya Toga, Hideki และ Izam

อัลบั้มใหม่และการเปิดค่ายเพลงส่วนตัว (2001-2004)[แก้]

หลังลูนาซียุติกิจกรรมของวงในปี 2000 ปลายปีถัดมาริวอิชิย่อชื่อเต็มของตัวเองเป็นนิคเนม "RK" ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สอง "Shin'ai -Only One-" กับซิงเกิลติดหูอย่าง "Ne" ,"Shizukana Yoru wa Futari de Iyou" ,"Julia" ,"Koi wo Shiyouyo" และเริ่มเดินสายออกรายการทีวีโปรโมตอัลบั้มมากมายอาทิ Music Station ,CDTV ,Hey Hey Hey ฯลฯ โดยซิงเกิล "Ne" ถูกใช้เป็นเพลงประกอบละครภาคค่ำทางสถานีโทรทัศน์ NTV ในเดือนมีนาคมปี 2001 ริวอิชิเปิดค่ายเพลงเป็นของตัวเองใช้ชื่อว่า "RKM Family" ขณะเดียวกันอีก 3 เดือนถัดมาริวอิชิก็ตั้ง "RKF" ซึ่งเป็นกลุ่มแฟนคลับอย่างเป็นทางการด้วย จากนั้นริวอิชิมีผลงานทำเพลงประกอบภาพยนตร์ "So Faraway" และได้เล่นภาพยนตร์เรื่อง "Picaresque" (ปิคาเรส) ในบทบาทของโอซามุ ดาซาอิ ต่อมาในปี 2002 ริวอิชิมีบทบาทอีกครั้งในละครซีรีส์โทรทัศน์ "Kowloon de Aimashou" และยังเป็นคนแต่งเพลง "Sugar Lady" เป็นเพลงจบของเรื่องซึ่งต่อมาซิงเกิลนี้ก็ทำยอดได้ดี นอกจากนั้นนี่ยังถือเป็นปีแรกที่ริวอิชิได้จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวของตัวเองกับแฟนๆต่างประเทศโดยไปเปิดคอนเสิร์ตที่เกาหลี ซึ่งต่อมาเขาตัดสินใจออกหนังสือรวมภาพถ่ายจากทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ในปี 2003 ระหว่างนั้นก็ได้เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินอย่าง Memory Cats และ Kiyoshi ก่อนที่จะออกซิงเกิล "Spoon" และงานเพลงชุดใหม่ "Vanilla" ในช่วงปลายปี 2004 ซึ่งริวอิชิได้เชิญอิโนะรัน อดีตมือกีตาร์เพื่อนร่วมวงลูนาซีมาเป็นแขกรับเชิญด้วย

วง Tourbillion (2005) | การกลับมาของลูนาซี (2007)[แก้]

ช่วงต้นปี 2005 ริวอิชิพักงานชั่วคราวและไปพักผ่อนที่ยุโรปก่อนจะกลับมาอีกครั้งพร้อมประกาศตั้งวง "Tourbillion" (ตูบิยอง) กับสมาชิกอีก 2 คนคือ อิโนะรัน (มือกีตาร์วงลูนาซ๊) และฮิโรอากิ ฮายาม่า มือคีย์บอร์ด/เปียโนจากวง D-LOOP ซึ่งเคยแต่งเพลงให้ w-inds ,hiro และนามิเอะ อามูโระ มาแล้ว ซึ่งอิโนะรันก่อนจะมาร่วมงานกับริวอิชิอีกครั้งก็ไปตั้งวงร็อกดูโอ้กับเคน ลอยด์ ใช้ชื่อ "FAKE?" มาก่อน โดย Tourbillion เป็นโปรเจกต์ชั่วคราวที่มีระยะเวลาทำเพลงแค่ 3 ปีก่อนจะยุบวงไป ทั้งสามออกผลงานอัลบั้มทั้งหมด 2 ชุดคือ HEAVEN (2005) และ A Tide of New Era (2006) ก่อนจะมีซิงเกิลสุดท้าย "Break The Chain" ในปี 2008 ซึ่งถูกใช้เป็นเพลงประกอบซีรีส์แอคชั่นฮีโร่ "Kamen Rider" อีกด้วย

