ยูทูบ พรีเมียม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประเภท | บริการสมาชิกแบบเสียค่าใช้จ่าย |
---|---|
สำนักงานใหญ่ | สหรัฐอเมริกา |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก (ยกเว้น ประเทศที่ถูกห้าม) |
อุตสาหกรรม | อินเทอร์เน็ต |
ลงทะเบียน | ใช่ (กรณีเข้าถึงคุณลักษณะพรีเมียม) |
เปิดตัว | พฤศจิกายน 2014 31 ตุลาคม 2015 (ยูทูบ เรด) | (มิวสิก คีย์)
สถานะปัจจุบัน | เปิดทำการ |
ยูทูบ พรีเมียม (อังกฤษ: YouTube Premium) คือ บริการที่เก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกที่ยูทูบได้มอบให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โดยให้การดูวิดีโอในยูทูบได้โดยปราศจากโฆษณา ดาวน์โหลดวิดีโอมาเก็บไว้เพื่อดูออฟไลน์เวลาไม่มีอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการเล่นวิดีโอเบื้องหลังในโทรศัพท์ การเข้าถึงเนื้อหาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีทีอื่น และการเข้าถึงเพลงโดยไม่มีโฆษณาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยูทูบ เรด ให้การฟังเพลงออนไลน์โดยไม่มีโฆษณาจากค่ายเพลงบนยูทูบและกูเกิล เพล มิวสิก[1][2][3] การบริการนั้นถูกเปิดตัวอีกรอบด้วยชื่อ ยูทูบ เรด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 โดยเพิ่มขอบเขตเพื่อให้การเข้าถึงโดยปราศจากโฆษณาแก่วิดีโอทั้งหมดในยูทูบ ไม่ใช่เพียงแค่ดนตรีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาพรีเมี่ยมซึ่งถูกจัดทำขึ้นในความร่วมมือกับผู้ทำและคนดังในยูทูบ[4]
ประวัติ
[แก้]การบริการถูกเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เป็น มิวสิก คีย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างยูทูบและกูเกิล เพล มิวสิก มิวสิก คีย์ให้ความสามารถในการเล่นเพลงจากค่ายเพลงที่เกี่ยวข้องอยู่บนยูทูบแบบเบื้องหลังโดยปราศจากโฆษณา รวมไปถึงการเล่นวิดีโอเพลงแบบออฟไลน์ในมือถือผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ การบริการยังรวมไปถึงการเข้าถึงกูเกิล เพล มิวสิก ออล แอคเซส ซึ่งให้การเข้าถึงเพลงออนไลน์โดยไม่มีโฆษณา[5] มิวสิก คีย์ ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่ยูทูบพยายามที่จะทำเนื้อหาพรีเมี่ยม ด้วยความที่เคยเปิดตัวการเช่าหนังในปีพ.ศ. 2553[6] และรวมไปถึงช่องพรีเมียมบนฐานของการเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2556[7][8]
ลักษณะ
[แก้]การเป็นสมาชิกยูทูบ เรดทำให้ผู้ใช้สามารถดูวิดีโอในยูทูบได้โดยไม่มีโฆษณาผ่านทางเว็[ไซต์และแอปพลิเคชันมือถือ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน ยูทูบมิวสิก และยูทูบเกมมิ่ง ผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ใช้ยังสามารถบันทึกวิดีโอลงบนอุปกรณ์เพื่อดูออฟไลน์และเล่นเป็นเบื้องหลังอีกด้วย[2][3] ยูทูบ เรดยังให้การเข้าถึงเนื้อหาพรีเมียมซึ่งเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อนต่อสมาชิก เนื้อหาจะถูกสร้างและเผยแพร่โดยผู้สร้างและช่องที่ใหญ่ที่สุดของยูทูบ[9] นอกจากนี้ยังให้การบริการฟังเพลงผ่านทาง กูเกิล เพล มิวสิก อีกด้วย[4]
การยอมรับ
[แก้]เงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก่อนการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของการให้บริการมิวสิก คีย์ องค์กรการค้าเพลงใต้ดิน อย่าง เวิร์ลไวด์ อินดีเพนเดนท์ เน็ตเวิร์ค กล่าวหาว่ายูทูบได้ใช้สัญญาที่ไม่สามารถต่อรองได้กับค่ายเพลงใต้ดินซึ่ง "มองว่าไม่มีค่า" เมื่อเทียบกับการบริการที่อื่น และยังบอกอีกว่ายูทูบขู่ว่าจะบล็อกวิดีโอของค่ายเพลงจากสาธารณะหากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขใหม่ ในบทความที่ส่งให้ ไฟแนนเชี่ยล ไทม์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 โรเบิร์ท ไคนซล์ ยืนยันว่าการกระทำนี้เพื่อ "ทำให้มั่นใจว่าเนื้อหาทุกอย่างในแพลตฟอร์มอยู่ภายใต้เงื่อนไขใหม่" ทั้งยังกล่าวอีกว่า 90% ของค่ายเพลงได้ยอมรับเงื่อนไขใหม่นี้ และ "ถึงแม้เราอยากจะให้อัตราความสำเร็จเป็น 100% แต่เราเข้าใจว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราต่อผู้ใช้และอุตสาหกรรมที่จะเปิดตัวการปรับปรุงประสบการณ์ในการฟังเพลง" [10][11][12][13] [3]
