ยาฬิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปสลักยาฬิที่เจนนเกศวเทวาลัย เพลูรุ

ยาฬิ (ทมิฬ: யாளி, IAST: Yāḷi),[1] หรือ วยาฬ[2] เป็นสิ่งมีชีวิตในปรัมปราวิทยาฮินดู มีลักษณะหัวและตัวเป็นสิงโต งวงและงาอย่างช้าง และบางครั้งมีองค์ประกอบอย่างม้า[3]

ยาฬิปรากฏในเทวาลัยแบบอินเดียใต้จำนวนมาก สลักเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเสา[4] ยาฬิยังมีหลายรูปแบบ โดยมีส่วนอื่น ๆ ของตัวที่ได้มาจากสัตว์ร้านอื่น ๆ บางครั้งมีการบรรยายยาฬิไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า เลอโอกริฟ (leogryph; ครึ่งสิงโต ครึ่งกริฟฟิน)[5] ด้วยลักษณะบางส่วนอย่างนก และส่วนงวงนั้นเรียกว่าจะงอยปาก[6]

ประติมานวิทยา[แก้]

การบรรยายและกล่าวถึงยาฬิปรากฏมาอย่างยาวนาน แต่เริ่มมาเป็นที่นิยมทั่วไปในเอกสารของอินเดียใต้ในศตวรรษที่ 16 เรื่อยมา มีการบรรยายไว้ว่ายาฬินี้มีอำนาจแข็งแกร่งกว่าสิงโต เสือ หรือช้าง ประติมานวิทยามีตัวงดงามอย่างแมว, ศีรษะเป็นสิงโต, งวงงาดั่งช้าง (คช) และหางอย่างงูใหญ่ บางครั้งปรากฏแสดงยาฬิยืนบนมกร ซ่งว่ากันว่าเป็นพาหนะของพระพุธ มักปรากฏภาพหรืองานแกะสลักรูปยาฬิตามผนังทางเข้าของเทวาลัย และเชื่อกันว่าคอยปกป้องเทวาลัยเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่ตัวเป็นอย่างสิงโต และมีหัวเป็นสัตว์อื่น เช่นหัวเป็นช้าง ที่เรียกว่า คชวยาฬ (gaja-vyala)[7] หรือที่หัวเป็นสิงโต (สิงหวยาฬ; simha-vyala), ม้า (อัศววยาฬ; ashva-vyala), มนุษย์ (นีรวยาฬ; nir-vyala) และสุนัข (ศาวนวยาฬ; shvana-vyala)[8]

สัญลักษณ์วิทยา[แก้]

ว่ากันว่ายาฬิเป็นผู้พิทักษ์ ปกป้องมนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ดุร้ายที่ไม่เกรงกลัว และเป็นใหญ่ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ายาฬิเป็นรูปแทนความกระเสือกกระสนของมนุษย์ต่อพลังพื้นฐานของธรรมชาติ[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Dictionary of Hindu Lore and Legend (ISBN 0-500-51088-1) by Anna Dallapiccola
  1. Dalal, Roshen (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books India. p. 470. ISBN 978-0-14-341421-6.
  2. www.wisdomlib.org (2021-08-31). "Figure 149. Yali [Sculptures in temples in Kumbakonam]". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  3. www.wisdomlib.org (2021-11-07). "Yali, Yāḷi: 1 definition". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  4. Geer, Alexandra Anna Enrica van der (2008). Animals in Stone: Indian Mammals Sculptured Through Time (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-16819-0.
  5. "Carved wood bracket – description". British Museum. สืบค้นเมื่อ 13 December 2011.
  6. Walker, Benjamin (2019-04-09). Hindu World: An Encyclopedic Survey of Hinduism. In Two Volumes. Volume I A-L (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 89. ISBN 978-0-429-62465-0.
  7. "Sculptural fusion". The Hindu. Chennai, India. 21 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2007.
  8. Khandro - Yali & Mukha
  9. Bane, Theresa (2016-05-22). Encyclopedia of Beasts and Monsters in Myth, Legend and Folklore (ภาษาอังกฤษ). McFarland. p. 340. ISBN 978-1-4766-2268-2.