ยุทธวิธีแบบนโปเลียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยุทธวิธีแบบนโปเลียน อธิบายแบบแผนกลยุทธ์ในสนามรบที่ถูกใช้งานโดยกองทัพของชาติต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงช่วงที่มีการประดิษฐ์และนำปืนไรเฟิลคาบศิลามาใช้งานในช่วงศตวรรษที่ 19 ยุทธวิธีแบบนโปเลียนถูกบรรยายลัษณะไว้ว่า มีการฝึกซ้อมทหารที่หนักหน่วง, การเคลื่อนที่ในสนามรบรวดเร็ว, สนธิกำลังเข้าตีระหว่างทหารราบ, ทหารม้า และปืนใหญ่สนาม (artillery), ปืนใหญ่ (cannon) มีส่วนเกี่ยวข้องน้อย, การยิงด้วยปืนคาบศิลาในระยะใกล้ และการเข้าตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน[1] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับการพิจารณาโดยนักประวัติศาสตร์การทหารเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันว่า เป็นผู้ชำนาญการสูงสุดในรูปแบบการสงครามลักษณะนี้ ยุทธวิธีแบบนโปเลียนยังคงถูกใช้งานต่อเนื่องเรื่อยมาแม้จะเป็นช่วงที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม นำมาสู่ฆ่าฟันกันล้มตายอย่างมากมายมหาศาลในระหว่างช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา, สงครามออสเสรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ก่อนจะปรับเปลี่ยนในช่วงสงครามโลกที่ 1 ที่ได้ใช้ยานเกราะมากขึ้น

ยุทธวิธีของทหารราบ[แก้]

ทหารราบ จัดเป็นรากฐานของยุทธวิธีแบบนโปเลียนเนื่องจากเป็นประเภททหารที่มีกำลังพลมากที่สุดในการศึกสำคัญในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 18–19 ยุทธวิธีแบบนโปเลียนหลายยุทธวิธีมีรากฐานมากจาก Ancien Regime royalist strategists เหมือน Jean-Baptiste de[2] โดยเน้น"ความยืนหยุนในการใช้ปืนใหญ่สนาม" และได้ "ละทิ้งการเคลื่อนขบวนแบบหน้ากระดาน (ซึ่งหน่วยรบจะมีอำนาจการยิงสูงสุด) โดยไปนิยมการโจมตีด้วยรูปขบวนแถวตอน”[3]

ทหารราบใช้ปืนนกสับคาบศิลาแบบลำกล้องเรียบ ซึ่งเป็นอาวุธมาตรฐานในยุคนโปเลียน โดยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตั้งแต่ John Churchill, 1st Duke of Marlborough บัญชาการกองทัพอังกฤษในการรบ Battle of Blenheim ในปี 1704 สำหรับการยิงเป้าหมายที่มีขนาดตัวเท่ามนุษย์ปืนนกสับคาบศิลาจะมีระยะหวังผลใกล้เพียง 50 หลา ถึง 70 หลา ทหารที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีใช้เวลาในการยิงต่อนัดราว 15–20 วินาที จนกระทั่งดินปืน (ซึ่งในยุคนั้นเรียกว่า black powder เป็นดินปืนสมัยเก่า) พอกตัวหนาขึ้นในในลำกล้องและกลไกซึ่งอาวุธปืนจะต้องได้รับการล้างให้สะอาดก่อนจึงยิงต่อได้ซึ่งก็จะเสียเวลาเพิ่มเข้าไปอีก ปืนคาบศิลาของฝรั่งเศสในปี 1777 สามารถยิงได้ไกลถึง 100 หลา แต่ "จะหลุดเป้า 1 นัดเสมอทุกๆการยิง 6 นัด" [4]