ขณะเดียวกันในปี 2006 ริวอิชิมีผลงานอัลบั้มคัฟเวอร์ชุดแรก "Evergreen -Anata no Wasuremono" ซึ่งเป็นการคัฟเวอร์เพลงดังในอดีตของศิลปินญี่ปุ่นชื่อดังมากมายอาทิ ยูทากะ โอซากิ เคนจิ ซาวาดะ ,Off Course รวมไปถึงการคัฟเวอร์เพลง "I For You" ของวงลูนาซีในเวอร์ชันกีตาร์อคูสติกและเพลงสากลอันโด่งดังอย่าง "Time to Say Goodbye" ของอังเดร บอสเชลลี่ นักร้องที่มีชื่อเสียงของอิตาลีอีกด้วย ในปีต่อมาริวอิชิและสมาชิกวงลูนาซีตัดสินใจกลับมารวมตัวกันอีกครั้งตามกระแสเรียกร้องของแฟนคลับ โดยจัดคอนเสิร์ตใหญ่เพียงคืนเดียวที่โตเกียว โดมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ใช้ชื่อว่า "LUNA SEA God Bless You -One Night Dejavu" ซึ่งได้กระแสตอบรับดีจากแฟนๆเมื่อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตนี้ถูกขายหมดอย่างรวดเร็ว เต็มความจุ 55,000 คน

ครบรอบงานเดี่ยว 10 ปี (2007) |คอนเสิร์ต 70 เพลง (2008)[แก้]

ปี 2007 ถือว่าครบรอบ 10 ปีกับการทำงานในฐานะศิลปินเดี่ยวของคาวามูระ ริวอิจิ จึงตัดสินออกงานเพลงใหม่ 2 ชุดคือ "Orange" และอัลบั้มคัฟเวอร์ชุดที่สอง "Evergreen The Anniversary Edition" โดยเป็นการคัฟเวอร์เพลงเก่าของตัวเองและเพลงยอดนิยมในอดีตของศิลปินญี่ปุ่นมากมายอาทิ "I LOVE YOU" ของยูทากะ โอซากิ ,"Dakishimetai" ของ Mr. Children ,"Yuki no Hana" ของ Mika Nakashima รวมไปถึง "SERAFINE" ของวงร็อก DEAD END ซึ่งเคยเป็นแรงบันดาลใจและอิทธิพลของริวอิจิมาก่อน งานชุดนี้ริวอิจิยังคัฟเวอร์ "AMAPOLA" เพลงภาษาสเปนที่มีชื่อเสียงอีกด้วย จากการวางแผง 2 อัลบั้มใหม่ริวอิจิได้เปลี่ยนสไตล์การร้องเพลงฟังดูเป็นผู้ใหญ่เน้นพลังเสียงมากขึ้นเมื่อเทียบกับงานชุดก่อนๆ นอกจากนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008 ริวอิจิได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ใช้ชื่อว่า "Yuki no Budokan ~70 Stories~" โดยร้องเพลงทั้งหมด 71 เพลงนาน 4 ชั่วโมงครึ่งเพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีในฐานะศิลปินเดี่ยว ซึ่งดีวีดีของการแสดงคราวนี้ถูกวางขายเฉพาะแฟนคลับทางการทางเว็บไซต์ส่วนตัวของริวอิจิเท่านั้น สำหรับงานอื่นๆ ริวอิจิกับวงลูนาซีกลับมาเล่นคอนเสิร์ตด้วยกันอีกครั้งในงาน "Hide Memorial Summit" เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมเพื่อร่วมรำลึกถึงการจากไป 10 ปีของฮิเดะโตะ มัทซึโมะโตะ มือกีตาร์วงเอ็กซ์ เจแปนที่ล่วงลับไปแล้ว โดยลูนาซีเล่นกับบรรดาวงร็อกที่มีความเกี่ยวพันและชื่นชมฮิเดะมากมาย อาทิ เอ็กซ์ เจแปน ,T.M.Revolution ,MUCC ,Dir en Grey ,Oblivion Dust ในช่วงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ริวอิจิร่วมแสดงละครเวทีบรอดเวย์ "CHICAGO The Musical" เป็นครั้งแรกรับบททนายความ Billy Flynn โดยร่วมงานกับนักแสดงมีชื่อเสียงของญี่ปุ่น โยกะ วาโอะ และเรียวโกะ โยเนะฮาร่า ขณะเดียวกันก็มีทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศรายการ "Tour 2008 Unchangable Songs" นอกจากนั้นริวอิจิยังได้รับเชิญให้ไปร้องเพลงชาติเปิดการแข่งขันรถแข่งรายการ 7th Grand Prix D1 Series รวมไปถึงการแข่งขันฟุตบอลเจลีกของทีมคาชิม่า แอนท์เลอร์มาแล้ว

