ข้ามไปเนื้อหา

ยันม่าร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ยันม่าร์ จำกัด
Yanmar Co., Ltd.
ชื่อท้องถิ่น
ヤンマー株式会社
ประเภทเอกชน
อุตสาหกรรม
ก่อตั้งพ.ศ. 2455; 112 ปีก่อน
ผู้ก่อตั้งมาโกกิชิ ยามาโอกะ
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น 1-32, ชายามาชิ, เขตคิตะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลักทาเคฮิโตะ ยามาโอกะ (ประธาน)
ผลิตภัณฑ์
รายได้703.8 พันล้านเยน (มีนาคม 2559)
พนักงาน
17,974 คน (2559)
เว็บไซต์www.yanmar.com/global

บริษัท ยันม่าร์ จำกัด (อังกฤษ: Yanmar Co., Ltd.; ญี่ปุ่น: ヤンマー株式会社, อักษรโรมัน: Yanmā Kabushiki-Gaisha) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องจักรกลหนัก และเครื่องจักรกลการเกษตรของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2455 ที่นครโอซากะ ยันม่าร์ผลิตและจำหน่ายเครื่องยนต์สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น เรือเดินทะเล เรือสำราญ อุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์การเกษตร และชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ยังผลิตและจำหน่ายระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบควบคุมและจัดการจากระยะไกล[1]

ประวัติ

[แก้]

ยันม่าร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2455 ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น[2] โดยมาโกกิชิ ยามาโอกะ[3][4]

เมื่อบริษัทเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2455 บริษัทก็ได้เริ่มผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน[5] ในปี พ.ศ. 2463 บริษัทได้เริ่มผลิตเครื่องยนต์น้ำมันก๊าดขนาดเล็ก[6] ในปี พ.ศ. 2476 บริษัทได้เปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้งานได้จริงเครื่องแรกของโลก นั่นคือรุ่น HB[5][7][8]

ในปี พ.ศ. 2504 ยันม่าร์ได้จัดตั้งแผนกเครื่องจักรกลการเกษตร[9]

ยันม่าร์ยังได้เริ่มจัดหาเครื่องยนต์ให้กับรถแทรกเตอร์ของจอห์น เดียร์[9] และเครื่องทำความเย็นของเทอร์โมคิง (Thermo King) บางรุ่นสำหรับใช้ในรถบรรทุกห้องเย็น[10]

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยันม่าร์ได้สร้างการเติบโตในตลาดอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในญี่ปุ่นและที่อื่น ๆ ด้วยโดรนขนาดเล็กที่ใช้ในการฉีดพ่นทางการเกษตร และการใช้งานทางอากาศในรูปแบบอื่น ๆ[11][12]

ตามที่อธิบายในเว็บไซต์ของบริษัท "ชื่อยันม่าร์ เป็นการผสมผสานระหว่าง "ยันมะ" (สายพันธ์แมลงปอชนิดหนึ่ง) และ "ยามา" จากชื่อผู้ก่อตั้งบริษัท มาโกกิจิ ยามาโอกะ"[13]

