ข้ามไปเนื้อหา

ยามาฮ่า FZ1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า FZ1 Fazer เป็นจักรยานยนต์ระดับซูเปอร์ไบค์ประเภทสปอร์ตทัวริ่งที่ผลิตโดยยามาฮ่ามอเตอร์คอเปอร์เรขั่นประเทศญี่ปุ่น เป็นรถมอเตอร์ไซด์ที่มีพื้นฐานมาจากจักรยานยนต์​ประเภทซูเปอร์ไบค์​ ​ยามาฮ่า YZF-R1 แต่นำมาปรับแต่งเพื่อใช้งานได้ทั่วไปและมีรูปแบบเป็นทรงสปอร์ต​กึ่งทั่วริ่ง.เครื่องยนต์ขนาด 1,000cc ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องยามาฮ่า YZF-R1. มีสองรุ่นหลักคือ naked (FZ1หรือ​FZ1N) และรุ่นแบบมี fairing (FZ1 fazer).

Generation I FZS1000 (2001-2005)

[แก้]
ยามาฮ่า FZS 1000 generation แรกของ Fz1 fazer

ถือเป็นรถ generation I เปิดตัวเมื่อปี 2000 โดยใช้ชื่อว่า FZS1000[1] หลักการณ์ในการพัฒนารถ (development concept) คือ The ultimate strong fazer คำจำกัดความเมื่อเปิดตัวคือเป็นรถมอเตอร์ไซด์ถนนที่ใช้เครื่องยนต์ซูเปอร์ไบค์ YZF-R1[2] โดยเปลี่ยนท่านั่งเป็นแบบท่านั่งตรง (upright). แฮนด์เป็นแบบกว้างระดับเดียวกับรถทัวริ่งค์มีแฟริ่งแบบครึ่งครอวริ่ง (half cowling) ติดตั้งบนเฟรม สำหรับ FZS1000 นั้นได้ถูกยามาฮ่าจัดให้เป็นรถประเภทใช้งานได้ทุกรูปแบบ (All around bike) [3]ซึ่งจะต่างกับ FZ1 ที่ถูกจัดเป็นประเภทสปอร์ตทัวริ่ง FZS1000 ถูกผลิตระหว่างปี 2001-2005 โดยเริ่มผลิตที่ตลาดอเมริกาเมื่อปี 2001 สำหรับเครื่องยนต์นำมาจากยามาฮ่า YZF-R1 รุ่นปี 1999[4] เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ R1 ที่เพิ่มน้ำหนักเพลาข้อเหวี่ยง 10% ถูกลดระดับความแรง (detuned) ให้จ่ายน้ำมันซอล์ฟขึ้นเพื่อให้แรงบิดคงที่ขึ้นเพื่อการใช้งานทั่วไป. ส่วนช่วงชักของลูกสูบก็สั้นกว่าYZF-R1[5]. นอกจากนี้ยังใช้ระบบ EXUP (EXhaust Ultimate Power valve) เหมือนกับรถยามาฮ่า YZF-R1 เฟรมเป็นแบบ Double cradle frame ทำด้วยท่อเหล็กหนาและช่วงล่างเป็นแบบช่วงชักยาว. สำหรับFZS1000 มีแต่รุ่นแบบมีครึ่งแฟริ่งหน้าไม่มีรุ่น naked.

Generation II FZ1 (2006-ปัจจุบัน)

