การล้อมแอนต์เวิร์ป (ค.ศ. 1832)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมแอนต์เวิร์ป
ส่วนหนึ่งของ เหตุการณ์สืบเนื่องจากการปฏิวัติเบลเยียม

ภาพเขียนแสดงการปิดล้อมปราการแอนต์เวิร์ป เมื่อ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1832
วันที่15 พฤศจิกายน – 23 ธันวาคม ค.ศ. 1832
สถานที่
ผล กองทัพฝรั่งเศสได้รับชัยชนะ[1]
คู่สงคราม

ฝรั่งเศส

สมทบโดย:
เบลเยียม
 สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เอเตียน มอริส เฌราร์
ฟร็องซัว อักโซ
ดาฟิด แฮ็นดริก ชาเซ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองทัพฝรั่งเศสเหนือ
กำลัง
4,500 นาย[1]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 370 นาย[2] เสียชีวิต 560 นาย[2]

การล้อมแอนต์เวิร์ป (ฝรั่งเศส: Siège d'Anvers; ดัตช์: Beleg van Antwerpen) อุบัติขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติเบลเยียมได้สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1832 กองทัพฝรั่งเศสเหนือ นำโดยจอมพลเอเตียน มอริส เฌราร์ นำกองทัพเข้าปิดล้อมกองทัพดัตช์ซึ่งนำโดยนายพลดาฟิด แฮ็นดริก ชาเซ โดยมีชัยชนะเมื่อ 23 ธันวาคม ในปีเดียวกัน

สืบเนื่องจากสถานการณ์ในยุทธการสิบวัน ที่กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าช่วยเบลเยียมใน ค.ศ. 1831 กองทัพดัตช์ได้ถอนกำลังออกจากเบลเยียมเกือบทั้งหมด เหลือไว้เพียงแต่กองกำลังในปราการแอนต์เวิร์ปซึ่งใช้เป็นที่ยิงปืนใหญ่ถล่มเมืองแอนต์เวิร์ป กองทัพฝรั่งเศสเหนือและฟร็องซัว อักโซ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปิดล้อม ได้ใช้เวลาเพียง 24 วันในการปิดล้อมและยึดคืนปราการนี้ และส่งมอบคืนให้กับเบลเยียมในที่สุด

พระเจ้าเลออปอลที่ 1 แห่งเบลเยียม ได้พระราชทานปืนใหญ่หลายขนาดให้กับฝรั่งเศสเป็นน้ำใจในความช่วยเหลือทางการทหาร และสภาสูงของฝรั่งเศสได้มอบ "ดาบแห่งเกียรติยศ" (Epée d'honneur) เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่เอเตียน มอริส เฌราร์ ต่อมาใน ค.ศ. 1897 ได้มีการปั้นประติมากรรมเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารชาวฝรั่งเศสผู้พลีชีพ แต่เมืองแอนต์เวิร์ปปฏิเสธไม่ขอรับไว้ โดยในปัจจุบันได้ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์แน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Siege of Antwerp (1832) เก็บถาวร 2011-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (pdf-file) nl (Legermuseum)
  2. 2.0 2.1 Extra Le Vif/L'Express, "Les documents inédits de notre histoire", 26 janvier 2010