ต่อจากการเปิดตัวของยูทูบ เรด ได้มีการกล่าวว่าข้อตงลงเหล่านี้ได้ขยายไปสู่สมาชิกของโปรแกรมหุ้นส่วนยูทูบ หุ้นส่วนที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงการแบ่งรายได้แบบใหม่จะถูกบล็อกวิดีโอทั้งหมดในพื้นที่ที่ยูทูบ เรด ถูกใช้[14] ช่องยูทูบของอีเอสพีเอ็น เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวแทนบริษัทแม่ของอีเอสพีเอ็นอย่างบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ กล่าวว่าความขัดแย้งต่อการถือสิทธิของคนนอกเกี่ยวกับร่องรอยกีฬาซึ่งอยู่ในยูทูบวิดีโอของอีเอสพีเอ็นทำให้พวกเขาไม่สามารถถูกเสนอภายใต้ข้อตกลงใหม่ได้ วิดีโอที่เหลืออยู่ในช่องหลังของอีเอสพีเอ็นนั้นมีจำนวนไม่มาก[15]
ในทำนองเดียวกัน เนื้อหาจำนวนมากภายใต้ลิขสิทธิ์ค่ายเพลงเกาหลีและญี่ปุ่นนั่นยังถูกบล็อกในสหรัฐอเมริกาหลังจากการเปิดตัวของบริการนี้ วงการเพลงญี่ปุ่นธรรมเนียมในการแสดงความเข้มงวดในลิขสิทธิ์และการต่อต้านการเผยแพร่เพลงแบบดิจิตัล เชื่อกันว่าการที่สามารถดาวน์โหลดวิดีโอเพื่อดูออฟไลน์ทำให้พวกเขาลังเลที่จะเข้ารวมโปรแกรมนี้[16][17][18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "YouTube unveils Music Key subscription service, here's what you need to know". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "YouTube announces plans for a subscription music service". The Verge. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "YouTube Launches 'Music Key' Subscription Service with More Than 30 Million Songs". Variety. สืบค้นเมื่อ 12 November 2014.
- ↑ 4.0 4.1 "Red Dawn: An inside look at YouTube's new ad-free subscription service". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
- ↑ "Google Play Music subscribers will get free access to YouTube Music Key". PC World. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Miguel Helft (January 20, 2010). "YouTube takes a small step into the film rental market". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 13, 2010.
- ↑ "YouTube's 30 Pay-Channel Partners Run from Kid Fare to Cage Matches". Variety. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
- ↑ Shaul, Brandy (2015-11-02). "PewDiePie on YouTube Red: 'Adblock Has Actual Consequences'". SocialTimes. Mediabistro Holdings. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
- ↑ Josh Constine. "YouTube Red, A $9.99 Site-Wide Ad-Free Subscription With Play Music, Launches Oct 28". TechCrunch. AOL. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
- ↑ "YouTube will block videos from artists who don't sign up for its paid streaming service". The Verge. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
- ↑ "YouTube subscription music licensing strikes wrong notes with indie labels". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
- ↑ "Talks with indie labels stall over YouTube music subscription service". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
- ↑ "YouTube to block indie labels who don't sign up to new music service". The Guardian. สืบค้นเมื่อ June 17, 2014.
- ↑ "YouTube Will Completely Remove Videos Of Creators Who Don't Sign Its Red Subscription Deal". TechCrunch. AOL.
- ↑ "ESPN is shutting down its YouTube channels over paid subscriptions". The Verge. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
- ↑ "CD-Loving Japan Resists Move to Online Music". The New York Times. September 16, 2014. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
- ↑ "YouTube blocks Japanese contributors' content for refusing to use its paid version". Networkworld. IDG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
- ↑ "Japanese music and vocaloid content disappears as YouTube rolls out new paid service". RocketNews24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-20. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.