เซ็นสัญญากับ Avex | คอนเสิร์ต No Mic ,No Speakers (2009)[แก้]

ต้นปี 2009 ริวอิจิเดินทางไปจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวที่ประเทศฮ่องกง ก่อนจะกลับมาออกซิงเกิลใหม่ "Heroine" ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์โดยงานชุดนี้ได้เท็ตสึโระ โอดะ นักร้องนักแต่งเพลงชื่อดังของญี่ปุ่นมาร่วมทำเพลงด้วย จนกระทั่ง 1 เมษายน ริวอิจิปล่อยอัลบั้มใหม่ในรอบสองปี ใช้ชื่อว่า "Piano" สู่ตลาดเพลงอีกครั้งโดยเป็นงานเพลงที่เน้นธีมการใช้เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประกอบทุกเพลง ต่อมาในเดือนกรกฎาคมริวอิจิออกหนังสือรวมภาพของเขาเองในชุดกิโมโน ใช้ชื่อว่า "Japanesque" โดยเป็นธีมรักชาติซึ่งริวอิจิกล่าวในบทสัมภาษณ์โปรโมตหนังสือเล่มนี้ว่า "การได้ใส่ชุดกิโมโนถือเป็นความภาคภูมิใจมากที่สุดของผม ผมสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณความเป็นนักสู้" และในเดือนเดียวกัน ริวอิจิได้เดินทางไปเปิดคอนเสิร์ตอีกครั้งที่ประเทศไต้หวัน ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ริวอิจิย้ายสังกัดจาก Columbia Music Entertainment ประกาศเซ็นสัญญากับค่าย Avex Entertainment พร้อมปล่อยซิงเกิลใหม่ "Brilliant Stars" โดยเพลงนี้ถูกใช้ประกอบโฆษณาจิลเวลรี่ใหม่ของแบรนด์ GemCeree ซึ่งริวอิจิมีส่วนร่วมออกแบบด้วย ช่วงปลายปีริวอิจิได้ขึ้นเวที Hard na Yaon ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตรวมศิลปินค่าย Avex เปิดตัวเป็นศิลปินใหม่อย่างเป็นทางการ

อัลบั้มใหม่ Sora | ลูนาซีกลับมารวมตัวอีกครั้ง (2010)[แก้]

ริวอิจิปล่อยซิงเกิลใหม่ "Dakishimete" ในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อโปรโมตเครื่องประดับชิ้นใหม่ที่เขาออกแบบเอง โดยเพลงนี้สามารถไต่ถึงอันดับ 5 ใน Oricon Charts เพียงสัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย จากนั้นริวอิจิออกอัลบั้มชุดที่ 12 "Sora" และเริ่มเดินสายจัดคอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้มดังกล่าว ในเดือนมิถุนายน 2010 ริวอิจิได้ร่วมแสดงในละครเวทีบรอดเวย์ "Chicago The Musical" อีกเป็นครั้งที่สอง และในเดือนสิงหาคม-กันยายนได้จัดคอนเสิร์ต "No Mic ,No Speakers" ครั้งที่สามโดยเป็นคอนเสิร์ตร้องเพลงไม่ใช้ไมโครโฟนที่ริวอิจิร้องเพลงร่วมกับวงดนตรีออเคสตร้าของญี่ปุ่นซึ่งมีการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม สถานี BS Fuji เผยแพร่สารคดี Kawamura Ryuichi x Garyuu ซึ่งริวอิจิเดินทางไปถ่ายทำที่นครวัดในประเทศกัมพูชา โดยเป็นการชมทัศนียภาพ การใช้ชีวิตและการเดินทางด้วยกีต้าร์ตัวเดียวพร้อมร่วมกิจกรรมกับทีมงานสถานี โดยริวอิจิแสดงเจตจำนงอยากเปิดการแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรกในชีวิตที่นครวัดเนื่องจากประทับใจในทัศนียภาพและความสวยงามของวัด โดยเป็นการร้องเพลงไม่ใช้ไมโครโฟนซึ่งต่อมาสารคดีดังกล่าวได้ถูกวางจำหน่ายเป็นดีวีดีในช่วงต้นปี 2011 แล้ว

