สมอไทย
สมอไทย | |
---|---|
ผลสมอที่หล่นบนพื้นในเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Myrtales |
วงศ์: | Combretaceae |
สกุล: | Terminalia |
สปีชีส์: | T. chebula |
ชื่อทวินาม | |
Terminalia chebula Retz. |
สมอไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia chebula Retz.) กะเหรี่ยงเรียกว่าม่าแนหรือหมากแหน่ะ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียใต้ ภาคอีสานเรียกหมากแน่ะ หรือม่าแน่ เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ปลายแหลม ใบใหญ่ขนาดประมาณใบกระท้อนสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนสีน้ำตาลปกคลุม ปลายใบเป็นติ่งแหลม ดอกสีขาวนวลขนาดเล็กกลิ่นหอม ออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ผิวเรียบ สีเขียวอมเหลืองหรืออมแดง มีเมล็ดเดียว แห้งแล้วเป็นสีดำ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์
[แก้]ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก่เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า ให้สีเทา[1]
โกฐพุงปลา
[แก้]โกฐพุงปลา เป็นปุ่มหูดที่เกิดบนต้นสมอไทย เรียก terminalia gall ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกปูดกกส้มมอ เกิดจากแมลงเจาะกิ่งและใบอ่อนของต้นสมอไทยแล้ววางไข่ ต้นสมอไทยจะสร้างปุ่มหูดหุ้มไข่ของแมลงเหล่านั้นไว้ เมื่อแห้งแข็งจะมีลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ฝาดและขมจัด ใช้เป็นยาฝาดสมานอย่างแรง แก้ไข้สมานแผล องค์ประกอบหลักเป็นแทนนิน รวมทั้งกรดแทนนิก กรดกอลลิกและอนุพันธ์ [2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548. หน้า 110
- นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สมอไทย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 249
- เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. สมอไทย ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 18-19