รัฐประหารในประเทศเนปาล พ.ศ. 2548
รัฐประหารในประเทศเนปาล ปี 2005 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองเนปาล | |||||||
![]() กษัตริย์ชญาเนนทระ ผู้ก่อการรัฐประหาร | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() | เชร์ บะฮาดูร์ เทวพา |
การรัฐประหารในราชอาณาจักรเนปาลเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2005 เมื่อสมาชิกรัฐสภาจากพรรคคองเกรสเนปาลซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยชอบธรรมผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตย ถูกโค่นล้มโดยกษัตริย์ชญาเนนทระแห่งเนปาล ท้ายที่สุด รัฐสภาได้รับการฟื้นคืนในปี 2006 หลังกษัตริย์ชญาเนนทระยอมสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของตนอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติปี 2006
ภูมิหลัง
[แก้]รัฐบาลของเนปาลในอดีตเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หลังการรัฐประหารในปี 1960 ซึ่งนำโดยกษัตริย์มเหนทระ ต่อมาเนปาลกลายมาเป็นรัฐกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญในปี 1991 ในรัชสมัยของกษัตริย์วิเรนทระ[1] เมื่อกษัตริย์ชญาเนนทระขึ้นสู่บัลลังก์หลังเกิดการสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล ที่ซึ่งสมาชิกสิบคนในราชวงศ์ อันรวมถึงกษัตริย์วิเรนทระ, ราชินีไอศวรยะ และมงกุฏราชกุมารทิเปนทระ ถูกสังหาร[1] กษัตริย์ชญาเนนทระได้ปฏิเสธคณะรัฐบาลที่ผ่านมารลแล้วสามคณะตั้งแต่ปี 2002[2] สงครามกลางเมืองเนปาลซึ่งนำโดยกลุ่มลัทธิเหมายังคงดำเนินอยู่และมียอดเสีชีวิตมากกว่า 11,000 ราย[2] เนปาลคงสถานะเป็นประเทศไร้รัฐสภามาตั้งแต่ปี 2002[3] และความนิยมในตัวกษัตริย์ชญาเนนทระก็ลดต่ำลง[1]
การรัฐประหาร
[แก้]ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และยุบสภา[3][4][5] สมาชิกรัฐสภาถูกคุมขังในบ้านของตน, มีการยกเลิกข้อสิทธิที่สำคัญในรัฐธรรมนูญ, ทหารเข้าควบคุมสื่อโดยสมบูรณ์ และการติดต่อสื่อสารถูกตัด[2][6]
การรัฐประหารในครั้งนี้ถูกประณามโดยอินเดีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[2] การรัฐประหารของกษัตริย์ชญาเนนทระดำเนินอยู่ได้ปีเดียว โดยเมื่อ 24 เมษายน 2006 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ออกมายอมคืนรัฐสภาเดิมและสิ้นสุดระบอบราชาธิปไตยของตน อันเนื่องมาจากขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในตอนนั้น[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Unrest as Nepal crowns new king". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-01-22.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Nepal's Royal Coup: Making a Bad Situation Worse". Crisis Group (ภาษาอังกฤษ). 9 February 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
- ↑ 3.0 3.1 Ramesh, Randeep (2 February 2005). "King of Nepal seizes power". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
- ↑ "The Coup in Nepal". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 19 February 2005. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
- ↑ "Nepal's king declares emergency" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2005-02-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15.
- ↑ "Nepal: Time for King to Relinquish Power". Human Rights Watch. 1 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
- ↑ Sengupta, Somini (25 April 2006). "In a Retreat, Nepal's King Says He Will Reinstate Parliament". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
- ↑ "Full text: King Gyanendra's speech". BBC. 24 April 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2006. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hutt, Michael (2005). "King Gyanendra's Coup and its Implications for Nepal's Future". The Brown Journal of World Affairs. 12 (1): 111–123. ISSN 1080-0786.