ในวันที่ 31 สิงหาคม ริวอิจิและสมาชิกวงลูนาซีเดินทางไปประเทศฮ่องกงเพื่อประกาศกลับมาสู่วงการเพลงญี่ปุ่นอีกครั้งโดยจัดทัวร์คอนเสิร์ต "20th Anniversary World Tour Reboot -to the New Moon-" ในยุโรปและเอเชียระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมเพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของวง วันที่ 24 ธันวาคม ริวอิจิออกผลงานหนังสือชีวประวัติ "The Voice" เขียนถึงการทำงานในวงการเพลงตลอด 20 ปีที่ผ่านมาและชีวิตส่วนตัว

ทำลายสถิติกินเนสบุ๊ค (2011)[แก้]

คาวามูระ ริวอิจิออกผลงานชุดแรกในปี 2011 ใช้ชื่อ "The Voice" เป็นอัลบั้มคัฟเวอร์ชุดที่สามและเป็นงานคัฟเวอร์เพลงสากลชุดแรกของริวอิจิ โดยมีเพลงโอเปร่าร่วมสมัยมากมายอาทิ "How Deep Is Your Love" ของ Bee Gees ,"Over The Rainbow" ของ Judy Garland ,"My Way" โดย Frank Sinatra ,"Ave Maria" ซึ่งริวอิจิปรับเนื้อร้องใหม่เป็นภาษาญี่ปุ่น ในวันเดียวกัน ริวอิจิยังมีผลงานซิงเกิลใหม่กับวง m.o.v.e ที่ญี่ปุ่นที่ชื่อ "oVertakers" โดยริวอิจิร้องดูเอ็ทในเพลงคู่กับยูริ มัทสึดะ นักร้องของวงและมีสุงิโซ จากวงลูนาซีมาเล่นกีตาร์ประกอบด้วย

วันที่ 25 มกราคมริวอิจิเดินทางมาประกาศจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกที่เมืองไทย โดยใช้ชื่อคอนเสิร์ต "Ryuichi Kawamura Exclusive One Night Only Charity Concert in Bangkok" ซึ่งมีขึ้น ณ Royal Paragon Hall ห้างสรรพสินค้าสยามพาราก้อนเมื่อวันที่ 30 เมษายน โดยในคอนเสิร์ตมี Lay นักร้องสาวแดนปลาดิบ และธนชัย อุชชินหรือ "ป็อด" นักร้องนำวงโมเดิร์น ด็อกมาร่วมแสดงด้วย สำหรับรายได้จากคอนเสิร์ตได้นำไปบริจาคให้โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระบรมราชูปถัมป์เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยโรคต่างๆ อาทิโรคไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย เท้าช้างและอีกส่วนหนึ่งนำไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม
3 พฤษภาคม ริวอิจิเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ "Genkai no Sono Saki e: 100 no Monogatari ~Epilogue~" ที่บุโดคังฮอล โดยเป็นคอนเสิร์ตที่ริวอิจิร้องเพลงไปทั้งสิ้น 104 เพลงในเวลานาน 6 ชั่วโมงครึ่ง คว้าประกาศนียบัตรทำลายสถิติกินเนสบุ๊คสาขาการร้องเพลง 100 เพลงภายในเวลา 8 ชั่วโมงได้สำเร็จต่อหน้าผู้ชม 8 พันคน สำหรับคอนเสิร์ตนี้กำหนดการเดิมคือ 13 มีนาคมแต่ต้องเลื่อนการแสดงมาเป็นวันที่ 3 พฤษภาคมเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นก่อนคอนเสิร์ตจะเริ่มเพียง 2 วัน
ริวอิชิมีกำหนดจะแสดงละครเวทีมิวสิคัลอีกครั้งกลางปีนี้ เรื่อง "Wuthering Heights" (ชื่อญี่ปุ่นคือ Arashigaoka) ซึ่งจะดัดแปลงบทจากนิยายคลาสสิกดั้งเดิมของผู้แต่งเอมีลี่ บรอนท์ใหม่ซึ่งจะได้โนบุฮิโระ นิชิคาวะ ผู้กำกับภาพยนตร์มีชื่อมากำกับการแสดง ในเรื่องนี้ริวอิจิจะรับบทเป็นฮีธคลิฟตัวละครที่มีความพยาบาทเคียดแค้นในเรื่อง แสดงร่วมกับอายะ ฮิราโนะ (นักพากย์หญิง) และนัทสึมิ อาเบะ (นักร้องหญิง) โดยกำหนดการแสดงที่โรงภาพยนตร์ Akasaka Act ในกรุงโตเกียวระหว่างวันที่ 6-24 กรกฎาคม และที่ Theater Drama City ในโอซาก้า 25-31 กรกฎาคมนี้