โดยมาก ทหารในสนามรบยุคนโปเลียนมักจะถูกขู่บังคับให้อยู่ภายในพื้นที่การรบ เพื่อจะจัดการกับความโน้มเอียงไปสู่การปกป้องตนเองส่วนบุคคลและเพื่อที่จะทำให้อำนาจการยิงได้ประสิทธิภาพสูงสุด กองทหารราบจะสู้รบแบบยืนหน้ากระดานไหล่ชนไหล่ อย่างน้อย 2-3 หน้ากระดานซ้อนกัน และทำการยิงแบบพร้อมกันเป็นชุดๆ (Volley fire) นายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรจะถือดาบหรือง้าว (ง้าวในที่นี้หมายถึงง้าวฝรั่ง เป็นขวานด้ามยาว) ซึ่งใช้ทำให้ทหารราบอยู่ในแถวยิง ถ้าทหารคนใดคนหนึ่งหลบเลี่ยงหน้าที่และหนีออกจากพื้นที่การรบ โดยปกติแต่ละกองทัพจะมีแถวทหารม้าซึ่งยืนตรวจตราอยู่แนวหลังคอยปลุกขวัญให้ทหารกลับเข้าสู่กองรบของตนเอง เพื่อช่วยในการควบคุมและบัญชาการทหารราบ ทหารแต่ละคนจะสวมเครื่องแบบทหารที่มีสีสันมองเห็นได้ชัดจากระยะไกลแม้ว่าจะมีม่านหมอกของควัญจากดินปืนลอยอยู่เหนือสนามรบก็ตาม นโปเลียนเองไม่เคยเลยที่จะละเลยความสำคัญของขวัญกำลังใจ มีครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "กำลังขวัญสำคัญกว่ากำลังพลในการเอาชนะข้าศึก" [5]

ทหารราบบนสนามรบ[แก้]

การรบในยุคนโปเลียนเกิดขึ้นใน พื้นที่ราบ, หมู่บ้าน, ถนน และลำธาร กองทัพฝรั่งเศสมองว่า เมืองใหญ่, ภูเขา, พื้นที่หล่มโคลนเฉอะแฉะ และป่าทึบ ไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมในการต่อสู้ แม่ทัพ เช่น Duke of Wellington ในการรบ Battle of Waterloo มองหาภูมิประเทศที่เหมาะแก่การวางกำลัง โดยทั่วไปกองทหาราบจะใช้รูปขบวนรบ 3 แบบ ได้แก่ รูปขบวนแถวตอน, รูปขบวนแถวหน้ากระดาน และรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รูปขบวนแบบแรก รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวตอน เนื่องจากรูปร่างเป็นแบบหน้าแคบแต่แถวลึก เหมาะสำหรับการเคลื่อนพลไปบนถนนหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าหาศัตรูบนพื้นที่แบบลานเปิด เนื่องจากรูปขบวนแถวตอนเป็นเป้าขนาดใหญ่ของปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ โดยปกติกองทหารจะเปลี่ยนรูปขบวนเมื่อเข้าใกล้ศัตรู

รูปขบวนแบบที่สอง รู้จักกันในชื่อ รูปขบวนแถวหน้ากระดาน จัดวางรูปขบวนโดยใช้แนวหน้ากระดาน 2–3 แนววางซ้อนกัน ช่วยให้หน่วยมีจำนวนปืนในการยิงแต่ละชุดมากขึ้น ทำให้คุมพื้นที่สังหารในสนามรบได้กว้างกว่ารูปขบวนแถวตอน และทำให้หน่วยมีอำนาจการยิงสูงสุด หน้ากระดานยาวๆหลายหน้ากระดานพิสูจน์แล้วว่ายากต่อการรักษารูปขบวน เนื่องจากรูปขบวนต้องรวมตัวกันเป็นปืกแผ่นตลอดเวลาระหว่างการเคลื่อนขบวนในระยะไกลๆ แต่ในสนามรบมักจะมีสิ่งรบกวน เช่น คูน้ำ, รั้ว และต้นไม้ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ยาก รูปขบวนแถวหน้ากระดานมักตกเป็นเหยื่อของการเข้าจู่โจมจากกองทหารม้าเนื่องจากทหารม้าสามารถเคลื่อนที่เข้าจู่โจมจากระยะ 50 หลาโดยรับความเสียหายจากการยิงโดยทหารราบเพียงชุดเดียว

รูปขบวนแบบที่สาม รู้จักในชื่อ รูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือกระบวนทัพสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้แนวทหารซ้อนกันลึก 4–6 แนวโดยจัดให้มีรูปทรงจัตุรัสหรือผืนผ้าเพื่อป้องกันทหารราบจากการเข้าจู่โจมของของทหารม้า โดยเป้าหมายของรูปขบวนแบบนี้คือไม่ต้องการเปิดด้านหลังหรือด้านข้างของกองทหารราบให้กับกองทหารม้า หน่วยรบสามารถเคลื่อนที่ได้แม้จัดรูปขบวนแบบนี้ แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ารูปขบวนแบบนี้เคลื่อนที่ได้ช้ากว่ารูปขบวนแบบตอนลึกและอ่อนแอต่อการโจมตีด้วยปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ ดังนั้น หากทหารราบของฝ่ายศัตรูดูจะเป็นภัยมากกว่ากองทหารม้า หน่วยรบจะเปลี่ยนจากรูปขบวนจัตุรัสเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดาน

รูปขบวนแบบที่สี่ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นรูปขบวนแบบพิเศษของกองทัพฝรั่งเศส คือ รูปขบวน l'ordre mixte (Mixed Order) เป็นการผสมรูปขบวนแถวหน้ากระดานกับแถวตอนเข้าด้วยกัน ใช้สำหรับผลักดันทหารราบข้าศึก รูปขบวนแบบนี้มี "น้ำหนัก" ของส่วนที่เป็นแถวตอนลึกเพื่อใช้ผลักดันและเจาะฝ่าแนวข้าศึก แต่ในขณะเดียวกันบางหมู่ในรูปขบวนก็จัดเป็นรูปขบวนแถวหน้ากระดานเพื่อชดเชยความอ่อนด้อยในอำนาจการยิงของรูปขบวนแถวตอนลึก [6] อย่างไรก็ดี รูปขบวนแบบนี้ถูกใช้งานน้อยมากๆ เพราะเป็นการผสมผสานที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าใดนัก เนื่องจากรูปขบวนแถวหน้ากระดานหรือรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ทหารราบเบา (ทหารราบเคลื่อนที่เร็ว) โดยปกติจะประกอบขึ้นด้วยทหารที่มีความสูงน้อยกว่า 5 ฟุต 6 นิ้ว ซึ่งจะยืนล้ำออกไปข้างหน้ากองทหารของตนเองในระหว่างที่กองทหารของตนเองเคลื่อนที่เข้าหาศัตรู โดยมีหน้าที่คือคอยยิงประปรายใส่ข้าศึกด้วยปืนคาบศิลาเพื่อก่อกวนและพยายามขับไล่ทหารราบเบาของฝ่ายข้าศึกที่ส่งออกมาก่อกวนกองทหารของฝ่ายตนเองเช่นกัน ทหารราบเบาสู้แบบ Skirmisher แทนการสู้แบบยืนไหล่ชนไหล่ ซึ่งจะสร้างข้อได้เปรียบเนื่องจากมีที่ว่างระหว่างเพื่อนทหารไว้สำหรับเข้าที่กำบังเล็กๆในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหาศัตรูพร้อมกับยิงไปบรรจุกระสุนไป ในท้ายที่สุด เมื่อ line infantry และ grenadier ของกองรบเดียวกับเหล่าทหารราบเบาตามมาทัน ทหารราบเบาก็จะกลับเข้าสู่แถวทหารถายในหน่วยของตน สำหรับ line infantry โดยปกติทหารจะมีความสูงอยู่ระหว่าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ถึง 5 ฟุต 11 นิ้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะเริ่มยิงชุดแรกที่ระยะห่างจากข้าศึกตั้งแต่ 100 หลา การเริ่มยิงชุดแรกมีความสำคัญมากเพราะทหารยังคงมองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนที่สุดทำให้มีโอกาศยิงโดนข้าศึกมากที่สุด เหล่าทหารที่สร้างความน่าสะพรึงกลัวมากที่สุดของกองรบคือ grenadier ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วทหารจะสูงอย่างน้อย 6 ฟุต โดยปกติจะสวมเครื่องประดับศีรษะ เช่น หนังหมี เพื่อทำให้ดูน่าเขย่าขวัญยิ่งขึ้น พวกเขามักจะจู่โจมเข้าตะลุมบอนหรือจู่โจมกลับเมื่อดูจากการต่อสู้แล้วเห็นว่าฝ่ายของตนค่อนข้างเพลี่ยงพล้ำและสิ้นหวัง หลังจากการยิงชุดแลกกันระหว่างหน่วยรบ นายทหารจะประเมินสถานการณ์และตัดสินใจว่าจังหวะใดเหมาะที่สุดที่จะสั่งให้จู่โจมเข้าตะลุมบอนด้วยดาบปลายปืน โดยหลังจากความเสียหายรุนแรงจากการยิงด้วยปืนคาบศิลาในระยะใกล้ ภาพของหน่วยทหารราบที่ยังดูสมบูรณ์และทะมัดทะแมงเคลื่อนตัวเข้ามาด้วยปืนคาบศิลาที่ติดดาบปลายปืนมักจะทำให้เสียขวัญเกินกว่าจะทนได้และมักจะแตกหนีไปในที่สุด As a result of this fear inspired by the shining metal of the bayonet a bayonet charge rarely ever caught much other than the bravest enemy infantry, before the remaining opposition either flees or routs.[7]