[แก้]
ยามาฮ่า FZ1 Fazer genenration II เริ่มขายปี 2006
ยามาฮ่า Fz1 รุ่น Naked

เปิดตัวเมื่อปี 2006 ในตลาดยุโรป พร้อมเปลี่ยนชื่อจาก FZS1000 เป็น FZ1 ซึ่ง FZ1 นั้นยังได้ถูกแยกเป็นอีก 2 ประเภทด้วยกัน คือ(เวอชั่นแบบมีแฟริ่งครึ่งหน้า เรียกว่า FZ1 FAZER) และ (รุ่น naked เรียกว่า FZ1N) โดย Generation II นี้ ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์, แชสซิส, ช่วงล่างและตัวบอดี้ใหม่ทั้งหมด เฟรมทำมาจากอะลูมิเนียมอัลลอยหล่อเป็นโครงรูปเพชรแบบกะทัดรัด (compact) ใช้เครื่องยนต์เป็นส่วนรับแรงและสวิงอาร์มแบบหล่อตัน และขุมพลังเครื่องยนต์นำมาจากYamaha YZF-R1 รุ่นปี 2004-2006 ที่นำมาปรับแต่งเพื่อเพิ่มแรงบิดในช่วงกลางของรอบเครื่องยนต์ เพิ่มน้ำหนักเพลาข้อเหวี่ยง40เปอร์เซ็นต์และปรับเพลาสมดุลตามการเปลี่ยนน้ำหนักของเพลาข้อเหวี่ยง. เพลาลูกเบี้ยวได้ถูกปรับให้เปิดปิดวาล์วในช่วงที่สั้นขึ้นและเวลาที่น้อยลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ. มีการปรับเกียร์โดยเพิ่มอัตราทดเกียร์ 5, 6 เพื่อเพิ่มความง่ายเวลาขับด้วยความเร็วแบบ cruising. ซึ่งผลของการปรับแต่งนั้นทำให้ รถควบคุมได้ง่ายและนุ่มนวนขึ้น แต่ต้องแลกมาด้วยค่าแรงม้าที่ต่ำกว่าเดิมของเครื่องยนต์ YZF- R1ซึ่งเดิมจะอยู่ที่ 172 แรงม้า แต่ลดลงมาเหลือ 147.51 แรงม้าเท่านั้น

ข้อมูลน่าสนใจ
เมื่อตอนเปิดตัวในปี 2006 นั้น ทางยามาฮ่าไม่ได้ผลิตรถรุ่นนี้สำหรับขายในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในปี 2008 - 2010 ทางยามาฮ่าได้ผลิตออกขายในตลาดญี่ปุ่น ซึงเป็นรุ่นพิเศษโดยใช้ชื่อว่า FZ1 Fazer GT โดยรถ spec ญี่ปุ่นนั้น ได้ถูกลดแรงม้าเหลือเพียง 94 แรงม้าเท่านั้น
สวิงอาร์มหลังเป็นแบบยาว (long rear arm) ถูกผลิตโดยใช้เทคโนโลยี CF die casting (controlled filling die casting). การวางตำแหน่งของเครื่องยนต์, ขนาดเครื่องยนต์ที่เล็กและสวิงอาร์มเป็นแบบยาว (629mm.) ถูกผลิตเพื่อลดแรงตึงในโซ่สำหรับลดผลกระทบที่มีต่อการขับเคลื่อนและการหมุนของล้อหลัง.

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS จะมีเฉพาะรถ spec ยุโรปเท่านั้น สำหรับในอเมริกาและตลาดอื่นๆจะมีแต่รุ่นไม่มีระบบเบรก ABS. [ต้องการอ้างอิง]เนื่องจากเป็นความชื่นชอบของผู้ใช้ในตลาดอเมริกาว่าระบบ ABS ไม่มีความจำเป็น.

ข้อมูลจำเพาะของรถ Generation I&II

[แก้]

[6] [7][8][9]

