ข้ามไปเนื้อหา

มิตามะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลเจ้าอารามัตสึริ-โนะ-มิยะในเมืองอิเซะ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของอาระ-มิตามะของเทพีอามาเตราซุ

คำภาษาญี่ปุ่น มิตามะ (ญี่ปุ่น: 御魂御霊神霊โรมาจิmitama; "จิตวิญญาณอันเป็นที่เคารพ") เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงจิตวิญญาณของคามิหรือวิญญาณของคนตาย[1] ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว อักษรตัวแรกคือ มิ (ญี่ปุ่น: โรมาจิmi; อันเป็นที่เคารพ) เป็นคำที่ใช้แสดงความนับถือ ส่วนอักษรตัวหลังคือ ทามะ (ญี่ปุ่น: 魂・霊โรมาจิtama) มีความหมายว่า "จิตวิญญาณ" คู่ตัวอักษร 神霊 อ่านว่า มิตามะ ใช้กล่าวถึงจิตวิญญาณของคามิโดยเฉพาะ[2] คำว่า มิตามาชิโระ (ญี่ปุ่น: 御魂代โรมาจิmitamashiroองค์แทนของมิตามะ) เป็นคำไวพจน์ของชินไต วัตถุภายในศาลเจ้าชินโตอันเป็นที่สิงสถิตของคามิ

คำจำกัดความในภาษาญี่ปุ่นของ มิตามะ ในยุคแรก ๆ ซึ่งพัฒนาขึ้นในภายหลังโดยนักคิดหลายคน เช่น โมโตริ โนรินางะ ยืนยันว่ามิตามะประกอบด้วย "จิตวิญญาณ" หลายดวง ซึ่งค่อนข้างเป็นอิสระต่อกัน[3] คำจำกัดความที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดคืออิจิเร ชิคง (ญี่ปุ่น: 一霊四魂โรมาจิichirei shikon) ทฤษฎีในลัทธิชินโตที่ว่าจิตวิญญาณ (ญี่ปุ่น: 霊魂โรมาจิreikonทับศัพท์เรคง) ของทั้งคามิและมนุษย์ประกอบด้วยจิตวิญญาณหลักหนึ่งดวงและวิญญาณย่อยสี่ดวง[4] วิญญาณย่อยสี่ดวง ได้แก่ อาระ-มิตามะ (ญี่ปุ่น: 荒御霊・荒御魂โรมาจิara-mitama; วิญญาณหยาบ), นิงิ-มิตามะ (ญี่ปุ่น: 和御霊・和御魂โรมาจิnigi-mitama; วิญญาณกลมกลืน), ซากิ-มิตามะ (ญี่ปุ่น: 幸御魂โรมาจิsaki-mitama; วิญญาณสุข) และคูชิ-มิตามะ (ญี่ปุ่น: 奇御霊・奇御魂โรมาจิkushi-mitama; วิญญาณพิศวง)

ตามทฤษฏี วิญญาณแต่ละดวงที่ประกอบกันเป็นจิตวิญญาณมีลักษณะเฉพาะและหน้าที่ของตัวเอง วิญญาณเหล่านี้มีอยู่ในเวลาเดียวกันและเติมเต็มซึ่งกันและกัน[4] ในนิฮนโชกิ เทพโอนามูจิ (โอกูนินูชิ) ได้พบกับคูชิ-มิตามะและซากิ-มิตามะของตนในรูปของโอโมโนนูชิแต่ไม่รู้จัก วิญญาณทั้งสี่อาจจะมีความสำคัญแตกต่างกัน เหล่านักคิดต่างอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณทั้งสี่ที่แตกต่างกันออกไป[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Iwanami ญี่ปุ่น: Kōjienโรมาจิ広辞苑 Japanese dictionary, 6th Edition (2008), DVD version
  2. Yonei Teruyoshi: "Tama". Encyclopedia of Shinto, Kokugakuin University, retrieved on February 10, 2011
  3. 3.0 3.1 Smyers, Karen Ann (1999). The Fox and the Jewel: Shared and Private Meanings in Contemporary Japanese Inari Worship. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 118–119. ISBN 0-8248-2102-5. OCLC 231775156.
  4. 4.0 4.1 Yonei Teruyoshi: "Ichirei shikon". Encyclopedia of Shinto, Kokugakuin University, retrieved on February 10, 2011