ยุทธวิธีของทหารม้า[แก้]

การสงครามในยุคนี้ หน่วยทหารม้ามีความรับผิดชอบมากมายในสนามรบ พวกเขาขี่ม้าจึงทำให้พวกเขาเป็นกองกำลังที่เคลื่อนที่เร็วที่สุด พวกเขาจะปฏิบัติหน้าที่สอดแนมและหยั่งกำลังข้าศึกเพื่อให้ทราบ ขนาดกำลัง, ความเข้มแข็ง และตำแหน่งแห่งที่ของกองกำลังข้าศึก ในขณะเดียวกันก็ป้องกันมิให้ข้าศึกสอดแนมและหยั่งกำลังของฝ่ายตน

ทหารม้ามีส่วนในการทำลายขวัญกำลังใจของข้าศึกในสนามรบยุคนโปเลียนเช่นกัน ซึ่งคล้ายคลึกกับรถถังในยุคศตวรรษที่ 20-21 ด้วยการรบในยุคนี้มีระยะยิงหวังผลที่สั้น, การบรรจุกระสุนนัดถัดไปใช้เวลานาน และการพอกตัวอย่ารวดเร็วของดินปืนในกลไกและลำกล้องของปืนคาบศิลาลำกล้องเรียบในยุคนี้ ทำให้หน่วยทหารม้าสามารถเคลื่อนเข้าประชิดหน่วยทหารราบได้ก่อนที่หน่วยทหารม้าจะถูกทำลายลงโดยปืนคาบศิลา หน่วยทหารม้ามีความรับผิดชอบในการตรึงให้กองกำลังของข้าศึกให้อยู่กับที่ด้วย โดยทั่วไป เมื่อทหารม้าจู่โจมเข้าใส่หน่วยทหารราบ หน่วยทหารราบจะแปรขบวนเป็นรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งเป็นรูปขบวนที่ค่อนข้างนิ่งเคลื่อนที่ได้ยาก ถ้าหากหน่วยทหาราบล้มเหลวในการจัดรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมากพวกเขาจะถูกการจู่โจมอย่างหนักหน่วงของทหารม้าตีจนแตกพ่ายจากสนามรบไป บ่อยครั้งหน่วยทหารม้าก็จะต่อสู้กับหน่วยทหารม้าของข้าศึกซึ่งโดยหลักก็จะเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างทำลายกำลังของอีกฝ่ายแลกกันไป ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารม้าเพียงพอต่อการทำให้กองกำลังของข้าศึกตกตะลึง โดยเฉพาะสนามรบในยุคนี้มักจะถูกปกคลุมด้วยควัญจากดินปืนจากปืนคาบศิลา, ดินปืนจากปืนใหญ่ และ ดินปืนจากhowitzer [8] หน่วยทหารม้าจะคอยปกป้องเหล่าแม่ทัพ, นายพลและจอมพล เนื่องจากนายทหารระดับสูงเหล่านี้มักจะขี่ม้าอยู่แล้วและดูเหมือนจะเคลื่อนที่เร็วเกินกว่าที่จะให้ทหารราบซึ่งเคลื่อนที่ช้ากว่ามาปกป้อง

ทหารม้าบนสนามรบ[แก้]