FZS1000 (Gen I) FZ1 (Gen II)
เครื่องยนต์
ประเภท 998cc (60.98 ลูกบาศก์นิ้ว), 4จังหวะ, 4สูบ, แถวเรียง, ดับเบิ้ลโอเวอร์เฮดแคมชาร์ฟ
ขนาดกระบอกสูบ x ระยะช่วงชัก 74.0mm. x 58.0mm 77.0mm. x 53.6mm
ระบบระบายความร้อน ระบายความร้อนด้วยน้ำ
อัตราส่วนกำลังอัด 11.4:1 ส่งออก; 11.5:1, ญี่ปุ่น; 10.5:1
จำนวนวาล์ว 5วาล์วต่อสูบ (ทั้งหมด 20 valve)
ระบบจ่ายน้ำมัน คาบูเรเตอร์ ระบบหัวฉีด
ระบบจุดระเบิด ระบบ TCI ควบคุมการจุดระเบิดด้วยทรานซิสเตอร์
แรงม้า 143 แรงม้า @ 10,000 รอบต่อนาที 147.51 แรงม้า @ 11000 รอบต่อนาที, [94 แรงม้า @9,000รอบต่อนาที]
แรงบิด 105.9 นิวตันเมตร @ 7500 รอบต่อนาที 115.00 N.m @ 10000 รอบต่อนาที, [80 N.m @7,000รอบต่อนาที]
Redline 11,500 รอบต่อนาที 11,600 รอบต่อนาที
ปีกผีเสื้อ ควบคุมด้วยสายเคเบิล [ต้องการอ้างอิง]
ระบบหล่อลื่น ถังน้ำมันเครื่องในห้องเพลาข้อเหวี่ยงแบบอ่างเปียก
ระบบครัทช์ แบบเปียกสปริงหลายแผ่นทำงานด้วยเคเบิล แบบเปียกสปริงหลายแผ่นทำงานด้วยสปริงขด
ระบบstart ไฟฟ้า
การวางเครื่องยนต์ แบบขวางลำตัวรถ
ความจุถังน้ำมัน 21 ลิตร
อัตราการกินน้ำมัน [ต้องการอ้างอิง] 21 กิโลเมตรต่อลิตร@ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระบบส่งกำลัง
ระบบส่งกำลัง ระบบเกียร์ธรรมดา 6 สปีด
ชุดส่งกำลังสุดท้าย โซ่ โซ่ O-ring
อัตราทดเกียร์แรก (first gear ratio) 2.5 2.533
อัตราทดเกียร์สอง (Second gear ratio) 1.8421 2.063 [2.062]
อัตราทดเกียร์สาม (Third gear ratio) 1.5 1.762 [1.761]
อัตราส่วนเกียร์สี่ (Fourth gear ratio) 1.3333 1.522 [1.521]
อัตราส่วนเกียร์ห้า (Fifth gear ratio) 1.2 1.350
อัตราส่วนเกียร์หก (Sixth gear ratio) 1.154 1.208
โซ่ฟันเฟืองชุดขับตัวหน้า (Front sprocket) 16 17
โซ่ฟันเฟืองชุดขับตัวหลัง (Rear sprocket) 44 45
ระบบช่วงล่าง, ยางและเบรก
เฟรม ดับเบิ้ลเครเดิ้ลเฟรม ไดมอนด์เฟรม อะลูมิเนียม
ค่าคาสเตอร์ 26° 00' 25° 00'
ค่าเทรล (Trail) 104 มิลลิเมตร 109 มิลลิเมตร
ระยะเคลื่อนตัวได้ของช่วงล่างหน้า [10] 140 มิลลิเมตร 130 มิลลิเมตร
ระยะเคลื่อนตัวได้ของช่วงล่างหลัง 135 มิลลิเมตร 130มิลลิเมตร
ขนาดยางหน้า 120/70-ZR17 58W ไม่มียางใน 120/70ZR17M/C 58W ไม่มียางใน
ขนาดยางหลัง 180/80-ZR17 73W ไม่มียางใน 190/50ZR17M/C 73W ไม่มียางใน
เบรกหน้า ดิสค์คู่
เส้นผ่านศูนย์กลางดิสค์เบรกหน้า 298 มิลลิเมตร 320 มิลลิเมตร
เบรกหลัง ดิสค์เดี่ยว
เส้นผ่านศูนย์กลางดิสค์เบรกหลัง 267 มิลลิเมตร 245 มิลลิเมตร
ขนาดตัวรถ
น้ำหนักรถเปล่า 225กิโลกรัม 231กิโลกรัม
ความยาวรวม 2125 mm. 2140 mm.
ความกว้างรวม 765 mm. 770 mm.
ความสูงรวม 1190 mm. 1205 mm.
ความสูงเบาะนั่ง 810 mm. 815 mm.
ระยะฐานล้อ 1450 mm. 1460 mm.
ความสูงจากพื้น 140 mm.[11] 135 mm.
ข้อมูลอากาศพลศาสตร์[12]
Cx-value 0.5 0.5
พื้นที่หน้าตัดด้านหน้า 0.5156 0.5133

