มูกทะเล
มูกทะเล, ขี้มูกทะเล หรือเมือกทะเล (อังกฤษ: sea snot, sea saliva หรือ marine mucilage) คือ กลุ่มของอินทรียวัตถุคล้ายเมือกที่พบในทะเล สารที่เป็นเมือกหรือวุ้นเหนียวโดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย แต่สามารถดึงดูดไวรัสและแบคทีเรีย ได้แก่ อี. โคไล (E. coli) และอาจห่อหุ้มสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลทำให้หายใจไม่ออก โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ช้าหรือแทบไม่เคลื่อนไหวเช่น ปะการัง ดาวทะเล[2] พบได้บ่อยในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[3] และเมื่อไม่นานนี้มีการแพร่กระจายในทะเลมาร์มะราในต้นปี 2564
ปัจจัย
[แก้]เมือกทะเล หรือมูกทะเล "โดยพื้นฐานเป็นกลุ่มจุลินทรีย์จำนวนมหาศาลที่เพิ่มจำนวนอย่างมากจากสารอาหารที่มากเกิน โดยเฉพาะจากของเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดแล้วปล่อยลงสู่ทะเล" ศาสตราจารย์ฮือเซยึน แอร์ดูกัน (Hüseyin Erduğan) จากภาควิชาชีววิทยาของมหาวิทยาลัยออนเซคึซมาร์ท (Onsekiz Mart) และ "แท้จริงแล้ว เมือกเป็นสารประกอบเอ็กโซพอลิแซคคาไรด์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ (exopolysaccharide −พอลิเมอร์ชีวภาพที่ประกอบด้วยพอลิแซคคาไรด์เป็นส่วนใหญ่ สร้างโดยจุลินทรีย์และถูกหลั่งออกมานอกเซลล์ในลักษณะเมือก) และมลพิษทางน้ำเป็นตัวซ้ำเติมให้ปัญหามูกทะเลที่เกิดจากจุลินทรีย์เหล่านั้นทวีความรุนแรงขึ้น"[4] การเพิ่มขึ้นของมูกทะเลมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณอย่างมากของระดับฟอสฟอรัส (ที่ประมาณมากกว่าสามถึงสี่เท่าของค่าเฉลี่ยต่อปี) และกับปริมาณสารอาหารอื่น ๆ ของจุลินทรีย์ที่มากเกินไป[5] รวมทั้งสภาวะแห้งแล้ง อุณหภูมิของน้ำทะเลที่อบอุ่นยาวนานกว่าปกติ และภูมิอากาศที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลานาน[2] ทำให้อนุภาคของหนืดที่ล่องลอยในทะเล (เช่น หิมะทะเล) จับตัวกัน (สะสมตัว) เป็นกลุ่มก้อนมูกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจขยายได้กว้างถึง 200 กิโลเมตร[6]
ภายในเมือกมีองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่จุลินทรีย์หลายชนิด เช่นไวรัสและโพรแคริโอต และสารประกอบเอกโซพอลีเมอร์ที่มีคุณสมบัติเป็นคอลลอยด์[7] มูกทะเลยังถูกผลิตขึ้นโดยแพลงก์ตอนพืชเมื่อเกิดความเครียด[8]
ผลกระทบ
[แก้]ปริมาณมูกทะเลที่เพิ่มขึ้นในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลอื่น ๆ ได้รับการศึกษาเป็นทางการครั้งแรกอย่างช้าที่สุดในช่วงต้นปี 2009 ส่วนหนึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[9] น้ำทะเลที่อุ่นขึ้นเคลื่อนไหวช้าและน้อยลง มีผลสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณการเกิดมูกทะเลโดยเฉพาะการปล่อยให้สะสมตัวเป็นก้อนขนาดใหญ่[6] มูกทะเลได้รับบันทึกเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1729 และถูกมองว่าเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมการประมงและประชากรสัตว์น้ำชายฝั่ง ผลกระทบเมื่อเร็ว ๆ นี้มูกทะเลไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญ ยังก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงอีกด้วย อนุภาคของหนืดของมูกทะเลสามารถเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียเช่น อี. โคไล ที่คุกคามพืชและสัตว์ในทะเล ตลอดจนมนุษย์ที่สัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อน นอกจากนี้มูกทะเลยังสามารถเคลือบเหงือกของสัตว์ทะเล ทำให้ขาดออกซิเจนและตาย
การรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ในอ่าวเม็กซิโกทำให้เกิดมูกทะเลจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในกระบวนการเกิดทะเลที่มีสาเหตุจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบในทะเล ทฤษฎีหนึ่งสันนิษฐานว่ามูกทะเลอาจก่อผลให้เกิดการฆ่าล้างสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและจุลินทรีย์ในทะเลจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดหิมะทะเลปริมาณมากและสะสมตัวเป็นมูกทะเล นักวิทยาศาสตร์กังวลว่ามูกทะเลจำนวนมากเหล่านี้ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายทางชีวภาพต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่เหลือในพื้นที่[10] เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่ามูกทะเลที่เกิดจากการรั่วไหลโดยตรง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตของสัตว์และพืชทะเลในอ่าวเม็กซิโก แสดงจากหลักฐานการตายของทุ่งปะการังน้ำลึกในระยะ 11 กิโลเมตรโดยรอบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน[11]
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2564 มูกทะเลได้แพร่กระจายในทะเลมาร์มะรา เนื่องจากมลพิษจากน้ำเสียที่ทิ้งลงสู่ทะเล[12] นำไปสู่การแพร่ขยายของแพลงก์ตอนพืชและเป็นภัยร้ายแรงต่อระบบนิเวศทางทะเล[13][14] ท่าเรือเออร์เดคในทะเลมาร์มะราถูกปกคลุมด้วยมูกทะเล[15] ซึ่งคนงานชาวตุรกีได้พยายามอย่างมากในการเริ่มดูดกำจัดมูกทะเลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564[16] ขณะเดียวกันท่าเรือยาลิเคย (Yalıköy port) ในจังหวัดออร์ดูในทะเลดำ ก็พบการสะสมของเมือกเช่นกัน[17]