หน่วยทหารม้าต้องการการส่งกำลังบำรุงที่ดีที่สุดเข้ามาสนับสนุน เพราะว่าม้าบริโภคอาหารสัตว์เป็นจำนวนมากและจะเหนื่อยเร็วมากในยามที่ถูกควบขี่เข้าสู่การต่อสู้ เหล่าทหารม้ายังไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งในการรักษาพื้นที่เพราะพวกเขามักถือปืนคาบศิลาลำกล้องเรียบซึ่งมีลำกล้องสั้น ทำให้ระยะยิงหวังผลสั้นและเหล่าทหารม้าก็ถูกฝึกมาให้ต่อสู้บนหลังม้า แต่ทหารม้าดรากูน (dragoon) บางหน่วยจะต่อสู้ทั้งบนหลังม้าและลงจากหลังม้า หน่วยทหารม้าจะอ่อนแอต่อการโดนโจมตีด้วยปืนใหญ่สนามเนื่องจากม้าเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ โดยปกติเมื่อหน่วยทหารม้าจะจู่โจมเข้าใส่หน่วยปืนใหญ่สนาม พวกเขาจะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก แต่การสร้างความเสียหายให้กับหน่วยปืนใหญ่สนามนั้นกลับเป็นผลลัพธ์เพียงเล็กน้อย พลปืนใหญ่สนามจะทำการยิงไปเรื่อยๆจนกระทั่งทหารม้าเข้ามาใกล้พวกเขาก็จะถอนตัวจากปืนใหญ่และเข้าไปหลบภายในหน่วยทหารราบฝ่ายเดียวกันที่จัดรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ณ.จุดนี้ทหารม้าถูกฝึกให้นำตะปูไร้หัวเข้าไปตอกใส่รูจุดชนวนที่อยู่ใกล้ๆกับส่วนท้ายของปืนใหญ่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ปืนใหญ่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในสนามรบอีกได้ต่อไป

ยุทธวิธีของปืนใหญ่สนาม[แก้]

ยุคนโปเลียนจะเห็นการพัฒนาปืนใหญ่สนามเป็นจำนวนมาก ปืนใหญ่สนาม (มักจะรู้จักในชื่อ ปืนใหญ่เบา) เป็นรูปแบบปืนใหญ่ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ซึ่งใช้สนับสนุนกองทัพในสนามรบ ปืนเหล่านี้ถูกพัฒนาโดยมุ่งเน้นความสามารถด้าน การเคลื่อนพล, การเคลื่อนที่, ความแม่นยำในระยะไกล และความเร็ว [9] ปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ในสมัย Gustavus Adolphus แห่งสวีเด็นในช่วงสงครามสามสิบปี (1618-1648) [10] Adolphus ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บัญชาการคนแรกที่นำหน่วยปืนใหญ่เบาจำนวนมากเข่าสู่การสู้รบและจัดวางกำลังโดยสนธิกำลังกับหน่วยรบที่ใช้อาวุธประเภทอื่น [11] ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบแปด ผู้บัญชาการจากหลากหลายชาติต่างก็มาถึงข้อสรุปที่ว่าปืนใหญ่เคลื่อนที่ได้ซึ่งสามารถติดตามไปเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่มีกองทัพใดจะมีประสิทธิภาพในการเพียงพอถ้าไม่มีปืนใหญ่เหล่านี้ [10] ความสำคัญของปืนใหญ่สนามมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่ภายในระยะการยิงเท่านั้น แต่ปืนใหญ่สนามมีความสำคัญถึงขั้นเปลี่ยนสถานการณ์ภายในสนามรบได้เลย [12] หลังจากการปฏิรูปกองทัพซึ่งแบ่งกองทัพออกเป็นเหล่าๆ กองทัพฝรั่งเศสได้จัดตั้งรูปขบวนปืนใหญ่กึ่งอัตโนมัติโดยมีนายทหารปืนใหญ่เป็นผู้นำและประสานงาน รูปขบวนเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ, กลยุทธ์ และอำนาจการโจมตีของปืนใหญ่สนามในสนามรบ[13] ในสมัยของนโปเลียน ปืนใหญ่สนามจะประกอบไปด้วย ปืนใหญ่เดินเท้า, ปืนใหญ่ม้าลาก และปืนใหญ่ภูเขา [10]

ปืนใหญ่ในสนามรบ[แก้]