Model รุ่นปี

[แก้]

GEN II 2006

[แก้]
  1. เพิ่มความความแข็งของสปริงหลังเป็น700 ปอนด์ต่อนิ้ว
  2. แก้ไขปัญหาคันเร่งกระชากเกิดจากลิ้นปีกผีเสื้อช่วง 5000 - 6000 รอบต่อนาที. เวลาปล่อยคันเร่งแล้วกลับมาเร่งใหม่เครื่องจะกระชากเวลาเร่งขึ้น

สาเหตุมาจากลิ้นปีกผีเสื้อสำรองเปิดเร็วไปหรือการจุดระเบิดครั้งที่สอง

GEN II 2007

[แก้]
  1. ลดความแข็งของสปริงและโช๊คลง
  2. ปรับแต่งระบบหัวฉีด และจากรุ่นปี 2007 เป็นต้นไป. ยามาฮ่าได้แก้ปัญหาการกระชากของคันเร่งโดยการทำให้การเกิดการจุดระเบิดครั้งที่สองช้าลง

=== GEN II 2008

=FZ1


== ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก 2007

GEN II 2009

[แก้]

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจาก 2008

GEN II 2010

[แก้]

ปรับปรุง ECU mapping เพื่อปรับปรุงการตอบสนองของลิ้นปีกผีเสื้อในรอบต่ำและกลาง

GEN II 2011

[แก้]

ปรับปรุง ECU mapping เพื่อปรับปรุงการตอบสนองของลิ้นปีกผีเสื้อในช่วงความเร็วต่ำ ตลาดอเมริกา : เปลี่ยนเป็นสีเงิน

GEN II 2012

[แก้]

ตลาดอเมริกา : เปลี่ยนเป็นสีทูโทนด้านหน้า (แฟริ่ง) สีขาวและด้านหลังสีดำ

GEN II 2013

[แก้]


ตลาดอเมริกา : เปลี่ยนเป็นสีทูโทนสีน้ำเงิน[ (Cobalt blue) แฟริ่ง]/ดำ[Matted black (ท้ายรถ)]
ตลาดยุโรป : สีเหมือนรถสเป๊กอเมริการุ่นปี 2012เป็นสีทูโทนสีขาว[ (competition white) แฟริ่ง]/ดำ[Matted black (ท้ายรถ)]
ตลาดไทย : สีทูโทนสีน้ำเงิน[ (Cobalt blue) แฟริ่ง]/ดำ[Matted black (ท้ายรถ)] (คาดหมาย)
ตลาดญี่ปุ่น : มีให้เลือกสองสี Bluish white cocktail (สีขาว) และ Black metallic X (สีดำ) มีตัวหนังสือ Fazer ที่แฟริ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Yamaha FZS1000 Fazer Buyers' Guide". Hubpages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
  2. "Motorcycle Reviews Yamaha FZS1000 Fazer (2000-2005)". Motorcyclenew.com. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
  3. "Yamaha FZS1000 Fazer Buyers' Guide". Hubpages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
  4. "PROJECT RECYCLE- YAMAHA FZ1". cycleworld.com. สืบค้นเมื่อ 2 November 2012.
  5. "Motorcycle Reviews Yamaha FZS1000 Fazer (2000-2005)". Motorcyclenew.com. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
  6. "Yamaha FZS 1000 - Fazer 2001". Mbike.com. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
  7. "Yamaha FZS 1000 technical specification". Motorbike.be. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
  8. "FZ1 Fazer 価格・仕様". Yamaha motor Japan website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 5 November 2012.
  9. "FZS1000 (N) 2001 service manual". Yamaha motor coperation Japan. p. 2-11.
  10. "Yamaha FZ1 Fazer". adoos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.
  11. "YAMAHA FZS 1000 Fazer 998 2001 - Present". autoevolution. สืบค้นเมื่อ 9 November 2012.
  12. "YAMAHA FZS 1000 FAZER 2001". motorcycleperformanceanalyzer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2 November 2012.