ระบบลำธาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบลำธาร หรือ drainage system หรือ drainage pattern เป็นลักษณะของทิศทางการไหลของธารน้ำ แม้ว่าสาขาแม่น้ำทั้งหลายจะไหลไปทางเดียวกัน แต่รูปร่างหรือรูปแบบแม่น้ำ มักมีลักษณะณะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากชนิดหิน (lithology) ลักษณะโครงสร้างหิน (rock structure) และความลาดชันที่แตกต่างกันก็ได้ ระบบธารน้ำที่พบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่

  • ระบบกิ่งไม้ (dendritic pattern) ซึ่งแสดงสาขาของลำธารให้มีลักษณะคล้ายกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมักพบในบริเวณที่พื้นดินประกอบด้วยหินที่มีเนื้อเดียวกัน เช่น หินทราย หินแกรนิต หรือหินไนส์ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีในภาคอีสานที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงก็มีลักษณะการไหลเช่นนี้
  • ระบบตั้งฉาก (rectangular pattern) เกิดในบริเวณที่มีรอยแตกของหินตัดกันเป็นมุม 2 แนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉากซึ่งกันและกัน
  • ระบบกึ่งขนานหรือระบบเถาองุ่น (trellis pattern) เกิดจากการสลับชั้นกันระหว่างชั้นหินแข็งกับชั้นหินอ่อน
  • ระบบขนาน (parallel pattern) เกิดเมื่อในบริเวณนั้นมีรอยแตกของหินเด่นชัดเพียงทิศเดียว หรือรอยแตกที่ได้ขนานกัน
  • ระบบรัศมี (radial pattern) เกิดในบริเวณที่เป็นภูเขาไฟลูกโดด เช่นในญี่ปุ่น หรือเม็กซิโก ลำธารมักจัดตัวกันในลักษณะที่สาขาแผ่ออกไปเป็นเส้นรัศมีโดยรอบเขา
  • ระบบวงปี (annular pattern) เกิดในกรณีที่ลำธารพัฒนาบนชั้นหินที่วางซ้อนกันเกือบอยู่ในแนวระดับในภูเขาหนึ่ง ๆ