ริวอิจิปล่อยซิงเกิลใหม่ "YO GA YONARA…" เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งจะอยู่ในอัลบั้มใหม่ชุดที่ 14 "Fantasia" ที่กำหนดวางจำหน่าย 31 สิงหาคมนี้ ริวอิจิขึ้นคอนเสิร์ตการกุศล "SMILE AGAIN II〜SONG OF HOPE" ในวันที่ 11 สิงหาคมโดยรายได้ทั้งหมดนำไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวและสีนามิเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ผลงานเพลง[แก้]

Luna Sea[แก้]

อัลบั้มเดี่ยว[แก้]

Cranberry Soda 21 มิถุนายน 2540
Love 22 พฤศจิกายน 2540
Shin'ai (深愛 ~Only One~) 19 ธันวาคม 2544
Ningen Shikkaku (人間失格) 17 กรกฎาคม 2545
Very Best of Songs... 26 กันยายน 2545
Dear 24 มีนาคม 2547
Vanilla 7 เมษายน 2547
Evergreen 24 พฤษภาคม 2549
Orange 20 มิถุนายน 2550
Evergreen ~Anniversary Edition~ 5 ธันวาคม 2550
Piano 4 มกราคม 2552
Sora 24 กุมภาพันธ์ 2553
The Voice 9 มีนาคม 2554
Fantasia 31 สิงหาคม 2554
The Voice 2 8 สิงหาคม 2555
Life 11 กันยายน 2556
Concept RRR -never fear- 1 ตุลาคม 2557
Magic Hour 28 ตุลาคม 2558
Colors of time 28 กันยายน 2559

ซิงเกิล[แก้]

  1. "I Love You /Cielo" (21 กุมภาพันธ์ 2540) *** ยอดขาย 753,640 ก๊อปปี้ ติดอันดับ 25 ซิงเกิลขายดีที่สุดของ Oricon Chart
  2. "Glass" (23 เมษายน 2540) *** ยอดขาย 1,011,350 ก๊อปปี้ ติดอันดับ 15 ซิงเกิลขายดีที่สุดของ Oricon Chart
  3. "Beat /Ki-Se-Ki (18 กรกฎาคม 2540) *** ยอดขาย 778,480 ก๊อปปี้ ติดอันดับ 21 ซิงเกิลขายดีที่สุดของ Oricon Chart
  4. "Love Is.../Xyz" (15 ตุลาคม 2540) *** ยอดขาย 617,940 ก๊อปปี้ ติดอันดับ 44 ซิงเกิลขายดีที่สุดของ Oricon Chart
  5. "Ne" (25 เมษายน 2544)
  6. "Shizukana Yoru wa Futari de Iyō" (静かな夜は二人でいよう) (21 มิถุนายน 2544)
  7. "Julia" (ジュリア) (22 สิงหาคม 2544)
  8. "Kimi no Mae de Piano wo Hikō" (君の前でピアノを弾こう) (24 ตุลาคม 2544)
  9. "Koi wo Shiyō yo" (恋をしようよ) (21 พฤศจิกายน 2544)
  10. "Sugar Lady" (22 เมษายน 2545)
  11. "F114B" (3 มีนาคม 2547) *** วางจำหน่ายสำหรับ official fanclub
  12. "Spoon /Missing You" (3 มีนาคม 2547)
  13. "Dare no tame demo naku Kimi ni..." (誰のためでもなく君に...) (18 เมษายน 2550)
  14. "Once Again" (31 ตุลาคม 2550)
  15. "Midori no Uta" (緑の詩) (พฤษภาคม 2551 ** ปล่อยดาวโหลดสำหรับ official fanclub)
  16. "Heroine" (ヒロイン) (4 กุมภาพันธ์ 2552)
  17. "Brilliant Stars" (30 กันยายน 2552)
  18. "Dakishimete (抱きしめて) (20 มกราคม 2553)
  19. "YO GA YONARA…" (20 กรกฎาคม 2554)
  20. "Nana Iro (七色)" (29 พฤษภาคม 2556)