มาตรการรับมือ
[แก้]มาตรการรับมือระยะสั้น ได้แก่ การวางแนวกั้นบนผิวน้ำทะเลและดูดรวบรวมมูกจากผิวทะเล[18] มาตรการรับมือระยะยาว ได้แก่การปรับปรุงการบำบัดน้ำเสีย[19] การสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเล[18] และการจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[18] ความพยายามอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาจัดการแหล่งน้ำให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนิ่งเป็นเวลานานซึ่งก่อให้เกิดการสะสมของมูกทะเล อีกวิธีหนึ่งคืออาจปล่อยสัตว์ทะเลบางชนิดซึ่งสามารถบริโภคสารอาหารส่วนเกินในระยะชั่วคราวเพื่อจุดประสงค์ในช่วงการทำความสะอาดเท่านั้น ซึ่งต้องเลี้ยงแยกต่างหากในแหล่งเพาะเลี้ยงนอกธรรมชาติ
ดูเพิ่มเติม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jenkinson, Ian R.; Sun, Xiao Xia; Seuront, Laurent (2015-08-27). "Thalassorheology, organic matter and plankton: towards a more viscous approach in plankton ecology". Journal of Plankton Research (ภาษาอังกฤษ): fbv071. doi:10.1093/plankt/fbv071. ISSN 0142-7873.
- ↑ 2.0 2.1 Uğurtaş, Selin (2021-05-25). "Turkey struck by 'sea snot' because of global heating". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
- ↑ Danovaro, Roberto; Fonda Umani, Serena; Pusceddu, Antonio (2009-09-16). "Climate Change and the Potential Spreading of Marine Mucilage and Microbial Pathogens in the Mediterranean Sea". PLOS ONE. 4 (9): e7006. Bibcode:2009PLoSO...4.7006D. doi:10.1371/journal.pone.0007006. ISSN 1932-6203. PMC 2739426. PMID 19759910.
- ↑ Altay, Ibrahim (10 June 2021). "Sea snot plaguing Turkey's Marmara Sea may be converted into gas". Daily Sabah. Istanbul, Turkey: Daily Sabah. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ Aytulu, Gökçe (11 June 2021). "Factory discharging untreated wastewater into Marmara Sea sparks debate". Ankara, Turkey: Hurriyet Daily News. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Christine Dell'Amore (October 8, 2009). "Giant, Mucus-Like Sea Blobs on the Rise, Pose Danger". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2012. สืบค้นเมื่อ 2010-09-24.
- ↑ Roberto Danovaro; Serena Fonda Umani; Antonio Pusceddu (September 16, 2009). "Climate Change and the Potential Spreading of Marine Mucilage and Microbial Pathogens in the Mediterranean Sea". PLOS ONE. 4 (9): e7006. Bibcode:2009PLoSO...4.7006D. doi:10.1371/journal.pone.0007006. PMC 2739426. PMID 19759910.
- ↑ Xeni Jardin (September 24, 2010). "Sea snot explodes near BP spill disaster site, threatening marine ecosystem". สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
- ↑ Uğurtaş, Selin (2021-05-25). "Turkey struck by 'sea snot' because of global heating". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Christine Dell'Amore (September 23, 2010). "Sea Snot" Explosion Caused by Gulf Oil Spill?". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2010-09-24.
- ↑ Schrope, Mark (April 1, 2011). "Oil spill: Deep wounds". Nature. 472 (7342): 152–154. Bibcode:2011Natur.472..152S. doi:10.1038/472152a. PMID 21490648 – โดยทาง www.nature.com.
- ↑ "Photo of the week : ภาพเด็ดประจำสัปดาห์". แนวหน้า.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) 13 มิถุนายน 2564. - ↑ "Ministry starts monitoring sea saliva in Marmara Sea - Turkey News". Hürriyet Daily News. June 2, 2021.
- ↑ "'Sea snot' outbreak off Turkish coast poses threat to marine life". Reuters. June 1, 2021.
- ↑ "Sea snot continues to expand in Marmara Sea". Daily Sabah. 30 May 2021.
- ↑ Antonia Noori Farzan (June 9, 2021). "Turkey launches massive effort to vacuum up thick layer of 'sea snot' choking its coast". The Washington Post.
- ↑ "Mucilage starts to spread into Black Sea". Hürriyet Daily News. 9 June 2021.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 "Turkey launches 'sea snot' clean-up to save Sea of Marmara". Reuters. 2021-06-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ "Turkey president Erdogan vows to solve 'sea snot' outbreak". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.