รักตะนิล
รักตะนิล | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Angiosperms |
ชั้น: | Magnoliids |
อันดับ: | Piperales |
วงศ์: | Piperaceae |
สกุล: | Peperomia |
สปีชีส์: | Peperomia sirindhorniae |
ชื่อทวินาม | |
Peperomia sirindhorniae Suwanph. & Chantar. |
รักตะนิล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Peperomia sirindhorniae Suwanph. & Chantar.) เป็นพรรณไม้ในสกุลผักกะสัง[1] ค้นพบในปี พ.ศ. 2559 ที่มีอยู่แห่งเดียวในโลกเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย สำรวจพบบนยอดเขาหินปูนใน จังหวัดเลย จัดเป็นพืชหายาก (rare plants) และเป็นพืชถิ่นเดียว (endemic plants) ของประเทศไทย ค้นพบโดย ผศ.ดร. เฉลิมพล สุวรรณภักดี อาจารย์ จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [2] และได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งชื่อเป็นพรรณไม้ในพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่า “รักตะนิล” มีความหมายว่า เขียว แดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]เป็นพืชในสกุลผักกะสัง
- ลำต้น เป็นสีแดงส้ม
- ใบ เป็นสีเขียวเข้ม หรือสีมรกต
- ก้านใบสีแดง
การตีพิมพ์
[แก้]ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Kew Bulletin การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยัน พืชพันธุ์ใหม่ของโลก [3]เพื่อนำไปใช้ใน การอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธานต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์พริกไทย (Piperaceae)