เส้นเวลา

[แก้]
  • พ.ศ. 2455: มาโกกิชิ ยามาโอกะ ได้ก่อตั้งบริษัทของตนภายใต้ชื่อ ยามาโอกะ ฮัตสึโดกิ เซซาคุโชะ (โรงงานผลิตเครื่องยนต์ยามาโอกะ)[14][15]
  • พ.ศ. 2476: เริ่มผลิตเคี่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้งานได้จริงเครื่องแรกของโลก[16]
  • พ.ศ. 2504: ก่อตั้งแผนกเครื่องจักรกลการเกษตร[17]
  • พ.ศ. 2535: ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลครบ 10 ล้านเครื่อง[18]
  • พ.ศ. 2558: เข้าซื้อกิจการฮิโมอินซา (HIMOINSA) ผู้ผลิตชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสัญชาติสเปน 70% [19]
  • พ.ศ. 2559: เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แทรคเตอร์ส (International Tractors) สัญชาติอินเดีย ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์ยี่ห้อโซนาลิกา (Sonalika) เป็น 30%[20] นอกจากนี้ บริษัทยังได้ซื้อกิจการแชฟฟ์ (Schaeff) ผู้ผลิตอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัดของเยอรมันจากเทเร็กซ์ (Terex) และได้ร่วมมือกับโตโยต้าเพื่อพัฒนา "ตัวเรือรุ่นต่อไป" สำหรับเรือ[21][22]
  • พ.ศ. 2562: ขยายโรงเรียนฝึกอบรมในต่างประเทศในจีน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Yanmar USA" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Yanmar USA. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
  2. New Technology Japan. Japan External Trade Organization, Machinery and Technology Department. 2001.
  3. World Engine Digest. John Martin Publications. 1980. ISBN 9780906237151.
  4. Steven D. Eppinger; Tyson R. Browning (25 May 2012). Design Structure Matrix Methods and Applications. MIT Press. pp. 196–. ISBN 978-0-262-30065-0.
  5. 5.0 5.1 World Fishing. IPC Industrial Press. 1992.
  6. World Engine Digest. J. Martin Publications. July 7, 1980. ISBN 9780906237151 – โดยทาง Google Books.
  7. Vaclav Smil (30 July 2010). Prime Movers of Globalization: The History and Impact of Diesel Engines and Gas Turbines. MIT Press. pp. 125–. ISBN 978-0-262-29704-2.
  8. Mining and Engineering. Thomson Newspapers Rhodesia. 1982.
  9. 9.0 9.1 John Dietz (15 January 2011). John Deere New Generation and Generation II Tractors: History, Models, Variations & Specifications 1960s–1970s. MBI Publishing Company. pp. 112–. ISBN 978-1-61060-110-8.
  10. Chintamani Vasant Kulkarni (2007). Modeling and the Performance Analysis of Transportation Refrigeration Units with Alternate Power Systems. University of California, Davis.
  11. Giuseppe Amoruso (19 July 2017). Putting Tradition into Practice: Heritage, Place and Design: Proceedings of 5th INTBAU International Annual Event. Springer. pp. 1542–. ISBN 978-3-319-57937-5.
  12. Kristin Bergtora Sandvik; Maria Gabrielsen Jumbert (25 August 2016). The Good Drone. Taylor & Francis. pp. 1965–. ISBN 978-1-317-01752-3.
  13. [1], About Brand page on yanmar.com; accessed 2016-01-14.
  14. American Machinist. Penton Publications. January 1979.
  15. Takeshi Abe; Douglas A. Farnie; David J. Jeremy; Tetuso Nakaoka; John F. Wilson (20 July 2005). Region and Strategy in Britain and Japan: Business in Lancashire and Kansai 1890-1990. Taylor & Francis. pp. 50–. ISBN 978-1-134-63045-5.
  16. Sam McKinney (2004). Sailing with Vancouver: A Modern Sea Dog, Antique Charts and a Voyage Through Time. TouchWood Editions. pp. 181–. ISBN 978-1-894898-12-6.
  17. "TractorData.com - Yanmar farm tractors sorted by model". www.tractordata.com. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
  18. "History|About YANMAR|YANMAR". YANMAR.
  19. "Yanmar Acquires HIMOINSA|2015|News|YANMAR". YANMAR.
  20. PM, Indulal; Mukherjee, Sharmistha (December 23, 2016). "Yanmar buys Blackstone's 18% stake in International Tractors". The Economic Times. The Times Group. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
  21. Malone, Joe (January 30, 2017). "Schaeff machinery makes its return". International Rental News. KHL Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-22. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
  22. Milberg, Evan (March 14, 2016). "Toyota Unveils New Boat Made with Composites". Composites Manufacturing. American Composites Manufacturers Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2017. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
  23. "YANMAR TECHNICAL TRAINING SCHOOL|Y media|ヤンマー" (ภาษาอังกฤษ). YANMAR. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.