ปืนใหญ่สนามเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดบนสนามรบในยุคนโปเลียน และการใช้งานพวกมันสามารถหยุดหน่วยรบของข้าศึกไม่ให้เคลื่อนที่ได้ [14] กระสุนปืนใหญ่ที่ทำจากโลหะตัน (รู้จักกันในชื่อ "กระสุนทรงกลม") เป็นกระสุนพื้นฐานของปืนใหญ่สนาม กระสุนแบบนี้มีประสิทธิภาพในในการต่อกรกับรูปขบวนสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปขบวนแถวตอนลึกที่มีคนมากๆ เมื่อยิงในแนวที่เกือบจะขนานพื้นลูกกระสุนจะกระดอนพื้นไปเรื่อยๆเข้าสู่กองกำลังของข้าศึกซึ่งจะทะลุทะลวงและทำลายล้างตามแนววิถีกระสุน ที่สำคัญ กระสุนที่ถูกยิงออกหลังจากกระดอนเพียงไม่กี่ทีก็จะเริ่มหมุนและฉีกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่มันกระทบ อย่าลืมว่า พลประจำปืนใหญ่สนามมักจะมองหาพื้นที่ที่เป็นพื้นแข็ง. เรียบ และเป็นพื้นที่เปิด [13] ในระยะที่ประชิดมากๆ ปืนใหญ่สามารถสามารถใช้ "กระป๋อง" (เช่น กระสุนที่เป็นกระป๋องซึ่งภายในบรรจุเม็ดโลหะเป็นลูกปราย) เพื่อทำลายศัตรู โดยพื้นฐานแล้ว การยิงกระป๋องเปรียบได้กับการยิงปืนลูกซองขนาดยักษ์เพื่อสลายกองกำลังที่เคลื่อนเข้ามา นโปเลียนใช้ความหลากหลายของกลยุทธ์เหล่านี้ในการบดขยี้เหล่าขบท Vendémiaire นอกเหนือจากปืนใหญ่ (canon) แล้ว ปืนใหญ่สนามที่สร้างขึ้นจากปืนครกและปืนประเภทอื่นๆก็ใช้กระสุนระเบิด (มักจะรู้จักในนาม "ระเบิดหุ้มเปลือก") กระสุนระเบิดมีกิตติศัพท์ในด้านความไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากกระสุนมักระเบิดเร็วเกินไปหรือไม่ก็ไม่ระเบิดเลยอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กระสุนระเบิดใส่เป้าหมายอย่างจัง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความเสียหายอย่างยับเยินของเป้าหมาย โดยเฉพาะหากระเบิดใส่หน่วยทหารม้า [14]

ในสื่อที่ได้รับความนิยม[แก้]

The Battle of Waterloo (June 18, 1815) was depicted in the 1970 movie, Waterloo.

Napoleon Total War (2010) is a strategy game for PC by Creative Assembly based around Napoleon's campaigns and tactics.[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792– - 1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics" by Robert B. Bruce, Iain Dickie, Kevin Kiley, and Michael F. Pavkovic, Published by Thomas Dunne Books, 2008
  2. Palgrave History of Europe, 41
  3. Rapport, Michael (2005). "Nineteenth-Century Europe," Palgrave History of Europe, 41
  4. Ross, Stephen (1979). From Flintlock to Rifle: Infantry Tactics, 1740-1866. Frank Cass & Co. LTD, Abingdon, 25.
  5. Chandler, David (1996). The Campaigns of Napoleon 155
  6. Rapport, Michael (2005). "Nineteenth-Century Europe," Palgrave History of Europe, 41
  7. "The Campaigns of Napoleon" by David G. Chandler, Scribner, 1973
  8. "Marengo 1800:Napoleon's day of fate (Campaign)" by David Hollins, Osprey Publishing, 2000
  9. “The background of Napoleonic warfare; the theory of military tactics in eighteenth-century France." by Robert S. Quimby, New York, Columbia University Press (1957)
  10. 10.0 10.1 10.2 "Fighting Techniques of the Napoleonic Age 1792– - 1815: Equipment, Combat Skills, and Tactics" by Robert B. Bruce, Iain Dickie, Kevin Kiley, and Michael F. Pavkovic, Published by Thomas Dunne Books, 2008, p. 171-173
  11. In Chapter V of Clausewitz' On War, he lists Gustavus Adolphus as an example of an outstanding military leader, along with: Alexander the Great, Julius Caesar, Alexander Farnese, Charles XII, Frederick the Great and Napoleon Bonaparte
  12. http://www.napoleon-series.org/military/organization/c_kevarty2.html
  13. 13.0 13.1 http://www.wtj.com/articles/napart/
  14. 14.0 14.1 Ashby, Ralph (2010). “Napoleon Against Great Odds” Praeger
  15. totalwar.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]