ซิงเกิลร่วมกับศิลปินอื่น[แก้]

  1. "oveRtaKerS feat. RYUICHI KAWAMURA X SUGIZO (กับวง m.o.v.e) (9 มีนาคม 2554)

ดีวีดี[แก้]

  1. Time of Legend 1997-2002
  2. RK 10th Anniversary Action Final Yuki no Budokan ~70 Stories~ (พฤษภาคม 2551)
  3. Ryuichi Kawamura x Garyu - Dai Issho HIBIKI - (15 ธันวาคม 2553)
  4. Ryuichi Kawamura x Garyu - Dai Issho PRIVATE - (15 ธันวาคม 2553)
  5. No Mic, No Speakers Concert Sekai Isan Angkor Isekigun vs Ryuichi Kawamura Kamigami no Tasogare (18 พฤษภาคม 2554)
  6. Genkai no Sono Saki e: 100 no Monogatari ~Epilogue~ (ภายในปี 2554)

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  1. Buraikan (2540)
  2. Picaresque (2545)
  3. LUNA SEA 3D in Los Angeles (2011)

ผลงานละครโทรทัศน์[แก้]

  1. Futari (2540)
  2. Narita Rikon (2540)
  3. Number One (2544)
  4. Food Fight Hong Kong Special Edition (2544)
  5. Kowloon de Aimashou (2545)
  6. Hakui no Namida (2556)

หนังสือ[แก้]

  1. Dakishimete (นิยาย-แต่งร่วมกับอิซึมิ ทาดาชิ นักเขียนชื่อดังของญี่ปุ่น - 10 กุมภาพันธ์ 2553)
  2. Voices (ชีวประวัติ- 24 ธันวาคม 2553)

โฆษณา[แก้]

  1. ขนมอบกรอบ O'Zack (2545)
  2. เครื่องประดับแบรนด์ GemCeree (กันยายน 2552)
  3. เพลงประกอบโฆษณาขนมเมจิ คาร์ล (มีนาคม 2554)

รางวัลและความสำเร็จ[แก้]

  1. Drama Academy Award สาขานักแสดงใหม่ยอดนิยม (พ.ศ. 2540)
  2. Best Japanese Male Singer (1997)
  3. Oricon สาขาอัลบั้มเดี่ยวศิลปินชายที่มียอดขายสูงสุด (อัลบั้ม "Love" ปี พ.ศ. 2540)
  4. กินเนสบุ๊ค สาขาศิลปินเดี่ยวที่ร้อง 100 เพลงในเวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง (3 พฤษภาคม 2554)

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ริวอิชิมีความสามารถในการแต่งกลอนบทกวีตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนและเป็นสมาชิกหลักในการแต่งเนื้อร้องเพลงของวงลูนาซี ริวอิชิชื่นชอบกีฬามวย กอล์ฟ แข่งรถและเล่นกระดานโต้คลื่นเป็นงานอดิเรก ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร ริวอิชิแสดงความเห็นว่าอาจเปิดธุรกิจขายกระดานโต้คลื่นหากเกษียณจากอาชีพนักร้อง ริวอิชิเริ่มคบหากับซาโน คุมิ นางงามญี่ปุ่นเจ้าของตำแหน่ง "มิส แจแปน ปี 2002" จากคำแนะนำของเพื่อนก่อนที่จะแต่งงานกันในเดือนมกราคม 2549 กระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]